ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์สังคีต(ไทย)

กรอ เป็นวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว (ดูคำว่า รัว) หากแต่วิธีที่เรียกว่า "กรอ" นี้ มือทั้งสอง มิได้ตีอยู่ที่ลูกเดียวกัน 
ทางกรอ เป็นคำเรียกทางของการดำเนินทำนองเพลงอย่างหนึ่งที่ดำเนินไปโดยใช้เสียงยาว ๆ ช้า ๆ เพลงที่ดำเนินทำนองอย่างนี้ เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยเหตุที่เพลงที่มีเสียง ยาว ๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตีไม่สามารถจะทำเสียงให้ยาวได้ จึงต้องตีกรอ (ดูคำว่า กรอ) ให้ได้ความยาวเท่ากับความประสงค์ของทำนองเพลง เพลงทางกรอนี้ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นต้นคิดขึ้น เป็นทางเพลงที่นิยมมาก 
กวาด คือ วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) โดยใช้ไม้ตี ลากไปบนเครื่องดนตรี (ลูกระนาดหรือลูกฆ้อง) ซึ่งมีกิริยาอย่างเดียวกับใช้ไม้กวาด กวาดผง การกวาดนี้จะกวาดจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำหรือจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงก็ได้
เก็บ ได้แก่ การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๔ ตัว ห้องละ ๘ ตัว (เขบ็ต ๒ ชั้นทั้ง ๘ ตัว) อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่า เก็บ นี้ เป็นวิธีการบรรเลงของระนาดเอก และ ฆ้องวงเล็ก ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ใช้เป็นตอน ๆ ตัวอย่างโน้ต "เก็บ" รวมบันทึก เปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่าสะบัด)
ขยี้ เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้น ไปจาก "เก็บ" อีก ๑ เท่า ถ้า จะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๘ ตัว ห้องละ ๑๖ ตัว (เขบ็ต ๓ ชั้นทั้ง ๑๖ ตัว) อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะบรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือ จะบรรเลงสั้นยาวเพียงใดแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธีบรรเลงอย่างนี้บางท่านก็ เรียกว่า "เก็บ ๖ ชั้น" ซึ่งถ้าจะพิจารณาถึงหลักการกำหนดอัตรา (๒ ชั้น ๓ ชั้น) แล้ว คำว่า ๖ ชั้นดูจะไม่ถูกต้อง ตัวอย่างโน้ต "ขยี้" รวมบันทึกเปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่า สะบัด)
ขับ คือ การเปล่งเสียงออกไปอย่างเดียวกับร้อง (ดูคำว่า ร้อง) แต่การขับมักใช้ในทำนอง ที่มีความยาวไม่แน่นอน การเดินทำนองเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และถือถ้อยคำเป็น สำคัญ ทำนองต้องน้อมเข้าหาถ้อยคำ เช่น ขับเสภา เป็นต้น การขับกับร้องมีวิธีการที่ คล้ายคลึง และมักจะระคนปนกันอยู่ จึงมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "ขับร้อง" 
ครวญ เป็นวิธีร้องอย่างหนึ่งซึ่งสอดแทรกเสียงเอื้อนยาว ๆ ให้มีสำเนียงครวญคร่ำรำพัน และ เสียงเอื้อนที่สอดแทรกนี้มักจะขยายให้ทำนองเพลงยาวออกไปจากปรกติ อธิบาย: เพลงที่จะแทรกทำนองครวญเข้ามานี้ ใช้เฉพาะแต่เพลงที่แสดงอารมณ์ โศกเศร้า เช่น เพลงโอ้ปี่ และเพลงร่าย (ในบทโศก) เป็นต้น และบทร้องทำนองครวญ ก็จะต้องเป็นคำกลอนสุดท้ายของบทนั้น ซึ่งเมื่อร้องจบคำนี้แล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลง เพลงโอดประกอบกิริยาร้องไห้ติดต่อกันไป
  คร่อม คือ การบรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ หรือร้องดำเนินไปโดยไม่ ตรงกับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่าง จังหวะซึ่งกระทำไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่า "คร่อมจังหวะ"
ครั่น เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน อธิบาย : การทำเสียงให้สะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้ ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประเภทสี เช่น ซอต่าง ๆ เท่านั้น การขับร้องคั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเป่า ครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่อง ดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี (หรือคันชัก)
คลอ เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง โดยดำเนินทำนองเป็นอย่างเดียวกัน คือ บรรเลงไปตามทางร้อง เช่น ซอสามสายสีคลอไปกับเสียงร้อง เป็นต้น เปรียบเทียบ ก็เหมือนคน ๒ คนเดินคลอกันไป       เคล้า เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอ ดูคำว่า คลอ) โดย เพลงเดียวกัน แต่ต่างก็ดำเนินทำนองไปตามทางของตน คือร้องก็ดำเนินไปตามทางร้อง ดนตรีก็ดำเนินไปตามทางดนตรี ยึดถือแต่เนื้อเพลง จังหวะ และเสียงที่ตกจังหวะ (หน้าทับ) เท่านั้น เช่น การร้องเพลงทะแย ๒ ชั้น ในตับพรหมาสตร์ที่มีบทว่า "ช้างเอย ช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมัฆวาน ฯลฯ" ซึ่งคนร้องดำเนินทำนองไปอย่างหนึ่ง ดนตรี ก็ดำเนินทำนองไปอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นเพลงทะแยที่ ร้องและบรรเลงไปพร้อม ๆ กัน เทียบได้กับการคลุกเคล้าปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยวเค็มเข้าผสมผสานกันให้โอชารส วิธีการเช่นนี้บางท่านเรียกว่า "คลอ"
จน หมายถึงการที่นักดนตรีบรรเลงเพลงอันถูกต้องที่เขาประสงค์ไม่ได้ อธิบาย : เพลงที่นักดนตรีจำจะต้องบรรเลงให้ถูกต้องตามความประสงค์นั้น หลายอย่าง เป็นต้นว่านักร้องเขาส่งเพลงอะไรนักดนตรีก็ต้องบรรเลงรับด้วย เพลงนั้น หรือเมื่อคนพากย์เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกให้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ อะไร นักดนตรีก็ต้องบรรเลงเพลงนั้น ถ้าหากนักดนตรีบรรเลงเพลงให้ตรงกับที่นักร้อง เขาร้องไม่ได้ หรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตามที่คนพากย์เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกไม่ได้ จะเป็นนิ่งเงียบอยู่หรือบรรเลงไปโดยกล้อมแกล้มหรือบรรเลงไปเป็นเพลง อื่นก็ตาม ถือว่า "จน" ทั้งสิ้น 
เดี่ยว เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีจำพวกดำเนินทำนองเช่น ระนาด ฆ้องวง จะเข้ ซอ บรรเลงแต่อย่างเดียว การบรรเลงเครื่องดำเนินทำนองเพียงคนเดียวที่ เรียกว่า "เดี่ยว" นี้ อาจมีเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง โทน รำมะนา สองหน้า หรือกลองแขก บรรเลงไปด้วยก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวอาจบรรเลงตลอดทั้งเพลงหรือแทรกอยู่ในเพลงใดเพลงหนึ่งเป็นบางตอนก็ได้       การบรรเลงเดี่ยวมีความประสงค์อยู่ ๓ ประการ คือ
๑. เพื่ออวดทาง คือ วิธีดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีชนิดนั้น
๒. เพื่ออวดความแม่นยำ
๓. เพื่ออวดฝีมือ
เพราะฉะนั้น การบรรเลงที่จะเรียกได้ว่าเดี่ยว จึงมิใช่จะหมายความแคบ ๆ เพียงบรรเลงคนเดียวเท่านั้น ที่จะเรียกว่าเดี่ยวได้โดยแท้จริงนั้น ทาง (การดำเนินทำนอง) ก็ควรจะให้เหมาะสมกับที่จะบรรเลงเดี่ยว เช่น มีโอดพันหรือวิธีการโลดโผนพลิกแพลง ต่าง ๆ ตามสมควรแก่เครื่องดนตรีชนิดนั้นด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้ง ๓ ประการที่กล่าวมา
ตับ หมายถึง เพลงหลาย ๆ เพลง นำมาร้องและบรรเลงติดต่อกันไป
ซึ่งแยกออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ
