ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงออเคสตรา


วงออร์เคสตร้า หรือ วงดุริยางค์
มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการ
ถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดมาดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เคสตร้า
จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง ๆได้เป็นอย่างดี

ประวัติของวงออร์เคสตร้า
ออร์เคสตร้า เป็นภาษาเยอรมันตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ(Dancing place)
ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นสถานที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง ออร์เคสตร้าเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย เรียกว่าวงกำเมออร์เคสตร้า(The Gamelan Orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The Gagaku Orchestra) สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าได้แก่วงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีความหมายของออร์เคสตร้าได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยกลาง โดยหมายถึง ตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่ ๑๘
คำว่า ออร์เคสตร้า หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม คำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำ เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละครและโรงแสดงคอนเสิร์ตแต่เดิมแม้จะมีการใช้เครื่องดนตรีเล่นในลักษณะทำนองเดียวกับการร้อง|ในยุคเมดิอีวัล และรีเนซอลส์ แต่วงออร์เคสตร้าไม่มีการระบุเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องดนตรีที่แน่นอนในการใช้บรรเลงแต่ประการใด ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น ความจำเป็นในการกำหนดเครื่องดนตรีก็เกิดขึ้นด้วย เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนไปกับเสียงร้องของนักร้องโอเปราในเรื่อง ออร์เฟโอ(Orfeo ๑๖๐๗), และมอนเทแยวร์ดี (Montevedi) จึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีในบทเพลง และเป็นจุดเริ่มการพัฒนาของวงออร์เคสตร้า โดยระยะแรกเป็นลักษณะของวงสายออร์เคสตร้า (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่น ๒๐-๒๕ คน แต่บางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ ทั้งนี้ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๗ ออร์เคสตร้ามีการเพิ่มเครื่องลมไม้และตอนปลายยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ.๑๗๕๐) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตร้าด้วยกลางศตวรรษที่ ๑๘วงออร์เคสตร้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยมี
การจัดวางเครื่องสายทุกชนิดอย่างเป็นระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตร้าในปัจจุบัน และมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนเครื่องดนตรีที่เคยมีใช้กันมากแต่เดิมเช่นมีการนำฟลุท มาแทนขลุ่ยรีคอเดอร์ มีการเพิ่มคลาริเนท เข้ามาในกลุ่มประเภทของเครื่องลมไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า ยุคที่วงออร์เคสตร้าเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐาน คือ ยุคคลาสสิก เหตุผล
ประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตร้าเป็นแบบแผนขึ้น กล่าวคือ ทำให้มีเครื่องดนตรีทุกประเภทประกอบเข้าเป็นวง ได้แก่ เครื่องสาย  เครื่องลมไม้ เครื่องเป่า และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรีก็มีเครื่องพื้นฐานครบถ้วน เช่น ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา วิโอลอนเชลโลและดับเบิ้ลเบสในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบไปด้วย ฟลูท คลาริเนท โอโบ บาสซูนในกลุ่มของเครื่องลมทองประกอบไปด้วย ฮอร์น ทรัมเปต และทูบา ในกลุ่มของเครื่องตีจะมีกลองทิพพานี กลองใหญ่ และเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ ซึ่งในรายละเอียด การจัดวงจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง เช่น บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ ๑๙ เบโธเฟน ได้ปรับเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น ๔ ตัว และเติมเครื่องตีต่าง ๆเช่น ฉาบ สามเหลี่ยม เข้าไป ในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเป็นยุคโรแมนติกได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตร้าเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น เช่นเบร์ลิโอส (Berlioz) ได้เพิ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ ๔ เครื่องทั้งหมด ประเภทเครื่องสายเช่น ไวโอลิน เพิ่มเป็น ๒๘ เครื่อง ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ ๑๐-๑๒ เครื่องเท่านั้นนักประพันธ์แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (Brahms)เมนเดลซอน (Mendelssohn) และชูมานน์ (Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ทั้งสิ้นเพื่อแสดงพลังของบทเพลงที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นถึง ๑๐๐ คนต่อมาในยุคโรแมนติกความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้มีส่วนทำให้มีการเพิ่มขนาดของ วงออร์เคสตร้าไปด้วย เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่องโดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรยายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ นอกจากนี้ บทเพลงประเภทโอเปราบัลเลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียงต่างก็ล้วนทำให้วงออร์เคสตร้าต้องเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมาความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตร้า ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ได้เริ่มลดลง หลังสงคราม โลก ครั้งที่ ๑เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องเป่าที่เคยใช้ถึง ๔ เครื่อง ลดลงเหลือ ๓เครื่องและไวโอลิน จะใช้เพียง ๒๔ เครื่อง เป็นต้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ จะยังมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวการประพันธ์เพลงก็มีส่วนในการกำหนดวงออร์เคสตร้า อย่างไรก็ดีสิ่งที่ว่านี้ก็มิได้เป็นตัวกีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้วงออร์เคสตร้าของผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด
 วงดุริยางค์ชนิดนี้เป็นวงที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องดนตรี กลุ่ม คือ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ บรรเลงเป็นแนวๆ  แต่ละแนวจะมีนักดนตรีเล่นดนตรีชนิดเดียวกันหลายคน  โดยมีกลุ่มเครื่องสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก  และเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญมากในวงดุริยางค์  วงดนตรีในลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงถือไม้  (ไม้ที่ถือเรียกว่า  “Baton”)  ยืนอยู่บนแท่นเล็กๆหน้าวง     ผู้อำนวยเพลงจะมีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงของนักดนตรีทั้งหมด ในส่วนขนาดของวงจะเล็กหรือใหญ่ขี้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นในกลุ่มเครื่องสาย  การจัดวงSymphony Orchestra คำนึงถึงความกลมกลืน ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม โดยทั่วไปกลุ่มเครื่องสายจะอยู่ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องกระทบจะอยู่ด้านหลังสุด บริเวณกลางของวงจะเป็นเครื่องลมไม้

          วงดุริยางค์ตามลักษณะนี้จะบรรเลงเพลง  ซิมโฟนี่ เป็นหลัก (ซิมโฟนี่ คือ เพลงเถาที่มี 3-4 ตอน)  เพลงซิมโฟนี่เป็นเพลงที่บรรเลงยากมาก นักดนตรีที่บรรเลงเพลงประเภทนี้จะต้องเป็นผู้มีความสามารถสูง  วงดุริยางค์ซิมโฟนี่ยังแบ่งออกเป็นวงขนาดเล็ก  มีนักดนตรีประมาณ40-60 คน  วงขนาดกลาง  มีนักดนตรีประมาณ 60-80 คน  และวงขนาดใหญ่ มีนักดนตรีประมาณ80-110 คน
วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)
ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้



1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี
2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin
4. เชลโล่ - Cello
5. วิโอล่า - Viola
6. ดับเบิลเบส - Double bass
7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
8. โอโบ - Oboe
9. ฟลูต - Flute
10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
11. คลาริเนต - Clarinet
12. บาสซูน - Bassoon
13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon
14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
15. แซกโซโฟน - Saxophone
16. ทูบา - Tuba
17. ทรอมโบน - Trombone
18. ทรัมเปต - Trumpet
19. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp
20. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)
21. ฉาบ - Cymbal
22. เบส ดรัม - Bass Drum
23. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
24. กลอง - side หรือ Snare Drum
25. Tubular Bells - ระฆังราว
26.ไซโลโฟน - Xylophone 
ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้


วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra)  











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น