๑. ตับเรื่อง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น มีบทร้องเป็นเรื่อง เดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังได้ติดต่อกันเป็นเรื่องราว ส่วนทำนองเพลงจะเป็น คนละอัตรา คนละประเภท หรือลักลั่นกันอย่างไร ไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ เป็นต้น
๒. ตับเพลง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น เป็นทำนองเพลง ที่อยู่ในอัตราเดียวกัน (๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น) มีสำนวนทำนองสอดคล้องติดต่อกัน สนิทสนม ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น ตับลมพัดชายเขา ตับเพลงยาว เป็นต้น ตับเพลงนี้บางทีก็เรียกว่า"เรื่อง" เฉพาะจำพวก เรื่องมโหรี (ดูคำว่า เรื่อง)
 ตัว เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่าท่อนของเพลงบางประเภท (ดูคำว่า ท่อน) เพลงที่เรียก "ตัว" แทนคำว่า "ท่อน" ก็ได้แก่เพลงจำพวกตระและเชิดต่าง ๆ นอกจากเชิดนอก
ท่อน คือ กำหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง ๆ ซึ่งแบ่งออกจากเพลง อธิบาย : โดยปรกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบท่อนหนึ่ง ๆ แล้วมักจะ กลับต้นบรรเลงซ้ำท่อนนั้นอีกครั้งหนึ่ง ที่กล่าวนี้มิใช่ว่าเพลงทุกเพลงจะต้องมีหลาย ๆ ท่อนเสมอไป บางเพลงอาจมีท่อนเดียวจบ หรือหลาย ๆ ท่อนจึงจบก็ได้ 
 ทาง คำนี้มีความหมายแยกได้เป็น ๓ ประการ คือ
๑. หมายถึง วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทาง ระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม และทางซอ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีวิธีดำเนินทำนองของตน แตกต่างกัน
๒. หมายถึง วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางของ ครู ก. ครู ข. หรือทางเดี่ยว และทางหมู่ ซึ่งแม้จะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีก็ดำเนิน ทำนองไม่เหมือนกัน
๓. หมายถึง ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง (Key) ซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่ หมายรู้กันทุก ๆ เสียง ดังจะจำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียงต่อไปนี้ - ทางเพียงออล่างหรือทางในลด ระดับเสียงต่ำสุด อนุโลมเท่ากับเสียง "ฟา" ของดนตรีสากล - ทางใน ระดับสูงขึ้นมา อนุโลมเท่ากับเสียง "ซอล" ใช้ปี่ในเป็นหลัก - ทางกลาง ระดับเสียงสูงขึ้นมาอีก อนุโลมเท่ากับเสียง "ลา" ใช้ปี่กลาง เป็นหลัก - ทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำ ระดับเสียงสูงกว่าทางกลาง อนุโลมเท่ากับเสียง "ซี" ใช้ ปี่นอกต่ำ หรือขลุ่ยเพียงออเป็นหลัก - ทางกรวด หรือทางนอก ระดับเสียงสูง อนุโลมเท่ากับเสียง "โด" ใช้ปี่นอกหรือ ขลุ่ยกรวดเป็นหลัก - ทางกลางแหบ ระดับเสียงอนุโลมเท่ากับเสียง "เร" - ทางชวา ระดับเสียงเท่ากับเสียง "มี" ใช้ปี่ชวาเป็นหลัก
เท่า บางทีก็เรียกว่า "ลูกเท่า" เป็นทำนองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความหมายในตัวอย่าง ใด หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทำนองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งแต่ เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูกเท่า นี้จะต้องอยู่ในกำหนดบังคับของจังหวะหน้าทับ โดยมี ความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น (นอกจากในเพลงเรื่องบางเพลง เท่าอาจยาว เป็นพิเศษถึงเต็มจังหวะก็ได้) และโดยปรกติมีแทรกอยู่ในเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่ ประโยชน์ของ "เท่า" นี้ มีไว้เพื่อใช้แทรกในระหว่างประโยควรรคตอนของ ทำนองเพลง เพื่อเชื่อมให้ประโยคหรือวรรคตอนของเพลงติดต่อกันสนิทสนมหรือเพิ่ม ให้ครบถ้วนจังหวะหน้าทับ เทียบได้กับคำสันธานที่ใช้ในทางอักษรศาสตร์ 
  รัว คำนี้มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑. หมายถึงชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่ง ซึ่งทำนองเพลงบางตอนยืนอยู่เสียงเดียวนาน ๆ แต่ ซอยลงเป็นหลาย ๆ พยางค์ และเร่งให้ค่อย ๆ ถี่ขึ้นไปโดยไม่จำกัด เพราะในตอนที่ ยืนเสียงอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งนี้ไม่มีจังหวะควบคุม เพลงรัวมีทั้งลาเดียวและ ๓ ลา มักใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอภินิหารต่างๆ กับใช้เป็นเพลงต่อท้ายเพลงเสมอ เพลงตระ และเพลงบรรเลง ในการไหว้ครูเกือบทุกเพลง
๒. หมายถึงวิธีบรรเลงที่ทำเสียงหลาย ๆ พยางค์ให้สั้นและถี่ที่สุด ถ้าเป็นเครื่องดนตรี    ประเภทตี (เช่น ระนาด) ก็ใช้ตีสลับกัน ๒ มือ เครื่องดนตรีประเภทสี (เช่น ซอ) ก็ใช้ คันชักสีสั้น ๆ เร็ว ๆ เครื่องดนตรีประเภทดีด (เช่น จะเข้) ก็ใช้ไม้ดีด ดีดเข้าออกสลับกัน เร็ว ๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่า (เช่น ขลุ่ย) ก็รัวด้วยนิ้วปิดเปิดให้ถี่และเร็วที่สุด รัวในประการที่ ๒ นี้ ถ้าเป็นวิธีบรรเลงของระนาดเอก ยังแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ รัวเสียงเดียวอย่างหนึ่ง กับ รัวเป็นทำนองอีกอย่างหนึ่ง
รื้อ เป็นทำนองร้องอย่างหนึ่งที่ใช้ในตอนขึ้นต้นของเพลงร่าย ซึ่งมีเอื้อนและทอดเสียงให้ ภาคภูมิ มักจะใช้เฉพาะในบทที่ขึ้นข้อความสำคัญ ๆ เท่านั้น
เรื่อง คือเพลงหลาย ๆ เพลง นำมาจัดรวมบรรเลงติดต่อกันไปเพลงทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า "เพลงเรื่อง" และตั้งชื่อเรื่องต่าง ๆ กัน แล้วแต่กรณี อธิบาย : ในการตั้งชื่อเรื่องนี้โดยปกติตั้งตามชื่อของเพลงที่บรรเลงเป็น อันดับแรกหรือเพลงที่สำคัญในเรื่องนั้นเช่น จำพวกเพลงเรื่องมโหรีก็มีเรื่องพระนเรศวร ชนช้าง ซึ่งมีเพลงนเรศวรชนช้างเป็นเพลงแรก เรื่องเพลงยาวมีเพลงทะแยเป็น อันดับแรก แต่เพลงยาวเป็นเพลงสำคัญ ยาวถึง ๗ ท่อน ฯลฯ (เพลงเรื่องจำพวกมโหรีนี้ บางทีก็เรียกว่า "ตับ" ดูคำว่า ตับ) จำพวกเพลงช้าก็มีเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องสารถี เป็นต้น จำพวกสองไม้ก็มีเรื่องสีนวล เรื่องทยอย เป็นต้น จำพวกเพลงเร็วก็มีเรื่องแขกมัดตีน หมู เรื่องแขกบรเทศ เป็นต้น และจำพวกเพลงฉิ่งก็มีเรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา เป็นต้น เหล่านี้เรียกตามชื่อเพลงอันดับแรกทั้งนั้น แต่บางเรื่องเรียกชื่อจริงตามกิจการที่ บรรเลงประกอบก็มี เช่น เรื่องทำขวัญ (หรือเวียนเทียน) ซึ่งเพลงอันดับแรกเป็นเพลง นางนาค ซึ่งใช้ในกรณีทำขวัญหรือเวียนเทียนสมโภช และบางเรื่องก็เรียกตามหน้าทับ (ดูคำว่า หน้าทับ) เช่น เรื่องนางหงส์ ซึ่งใช้ประโคมศพ เพลงที่บรรเลงขึ้นต้น ด้วยเพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน แต่กลองมลายูที่ตีประกอบจังหวะ ตีหน้าทับนางหงส์ ดังนี้เป็นต้น
ล้วง ได้แก่ การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเพิ่มทำนองบรรเลงล้ำเข้ามา ก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติ อธิบาย : วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่บรรเลงลูกล้อลูกขัดหรือเวลาที่จะ รับ จากร้อง คือก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติของตน ก็หาทำนองอย่างใด อย่างหนึ่ง บรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะจบ
ล่อน ได้แก่ การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง ไม่ กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออกไม่มีติด เมล็ดเลย เราก็เรียกว่า "ล่อน"
ลำลอง เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอและเคล้า ดูคำว่า คลอและเคล้า) อีกแบบหนึ่งแต่วิธีการบรรเลงและร้องต่างก็ดำเนินไป โดยอิสระคือ ไม่ต้องเป็นเพลงเดียวกัน เสียงที่ตกจังหวะก็ไม่ต้องเป็นเสียงเดียวกันบางทีอาจไม่ถือ จังหวะของกันและกันก็ได้ สิ่งที่จะต้องยึดถือในการบรรเลงและร้องในลักษณะ ลำลองนี้ ก็คือ เสียงที่บรรเลงกับร้องจะต้องเป็นระดับเสียงเดียวกันทำนองของเพลงทั้ง ๒ ฝ่ายสัมพันธ์กลมกลืนกัน เช่น การร้องเพลง "เห่เชิดฉิ่ง" ในเพลงตับพรหมาสตร์ ซึ่งคนร้องร้องเป็นทำนองเห่ส่วนดนตรีบรรเลงเพลงเชิดฉิ่งไปพร้อม ๆ กัน
ลูกล้อ เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้ง ๒ พวกนี้ ผลัดกันบรรเลง คนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง (เช่น เดียวกับคำว่าลูกขัดที่กล่าวมแล้ว) แต่ที่จะเรียกได้ว่า "ลูกล้อ" นี้เมื่อพวกหน้าบรรเลง ไปเป็นทำนองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองซ้ำอย่างเดียวกันกับพวกหน้า และทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใดหรือ เพียงพยางค์เดียวก็ได้
ลูกขัด เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหน้า (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง (บรรเลงที่หลัง) ทั้ง ๒ พวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่จะเรียกได้ว่า "ลูกขัด" นี้ เมื่อพวกหลังบรรเลงเป็น ทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับทำนองของพวกหน้า ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้นอย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันทำเพียงพวกละ พยางค์เดียวก็ได้ อธิบาย : ถ้าจะเปรียบเทียบคำว่า "ลูกขัด" กับ "ลูกล้อ" ให้เข้าใจง่ายจงจำไว้ว่า ถ้าพวกหลังบรรเลงไม่เหมือนพวกหน้าก็เป็นลูกขัด หากพวกหลังบรรเลงเหมือนกับ พวกหน้าก็เป็นลูกล้อ เช่นเดียวกับคำพูดของคน ๒ คน คนแรกพูดอย่างหนึ่ง อีกคนพูด ไปเสียอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกันก็เรียกว่าพูดขัดหรือขัดคอ ซึ่งตรงกับลูกขัด ถ้าคนแรก พูดอย่างใด อีกคนก็พูดเหมือนอย่างนั้น ก็เรียกว่าเลียน หรือ ล้อ หรือ ล้อเลียน ซึ่งตรงกับ ลูกล้อ
ลูกหมด เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะ หน้าทับสองไม้ชั้นเดียวหรือครึ่งชั้น สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่า จบ (หมด)
ลูกบท ได้แก่เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่ซึ่งถือว่าเป็น แม่บท เพลงเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ลูกบทนี้ อาจเป็นเพลงในอัตรา ๓ ชั้น ชั้นเดียว ครึ่งชั้น หรือเพลงภาษาต่าง ๆ ก็ได้ อุทาหรณ์ : เมื่อร้องและบรรเลงเพลงจระเข้หางยาว ๓ ชั้น จบแล้ว จึงออก ลูกหมด แล้วร้องและบรรเลงเพลงจีนขิมเล็กต่อไป เสร็จแล้วก็ออกลูกหมดอีกครั้ง หนึ่งเพลงจีนขิมเล็กนี้แหละคือลูกบท ส่วนเพลงจระเข้หางยาวนี้บรรเลงแต่ต้นเป็นเพลง แม่บท ทั้งแม่บทและลูกบท เมื่อจะจบเพลงของตนต่างก็มี "ลูกหมด" ของตนเองเพื่อ แสดงว่าเพลงจบหรือ "หมดเพลง" แล้ว
ลำ ในสมัยโบราณใช้เรียกแทนคำว่าเพลง เช่น เพลงนางนาค เรียกว่า ลำนางนาค การละเล่นอย่างหนึ่งทางภาคอีสานที่ร้องเคล้าไปกับแคน เรียกว่า "ลำแคน" คนร้องเรียกว่า "หมอลำ" และคนเป่าแคนเรียกว่า "หมอแคน" ในสมัยปัจจุบัน มักจะแยกความหมายระหว่าง "เพลง" กับ "ลำ" เป็นคนละ อย่าง เพลงหมายถึงทำนองที่มีกำหนดความสั้นยาวแน่นอน (ดูคำว่า เพลง) แม้เพลง บางเพลงที่มีโยนซึ่งไม่จำกัดจำนวนจังหวะ แต่เมื่อถึงเนื้อเพลงก็มีทำนองอันแน่นอน หากจะมีบทร้องก็ต้องถือทำนองเพลงเป็นใหญ่ ส่วนลำนั้นถือถ้อยคำเป็นบทร้องเป็น สำคัญต้องน้อมทำนองเข้าหาถ้อยคำ และความสั้นยาวไม่มีกำหนดแน่นอน เช่น การขับ ลำของหมดลำ เป็นต้น         
ส่ง แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง
ก. เป็นการบรรเลงนำทางให้คนร้องที่จะร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้อง เหมือนกับผู้ที่จะพ้นตำแหน่งแล้ว ก็ต้องส่งหน้าที่และแนะนำให้ผู้ที่จะรับตำแหน่งต่อไปได้ทราบแนวทาง เพื่อประโยชน์และความเรียบร้อยของส่วนรวม การ บรรเลงนำให้คนร้องนี้ เรียกเต็ม ๆ ว่า "ส่งหางเสียง"
ข. การร้องที่มีดนตรีรับ ก็เรียกว่าส่งเหมือนกัน แต่ก็มักจะเรียกว่า "ร้องส่ง"
สวม ได้แก่ การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ได้ บรรเลงเหลื่อมล้ำเข้ามาในตอนท้ายก่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อ เพื่อความ สนิทสนมกลมกลืนกัน อธิบาย : การบรรเลงเพลงสวมนี้ ที่ปฏิบัติกันเป็นปรกติก็คือเวลาร้องก่อนจะจบ ดนตรีก็บรรเลงสวมตอนท้ายเข้ามา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อ ก็บรรเลงสวมตอนท้ายก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน เช่นเดียวกับการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องสวมหรือเข้าปากประกบเชื่อมกันให้สนิท
ไหว หมายถึง การบรรเลงให้เสียงดนตรีหลาย ๆ เสียงที่ติดต่อกันนั้น มีระยะถี่และในจังหวะ เร็ว หากทำได้ถี่และเร็วมาก ก็เรียกว่าไหวมาก
ออก คือ การบรรเลงที่เปลี่ยนจากเพลงหนึ่งไปอีกเพลงหนึ่ง เช่น บรรเลงเพลงช้าแล้วเปลี่ยน เป็นเพลงเร็ว ก็เรียกว่า ออกเพลงเร็ว เปลี่ยนจากเพลงธรรมดาไปเป็นเพลงลูกหมด ก็ เรียกว่า ออกลูกหมด
เอื้อน ๑. ใช้ในการขับร้อง : หมายถึง การร้องเป็นทำนองโดยใช้เสียงเปล่า ไม่มีถ้อยคำเสียงที่ ร้องเอื้อนนี้อนุโลมคล้ายสระเออ ประโยชน์ของเอื้อน สำหรับบรรจุทำนองเพลงให้ถูกต้องครบถ้วนในเมื่อ บทร้อง (ถ้อยคำ) ไม่พอกับทำนองเพลง และเพื่อตบแต่งให้ถ้อยคำนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
๒. ใช้ในการบรรเลงดนตรี : หมายถึง การทำเสียงให้เลื่อนไหลติดต่อกัน โดยสนิทสนม จะเป็นจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำ หรือเสียงต่ำไปหาเสียงสูงหรือเป็นเสียงสลับกันอย่างไร ก็ได้
โอด ก. เป็นชื่อเพลงดนตรีเพลงหนึ่ง สำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ หรือสลบ หรือตาย ค. เป็นชื่อของเสียงที่ใช้ในวงปี่พาทย์เสียงหนึ่ง ซึ่งเทียบโดยอนุโลมกับเสียงของดนตรี ง. สากลตรงกับเสียง ลา ถ้าตีด้วยฆ้องวงใหญ่ก็จะได้แก่ลูกที่ ๑๒ (นับจากลูกที่มีเสียงต่ำสุด) และฆ้องลูกนี้ก็มีชื่อว่า "ลูกโอด" เพราะเสียงนี้เป็นหลักสำคัญของเพลง โอด (ข้อ ก.) ค. หมายถึงทาง (ดูคำว่า ทาง ข้อ ๒) ดำเนินทำนองเพลงอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไปโดย แช่มช้า โหยหวน อ่อนหวาน หรือโศกซึ้ง บางท่านก็ว่าเป็นการดำเนินทำนองในระดับ เสียงสูง
โอดพัน เป็นคำเรียกวิธีบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งทางโอด (ดูคำว่า โอด ข้อ ค.) และทางพัน (ดูคำว่า พัน ข้อ ข.) คือ การบรรเลงนั้นมีทั้งโหยหวน อ่อนหวานและเก็บแทรกแซง เสียงให้ถี่ ๆ อาจสลับกันเป็นอย่างละตอนหรืออย่างละเที่ยวก็ได้ อีกนัยหนึ่ง เป็นการบรรเลงทำนองเดียวกัน แต่บรรเลงในระดับเสียงสูง เที่ยวหนึ่ง ระดับเสียงต่ำเที่ยวหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทการชมนาฏศิลป์


การชมนาฏศิลป์  มีหลักการชม  ดังนี้
         1.  ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำของนาฏศิลป์ไทย ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เข้าใจเป็นพื้นฐาน
      2.  เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ  การ แสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและ เพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง  ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี คำร้อง หรือ    เนื้อร้อง ประกอบด้วย  บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะใช้คำประพันธ์ประเภท   กลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้  ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง ให้เข้าใจควบคู่กับการชมการแสดงด้วย จึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวนาฏศิลป์ที่แสดงอยู่
      3.  มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ  นาฏศิลป์ จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบ ขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม  ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจนจังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์   
      4.  เข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง  การ แสดงนั้นแบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควรดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดง หรือไม่  เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทั้งการแต่งหน้าด้วยว่าเหมาะสมกลมกลืนกันเพียงใด  เหมาะสมกับฐานะหรือบทของผู้แสดงหรือ ไม่                                       
      5.  เข้าใจถึงการออกแบบฉาก  การใช้แสง  เสียง  ผู้ ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่  และสถานการณ์ต่างๆ ของการแสดง  คือ  ต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงที่ใช้นั้นเหมาะสมกับลักษณะของการแสดงมากน้อยเพียง ใด              
      6.  เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่งออกตามฐานะในเรื่องนั้นๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตัวนายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ      
      7.  เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการแสดง  ใน กรณีที่เล่นเป็นเรื่องราว เช่น โขน ละคร ผู้ชมต้องติดตามการแสดงให้ต่อเนื่องกันจึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร            
      8.  ควรมีอารมณ์ร่วมกับการแสดง  การ แสดงนาฏศิลป์ได้บรรจุเอาลีลาท่าทาง หรืออารมณ์ต่างๆ ของผู้แสดงไว้มากมาย  ผู้ชมที่ดีควรมีส่วนร่วมกับผู้แสดงด้วย เช่น สนุกสนาน เฮฮาไปด้วย จะทำให้ได้รสของการแสดงอย่างเต็มที่ และผู้แสดงจะสนุกสนาน มีอารมณ์และกำลังใจในการแสดงด้วย                
      9.  ควรมีมารยาทในการชมการแสดง  คือ ปรบมือให้เกียรติก่อนแสดงและหลังจากจบการแสดงแต่ละชุด  ไม่ควรส่งเสียงโห่ร้องเป็นการล้อเลียน หรือเยาะเย้ย ในขณะที่การแสดงนั้นไม่ถูกใจหรืออาจจะผิดพลาด ตลก ขบขัน ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงเสียกำลังใจ และถือว่าไม่มีมารยาทในการชมการแสดงอย่างมาก อีกทั้งเป็นการรบกวนสมาธิและอารมณ์ของผู้ชมคนอื่นๆ ด้วย                                         
      10.  ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  คือ ต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้แสดง เช่นโรงละครแห่งชาติ หอประชุมขนาดใหญ่  ควรแต่งกายสุภาพแบบสากลนิยม แต่ในกรณีสถานที่สาธารณะหรืองานแบบสวนสนุก ก็อนุโลมแต่งกายตามสบายได้   
      11.  ควรศึกษาเกี่ยวกับสูจิบัตร  ให้ เข้าใจก่อนเริ่มชมการแสดง เพื่อจะได้ชมการแสดงได้เข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ  แต่ถ้าไม่มีสูจิบัตร ก็ควรจะตั้งใจฟังพิธีการบรรยายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงให้เข้าใจด้วย
      12.  ควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา  เพื่อ จะได้เตรียมตัวให้พร้อม และได้ชมการแสดงตั้งแต่เริ่มต้น อีกทั้งจะได้ไม่เดินผ่านผู้อื่นซึ่งชมการแสดงอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นการทำลายสมาธิด้วย

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ขิม


                 ขิมเป็นเครื่องดนตรีของจีนในสมัยโบราณ ขิมเป็นได้ทั้งเครื่องตี เครื่องสี และเครื่องดีด จากเรื่องเล่าขานกันว่า   มีเจ้าเมืองแห่งหนึ่งชื่อ   " จีเซียงสี" ปกครองเมืองอยู่ได้ สองปีก็เกิดภัยพิบัติเป็นพายุใหญ่   ทำให้ไม้ดอกไม้ผลโรยร่วงหล่นไปสิ้น จูเซียงสี จึงปรึกษากับขุนนางว่าจะทำประการใดดี ขุนนางคนหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า   เมื่อก่อนได้ทราบว่า พระเจ้าฮอกฮีสี ฮ่องเต้ ได้สร้างขิมชนิดหนึ่งมีสาย ห้าสาย ถ้าหากว่าแผ่นดินมีทุกข์สิ่งใดเกิดขึ้น ก็ให้นำขิมนั้นมาดีด   เนื่องจากขิมนั้นเป็นชัยมงคล จูเซียงสี จึงสั่งให้ช่างทำขิมห้าสายแจกให้ราษฏร ที่เกิดทุกข์เข็ญ เมื่อราษฏร ดีดขิมขึ้น เสียงที่ออกมามีความไพเราะ ทำให้ลมสงบ ต้นไม้ทั้งหลาย ก็ติดดอกออกผลบริบูรณ์ทั่วถึงกันชาวจีนจึงถือว่าขิม เป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงประสานกันอย่างบริสุทธิ์ ถ้านำมาบรรเลงควบกับพิณอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า " เซะ" หรือ " เซ็ก" ซึ่งมีมากสาย ก็จะเป็น สัญลักษณ์ แลดงถึงความสามัคคี ประสานกันเป็นอย่างดี ขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า  
" ผู้ซึ่งมีสามัคคีรสเป็นสุขสบายอยู่กับภรรยาและลูก ก็เปรียบเสมือนดนตรีขิม และพิณเซะฉะนั้น"
       จากการติดต่อสื่อสารกับชาวจึน ในสมัยรัชกาลที่ ๔  ชาวจีนได้นำขิมเข้ามาในประเทศไทย โดยนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆบ้าง 
       นักดนตรีไทยจึงเกิดคว่ทคิดในการนำขิมมาบรรเลง  ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ โดยแก้ไขอุปกรณืบางชนิด เช่นเปลี่ยนสายลวดทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดจน ถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายกับมือขวามีระดับเกือบตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้ใหญ่และก้านแข็งขิ้น หย่องที่หนุนสาย มีความหนา กว่าของเดิมเพื่อให้เกิดความ สมดุล และมีความประสงค์ให้เสียงดังมากขึ้น เสียงที่ออกมาจึงนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าวเกินไป ให้ทาบสักหลาดหรือหนัง ตรงปลายไม้ตี   ส่วนที่กระทบกับสาย ทำให้เสียงเกิดความนุ่มนวล และได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผลมจนถึงปัจจุบัน
        เพลงที่นิยมบรรเลงกันมากคือ   เพลงขิมเล็ก   และเพลงขิมใหญ่  ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงจีนที่เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ ( ครูมีแขก) ได้จำทำนองการตีขิมของคนจีน แล้วมาแต่งเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้นได้ ๒ เพลง ตั้งชื่อว่า เพลงขิมเล็ก และ เพลงขิมใหญ่ สำหรับเพลงขิมเล็ก พระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น ส่วนเพลงขิมใหญ่ ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขึ้นเป็น อัตรา ๓ ชั้น เช่นกัน และทั้ง ๒ เพลงนี้ ครูมนตรี ตราโมท ได้แต่งตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้
http://www.dontrithai.com/other/other1.htm
การเรียนรู้เรื่องดนตรีแต่ละเครื่องมือจำเป็นต้องรู้จักเครื่องดนตรีชนิดที่จะต้องเรียนก่อนเมื่อรู้จักเครื่องดนตรีแล้ว   ก็เริ่มฝึกปฏิบัติด้วยวิธีการสร้างเสียงในรูปแบบต่างๆตามลำดับ   การเรียนรู้เรื่องขิมจึงต้องรู้จักส่วนต่างๆของขิมโดยละเอียด   เช่น ภายในฝาขิมจะมีที่เก็บไม้ขิม   หลักคล้องสายขิม ช่องเสียง   ตัวขิม   นมขิม หลักขึ้นสาย   ไม้ตีขิม   ฆ้อน ที่ขึ้นสาย   ฯลฯ จะเข้   ผู้สอนต้องแนะนำให้รู้จักส่วนต่างๆ   เช่น   ไม้ดีดลูกบิดสายเอก   ลูกบิดสายทุ้ม    ลูกบิดสายลวด   นมจะเข้   ช่องเสียง   กล่องเสียง หย่อง   แหน   เป็นต้น
ขั้นตอนที่สอง   ฝึกภาคปฎิบัติ การจับไม่ตีขิม   การพันไม้ดีดจะเข้ และการนั่งจะต้องถูกวิธี   คือ   ตัวตรง
มีสง่า   สำหรับขิม    ฝึกหัดตีกรอคู่แปดแถวซ้าย-ขวา เมื่อคล่องให้ตีกรอคู่แปดแถว ซ้าย-กลาง    ตีกรอคู่แปดแถว   กลาง-ขวา
ขั้นตอนต่อไป   ตีสลับสามแถว   เป็นแถว ซ้าย-กลาง แถวซ้าย-ขวา   ด้วยมือ   ซ้าย-ขวา-ซ้าย-
ขวา   สลับกัน     ฝึกตีสบัดขึ้นลง ตีสบัดผสมแถวซ้าย    ตีสบัดผสมแถวกลาง   ตีสบัดผสม

แถวขวา   เมื่อคล่องดีแล้ว ก็ให้ฝึกตีกรอคู่สาม คู่สี่ ต่อจากนั้นก็ฝึกตีทำนองเพลง    และฝึกเล่นรวมวงเป็นลำดับถัดไป
เรื่องราวของขิม 

ขิม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องตี เป็นหนึ่งในวง เครื่องสายประสมของไทย ใช้บรรเลงทำนอง นิยมเล่น แพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยการนำเข้ามาของ พ่อค้าชาวจีน แต่ขิมมีต้นกำเนิดที่แท้จริงมาจากชาวเปอร์ เชีย ซึ่งได้นำเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีนมาก่อน ดังจะ เห็นได้จากการที่ชาวจีนเรียกขิมว่า “ หยางฉิน ” ซึ่งแปลว่า เครื่องดนตรีของชาวต่างชาติ ส่วนชาวตะวันตกเรียก ขิมว่า “Hammer Dulcimer” ซึ่งหมายถึง พิณที่ใช้ฆ้อน ตี เมื่อขิมถูกนำมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีไทย จนเป็นที่นิยม จึงมีการปรับแต่งรูปทรงและชิ้นส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมและมีความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น และยังมีการ พัฒนาต่อไปเป็นขิมรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายในปัจจุบัน
ส่วนประกอบขิม 
          ขิมรูปทรงมาตรฐานที่ได้รับความนิยมเรื่อยมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน คือ ขิมหยัก ขิมหยักประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก ๒ ชิ้น คือส่วนตัวขิม และส่วนฝาขิม เมื่อเวลากางออกมาเรียงคู่กัน จะดูเหมือนรูปผีเสื้อกางปีก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขิมผีเสื้อ
ตัวขิม มีลักษณะเป็นกล่องไม้ ภายในกลวง ทำหน้าที่คล้ายตู้ลำโพงขยายเสียง...ด้านซ้ายของตัวขิม คือ หมุดยึดสายขิม จำนวน ๔๒ หมุด ลักษณะ เป็นแท่งโลหะ ตอกยึดลงบนตัวขิม ใช้สำหรับพันปลายสายขิมข้างหนึ่งไว้ ส่วนปลายสายอีกข้างหนึ่ง จะขึงไว้กับ หมุด ตั้งสาย ซึ่งอยู่ทางขวาสุดของตัวขิม จำนวน ๔๒ หมุดเช่นกัน มีลักษณะคล้ายกับหมุดยึดสายขิม แต่เป็นแท่งโลหะเกลียว ขันยึดกับตัวขิม ทำให้สามารถหมุนปรับความตึงสายได้
          ถัดเข้ามาจากหมุดยึดสายขิมทั้ง ๒ ข้าง คือ หย่องหนุนสายขิม ลักษณะเป็นแท่งไม้รูปสามเหลี่ยม บางตัวจะมีแท่งโลหะเสริมอยู่ด้านบน
          ตรงกลางของตัวขิมจะมีแผ่นไม้รองรับสายขิมอยู่ ๒ แผ่น เรียกว่า หย่องขิม ลักษณะเป็นแผ่นไม้ฉลุ เซาะเป็นร่องสลับกับแท่งหย่อง แผ่นหนึ่งจะมี ๗ หย่อง หย่องขิมจะวางติดอยู่บนหน้าขิม ด้วยแรงกดของสายขิมเท่านั้น ไม่มีการติดยึดกับตัวขิมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเลื่อนปรับแท่งหย่องไปมา เพื่อปรับตั้งเสียงทั้งสองข้างของหย่องได้
          สำหรับ สายขิม นั้นทำจากลวดทองเหลือง หรือลวดสเตนเลส มีทั้งหมด ๔๒ เส้น โดยแบ่งขึงเป็นแถว แถวละ ๓ เส้น เสียงขิม ๑ เสียงจะเกิดจากการตีลงบนสายขิมทั้ง ๓ เส้นพร้อมกันในครั้งเดียว
          บริเวณบนหน้าขิม จะถูกคว้านเป็นรูกลมๆ ๒ รู ปิดทับด้วยแผ่นลายฉลุเพื่อความสวยงาม รูนี้มีไว้สำหรับเป็น ช่องเสียง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความกังวาน ไพเราะ ไม่อับทึบ
          อุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เกิดเสียงก็คือ ไม้ตีขิม ทำด้วยไม้ไผ่ เหลาจากโคนด้ามใหญ่ ให้เรียวแบนจนถึงปลาย ส่วนตรงปลายที่ใช้ตี ทำเป็นสันไม้นูน นิยมหุ้มด้วยหนังเพื่อให้เสียงนุ่มขึ้น เสียงขิมจะดังหรือเบา จะแหลมหรือทุ้ม ขึ้นอยู่กับไม้ขิมตรงส่วนนี้ด้วย
          อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นอีกอันหนึ่งก็คือ ที่ตั้งเสียง ลักษณะเป็นโลหะรูปทรงกระบอก ไว้ใช้ครอบหัวหมุดตั้งสาย เพื่อหมุน ปรับแต่งความตึงของสายให้ได้ระดับเสียงสูงต่ำที่ต้องการ
การจับไม้ขิม และวิธีการตี
การวางขิม ในการบรรเลงดนตรีไทย นักดนตรีจะนั่งพับเพียบกับพื้น และวางเครื่องดนตรีที่จะบรรเลงไว้ข้างหน้า
สำหรับขิมนั้น สามารถจัดวางบนพื้นได้ ๒ ลักษณะคือ วางฝาขิมคว่ำลงกับพื้นก่อน แล้วจึงวางตัวขิมทับลงไปในทิศทางเดียวกัน... อีกลักษณะหนึ่งคือ หงายฝาขิมขึ้น แล้ววางตัวขิมทับลงไปแบบสลับทิศทางกัน ซึ่งการวางแบบนี้จะทำให้เสียงขิมมีความกังวานมากกว่า เพราะมีฝาขิมทำหน้าที่เสมือนกล่องลำโพงช่วยขยายเสียงด้วย แต่มีข้อเสียคือ ฝาขิมอาจเป็นลอยขีดข่วนได้ง่าย
การนั่ง เวลานั่งบรรเลง ควรนั่งให้ห่างจากตัวขิมในระยะที่พอดีกับช่วงแขนของตน โดยประมาณจากระยะของแขนที่จะต้องยื่นไปตีตำแหน่งสายที่อยู่บนสุด กับสายที่อยู่ล่างสุด ให้มีความคล่องตัว ไม่ติดขัด
การจับไม้ การจับไม้ขิม ให้จับบริเวณปลายสุดของด้ามไม้ โดยให้ไม้วางอยู่บนข้อนิ้วชี้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดทางด้านบนให้แน่น ส่วนนิ้วที่เหลือให้ประคองด้ามไม้ไว้แค่พอหลวมๆ โดยที่ปลายนิ้วก้อยจะอยู่บริเวณปลายไม้พอดี ควรถือไม้ให้มืออยู่เหนือระดับสายขิมเล็กน้อย อย่าอยู่ต่ำกว่าสายขิม เพราะจะทำให้ไม่สามารถตีตำแหน่งสายขิมด้านบนได้
การตี วิธีตีขิม ให้ใช้เพียงส่วนข้อมือ ตีแบบสะบัดในลักษณะเหมือนกับการเคาะ นั่นคือเมื่อปลายไม้กระทบกับสายขิมแล้ว จะต้องมีอาการดึงไม้กลับด้วย ไม่ใช่ตีลงไปแล้วปล่อยไม้ขิมค้างไว้ … หรือตีขึ้นลงทั้งท่อนแขน...ต้องตีให้บริเวณหัวไม้กระทบลงบนสายขิมเท่ากันทั้ง ๓ สาย เพื่อให้เกิดเสียงที่ ชัดเจนเพียงเสียงเดียวเท่านั้น โดยตีห่างจากหย่องขิมประมาณ ๑ นิ้ว หากตีไม่ถูกต้อง เสียงจะเบา และแตกซ้อนเป็นหลายเสียง
เสียงขิม 
เสียงดนตรีไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเสียงดนตรีสากล จะมีเสียงหลักอยู่ ๗ เสียงโน้ตเช่นเดียวกัน คือ “ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ” ซึ่งเขียนเป็นตัวโน้ตย่อได้ว่า “ ด ร ม ฟ ซ ล ท ” ตามลำดับ
สำหรับเสียงขิมนั้นมีทั้งหมด ๒๑ เสียง แบ่งตามระดับเสียงสูงต่ำได้ทั้งหมด ๓ ช่วงเสียง คือ เสียงสูง เสียงกลาง และ เสียงต่ำ โดยมีตำแหน่งที่ตี ไล่ลำดับเป็นแถวในแนวตั้งได้ ๓ แถว แถวละ ๗ เสียง ดังนี้
แถวซ้าย จะเป็นเสียงสูง โดยเริ่มจากตำแหน่งที่อยู่ด้านบนสุด คือเสียง ลาสูง … ถัดลงมาเป็นเสียงซอล … ฟา..มี..เร..และ โด … ส่วนตำแหน่งล่างสุด เป็นเสียง ทีกลาง …
ต่อมาใน แถวกลาง สามบรรทัดบน จะเป็นเสียงซ้ำกับสามบรรทัดล่างของแถวซ้าย คือเสียง เรสูง … โดสูง … และ ทีกลาง … ถัดลงมาจะเป็นเสียงกลางที่เหลือ ได้แก่ เสียงลา … ซอล … ฟา … และ มี … ต่อมาเป็น แถวขวา ซึ่งแต่ละบรรทัดจะอยู่เหลื่อมลงมาต่ำกว่าแถวซ้ายและแถวกลางอยู่หนึ่งบรรทัด และ ๓ บรรทัดบนก็จะเป็นเสียงซ้ำกับ ๓ บรรทัดล่างของแถวกลางอีกเช่นกัน คือเสียง ซอล … ฟา … และมี … ถัดลงมาจะเป็นเสียง เรกลาง … และโดกลาง …
ส่วน ๒ บรรทัดล่างที่เหลือ จะเป็นเสียงต่ำ ได้แก่เสียงทีต่ำ … และ ลาต่ำ … ส่วนแถวถัดไปทางด้านขวาของหย่องขวานั้น จะใช้ตีไม่ได้ เพราะมีความตึงของสายมากเกินไป
ตำแหน่งเสียงขิมทั้ง ๒๑ เสียงนี้ แม้จะมีเสียงที่ซ้ำกันอยู่หลายเสียง แต่ในการตีจริง
การอ่านโน้ตขิม 
          สำหรับโน้ตเพลงไทยทั่วไป จะมีการแบ่งจังหวะออกเป็นห้องๆ ห้องละ ๔ จังหวะ ดังนั้นใน ๑ ห้องจึงบรรจุตัวโน้ตไว้ ๔ ตัว และเมื่อครบ ๘ ห้อง จะรวมเป็น ๑ บรรทัดโน้ต....
          ในการบรรเลงเพลง แต่ละจังหวะจะต้องดำเนินต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอ คล้ายจังหวะของเข็มวินาทีที่เดินเท่ากันตลอดเวลา โดยที่เส้นแบ่งห้องนั้นจะไม่มีผลต่อจังหวะแต่อย่างใด เป็นเพียงเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า ครบ ๑ ห้องหรือครบ ๔ จังหวะแล้วเท่านั้น แต่ที่ต้องแบ่งโน้ตออกเป็นห้องๆ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการนับจังหวะเวลาเล่น โดยนักดนตรีจะคอยนับเพียงจังหวะที่ ๔ ของแต่ละห้อง ซึ่งเรียกว่า “ จังหวะตก ” เป็นหลักเท่านั้น และจะต้องควบคุมจังหวะตกนี้ให้เท่ากันสม่ำเสมอตลอดทั้งเพลง
          โน้ตของเครื่องดนตรีไทย ก็จะมีลักษณะโน้ตแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของเครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น โน้ตขิม ซึงมีตำแหน่งเสียงในการตีเป็นลักษณะแถว ๓ แถว ดังนั้นโน้ตขิมจึงมีการแบ่งซอยบรรทัดจากโน้ตเพลงปกติ ๑ บรรทัด ออกเป็น ๓ แถวย่อย เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งเสียงที่จะตีในแต่ละแถวได้ครบ โดยแถวบนสุด จะแทนเสียงที่อยู่ในแถวซ้ายของขิม … แถวกลาง แทนเสียงที่อยู่ในแถวกลาง ….    และแถวล่างสุดแทนเสียงที่อยู่ในแถวขวาโดยปกติแล้ว การตีขิมทั่วไปมักจะเริ่มด้วยมือซ้ายก่อน ดังนั้นหลักคร่าวๆ ในการอ่านโน้ตขิมอย่างหนึ่งก็คือ โน้ตตัวที่ ๑ และตัวที่ ๓ ของห้องมักจะตีด้วยมือซ้าย...ส่วนโน้ตตัวที่ ๒ และตัวที่ ๔ จะตีด้วยมือขวาแต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ตายตัว จึงอาจมียกเว้นบ้างในบางโอกาส
ลูกเล่นในการตีขิม 
การตีเก็บ หมายถึงการตีสลับมือซ้ายขวา เหมือนการตีปกติ โดยตีเสียงโน้ตละ ๑ จังหวะ
การตีสะบัด หมายถึงการตีไล่เสียง ๓ ตัวโน้ตต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียง ๒ หรือ ๑ จังหวะ เพื่อให้ทำนองมีความพริ้วไหวมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการแทรกโน้ตตัวที่ ๓ เพิ่มเข้าไปในโน้ต ๒ ตัวเดิม ภายในจังหวะเท่าเดิม เช่น โน้ตเดิมคือ โด ลา ….. เพิ่มเป็นสะบัด ๓ เสียงคือ เร โด ลา … หรือ ซอล มี .. เป็น ลา ซอล มี
การตีกรอ หรือ ตีรัว หมายถึง การตีให้มีเสียงโน้ตดังต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอ (ตั้งแต่ ๒ จังหวะขึ้นไป) ด้วยการตีสลับมือเร็วๆ โดยต้องเริ่มจากมือขวา และจบด้วยมือขวาเช่นกัน
( การตีรัว หมายถึงตีสลับมือลงบนโน้ตตัวเดียวกันอย่างต่อเนื่อง … ส่วนการกรอ จะตีสลับมือบนโน้ตคนละตัว)

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงออเคสตรา


วงออร์เคสตร้า หรือ วงดุริยางค์
มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการ
ถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดมาดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เคสตร้า
จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง ๆได้เป็นอย่างดี

ประวัติของวงออร์เคสตร้า
ออร์เคสตร้า เป็นภาษาเยอรมันตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ(Dancing place)
ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นสถานที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง ออร์เคสตร้าเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย เรียกว่าวงกำเมออร์เคสตร้า(The Gamelan Orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The Gagaku Orchestra) สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าได้แก่วงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีความหมายของออร์เคสตร้าได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยกลาง โดยหมายถึง ตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่ ๑๘
คำว่า ออร์เคสตร้า หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม คำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำ เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละครและโรงแสดงคอนเสิร์ตแต่เดิมแม้จะมีการใช้เครื่องดนตรีเล่นในลักษณะทำนองเดียวกับการร้อง|ในยุคเมดิอีวัล และรีเนซอลส์ แต่วงออร์เคสตร้าไม่มีการระบุเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องดนตรีที่แน่นอนในการใช้บรรเลงแต่ประการใด ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น ความจำเป็นในการกำหนดเครื่องดนตรีก็เกิดขึ้นด้วย เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนไปกับเสียงร้องของนักร้องโอเปราในเรื่อง ออร์เฟโอ(Orfeo ๑๖๐๗), และมอนเทแยวร์ดี (Montevedi) จึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีในบทเพลง และเป็นจุดเริ่มการพัฒนาของวงออร์เคสตร้า โดยระยะแรกเป็นลักษณะของวงสายออร์เคสตร้า (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่น ๒๐-๒๕ คน แต่บางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ ทั้งนี้ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๗ ออร์เคสตร้ามีการเพิ่มเครื่องลมไม้และตอนปลายยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ.๑๗๕๐) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตร้าด้วยกลางศตวรรษที่ ๑๘วงออร์เคสตร้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยมี
การจัดวางเครื่องสายทุกชนิดอย่างเป็นระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตร้าในปัจจุบัน และมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนเครื่องดนตรีที่เคยมีใช้กันมากแต่เดิมเช่นมีการนำฟลุท มาแทนขลุ่ยรีคอเดอร์ มีการเพิ่มคลาริเนท เข้ามาในกลุ่มประเภทของเครื่องลมไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า ยุคที่วงออร์เคสตร้าเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐาน คือ ยุคคลาสสิก เหตุผล
ประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตร้าเป็นแบบแผนขึ้น กล่าวคือ ทำให้มีเครื่องดนตรีทุกประเภทประกอบเข้าเป็นวง ได้แก่ เครื่องสาย  เครื่องลมไม้ เครื่องเป่า และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรีก็มีเครื่องพื้นฐานครบถ้วน เช่น ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา วิโอลอนเชลโลและดับเบิ้ลเบสในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบไปด้วย ฟลูท คลาริเนท โอโบ บาสซูนในกลุ่มของเครื่องลมทองประกอบไปด้วย ฮอร์น ทรัมเปต และทูบา ในกลุ่มของเครื่องตีจะมีกลองทิพพานี กลองใหญ่ และเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ ซึ่งในรายละเอียด การจัดวงจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง เช่น บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ ๑๙ เบโธเฟน ได้ปรับเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น ๔ ตัว และเติมเครื่องตีต่าง ๆเช่น ฉาบ สามเหลี่ยม เข้าไป ในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเป็นยุคโรแมนติกได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตร้าเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น เช่นเบร์ลิโอส (Berlioz) ได้เพิ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ ๔ เครื่องทั้งหมด ประเภทเครื่องสายเช่น ไวโอลิน เพิ่มเป็น ๒๘ เครื่อง ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ ๑๐-๑๒ เครื่องเท่านั้นนักประพันธ์แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (Brahms)เมนเดลซอน (Mendelssohn) และชูมานน์ (Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ทั้งสิ้นเพื่อแสดงพลังของบทเพลงที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นถึง ๑๐๐ คนต่อมาในยุคโรแมนติกความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้มีส่วนทำให้มีการเพิ่มขนาดของ วงออร์เคสตร้าไปด้วย เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่องโดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรยายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ นอกจากนี้ บทเพลงประเภทโอเปราบัลเลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียงต่างก็ล้วนทำให้วงออร์เคสตร้าต้องเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมาความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตร้า ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ได้เริ่มลดลง หลังสงคราม โลก ครั้งที่ ๑เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องเป่าที่เคยใช้ถึง ๔ เครื่อง ลดลงเหลือ ๓เครื่องและไวโอลิน จะใช้เพียง ๒๔ เครื่อง เป็นต้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ จะยังมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวการประพันธ์เพลงก็มีส่วนในการกำหนดวงออร์เคสตร้า อย่างไรก็ดีสิ่งที่ว่านี้ก็มิได้เป็นตัวกีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้วงออร์เคสตร้าของผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด
 วงดุริยางค์ชนิดนี้เป็นวงที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องดนตรี กลุ่ม คือ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ บรรเลงเป็นแนวๆ  แต่ละแนวจะมีนักดนตรีเล่นดนตรีชนิดเดียวกันหลายคน  โดยมีกลุ่มเครื่องสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก  และเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญมากในวงดุริยางค์  วงดนตรีในลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงถือไม้  (ไม้ที่ถือเรียกว่า  “Baton”)  ยืนอยู่บนแท่นเล็กๆหน้าวง     ผู้อำนวยเพลงจะมีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงของนักดนตรีทั้งหมด ในส่วนขนาดของวงจะเล็กหรือใหญ่ขี้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นในกลุ่มเครื่องสาย  การจัดวงSymphony Orchestra คำนึงถึงความกลมกลืน ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม โดยทั่วไปกลุ่มเครื่องสายจะอยู่ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องกระทบจะอยู่ด้านหลังสุด บริเวณกลางของวงจะเป็นเครื่องลมไม้

          วงดุริยางค์ตามลักษณะนี้จะบรรเลงเพลง  ซิมโฟนี่ เป็นหลัก (ซิมโฟนี่ คือ เพลงเถาที่มี 3-4 ตอน)  เพลงซิมโฟนี่เป็นเพลงที่บรรเลงยากมาก นักดนตรีที่บรรเลงเพลงประเภทนี้จะต้องเป็นผู้มีความสามารถสูง  วงดุริยางค์ซิมโฟนี่ยังแบ่งออกเป็นวงขนาดเล็ก  มีนักดนตรีประมาณ40-60 คน  วงขนาดกลาง  มีนักดนตรีประมาณ 60-80 คน  และวงขนาดใหญ่ มีนักดนตรีประมาณ80-110 คน
วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)
ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้



1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี
2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin
4. เชลโล่ - Cello
5. วิโอล่า - Viola
6. ดับเบิลเบส - Double bass
7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
8. โอโบ - Oboe
9. ฟลูต - Flute
10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
11. คลาริเนต - Clarinet
12. บาสซูน - Bassoon
13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon
14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
15. แซกโซโฟน - Saxophone
16. ทูบา - Tuba
17. ทรอมโบน - Trombone
18. ทรัมเปต - Trumpet
19. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp
20. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)
21. ฉาบ - Cymbal
22. เบส ดรัม - Bass Drum
23. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
24. กลอง - side หรือ Snare Drum
25. Tubular Bells - ระฆังราว
26.ไซโลโฟน - Xylophone 
ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้


วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra)  











วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงแชมเบอร์มิวสิค


วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)


         วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความเป็นมายาวนานมากนับตั้งแต่  ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงโดยซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง         Webster's Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า " แชมเบอร์มิวสิค" ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber       or a small audience hall" ซึ่งศาสตราจารย์ไขแส ศุขะวัฒนะ (2525:20) แปลเป็นภาษาไทยว่า " ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิคเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends) และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends)
   ในสมัยแรก ๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อยซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิคเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (Concert hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่ว ๆ ไป

           เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้ การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิคนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย

           เนื่องด้วยดนตรีประเภทนี้บรรเลงด้วยกลุ่มนักดนตรีเพียงไม่กี่คนประกอบกับไม่ได้มีการใช้เครื่องขยายเสียงหรือตู้แอมป์ สถานที่ที่เหมาะกับการบรรเลงและการฟังจึงควรเป็นห้องโถงตามบ้าน หรือห้องฟังดนตรีขนาดเล็กเพราะผู้ฟังทุกคนสามารถฟังเสียงของเครื่องดนตรีทุก ๆ ชิ้นได้อย่างชัดเจนและสัมผัสกับดนตรีได้อย่างใกล้ชิด
วงแชมเบอร์มิวสิคจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลงต้องมีนักดนตรีตั้งแต่สองคนขึ้นไปถึงเก้าคนดังนี้
- ผู้บรรเลง 2 คน เรียก ดูโอ (Duo)
- ผู้บรรเลง 3 คน เรียก ทริโอ (Trio)
- ผู้บรรเลง 4 คน เรียก ควอเต็ต (Quartet)
- ผู้บรรเลง 5 คน เรียก ควินเต็ต (Quintet)
- ผู้บรรเลง 6 คน เรียก เซกซ์เต็ต (Sextet)
- ผู้บรรเลง 7 คน เรียก เซพเต็ต (Septet)
- ผู้บรรเลง 8 คน เรียก ออคเต็ต (Octet)
- ผู้บรรเลง 9 คน เรียก โนเน็ต (Nonet)

         ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิคที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่นำรวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะสุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มสุ้มเสียงอื่น

การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า " สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ ( ค. ศ.1784-1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ท้อค
          ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิคได้รู้จักกันในชื่อว่า " ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล
นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่าง ๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)
 ปัจจุบันในประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนาวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคขึ้นมาเช่นกันโดยการนำเอาเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กโซโฟน ( โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และบาริโทนแซ็กโซโฟน) มารวมกันเป็น " วงบางกอกแซ็กโซโฟนควอเต็ต" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุข และสมาชิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2532
การผสมวงที่ใช้เครื่องลมบางชนิดรวมกัน เช่น โอโบ 2, คลาริเนท 2 , บาสซูน 2 และ แตรเฟรนช์ฮอร์น 2 รวมเรียกว่า " วินด์อ๊อคเต็ต" (Wind Octet)
   นอกจากนี้ยังมีคำว่า " อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า " ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคนในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)

ดนตรีแจ๊ส


ดนตรีแจ๊ส
ชาวโลกต่างพากันตกตลึงกันพอสมควรหลัง
จากที่ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ 1874-
1951) สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882-
1971) และจอร์จ เกอร์ซวิน (George Gershwin
ค.ศ.1898-1937)ได้นำรูปแบบใหม่ของดนตรี
คลาสสิกให้กับผู้ฟังรู้จักในยุโรปโดยเฉพาะเพลง
Rhapsody in Blue ในปี ค.ศ. 1924 โดยการนำเอา
วลีของแจ๊สมาผสมกับลีลาของดนตรีคลาสสิก
เป็นเวลาเดียวกันกับดนตรีรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นใน
สหรัฐอเมริกาคือ ดนตรีแจ๊ส ผู้ริเริ่มรูปแบบดนตรีแจ๊ส 
     ได้แก่ชนผิวดำที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกันซึ่งเป็นชนเชื้อชาติอัฟริกันลักษณะโดยทั่วไป ของแจ๊สคือดนตรีที่ใช้การสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) การใช้จังหวะขัด จังหวะ ตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรีแม้ว่า แจ๊สเป็นคำที่ เริ่มใช้กันประมาณปี ค.ศ. 1917 แต่ดนตรีแจ๊สเริ่มได้ยินกันมาแล้วเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุที่ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่แสดงกันสด ๆ ไม่มีโน้ตจึงไม่มีหลักฐานใด ๆ เหลืออยู่ให้ทราบว่า ดนตรีแจ๊สมีกำเนิดมาเมื่อใดอย่างแน่ชัดและมีลักษณะอย่างไร 

      นอกจากนี้ก่อน ค.ศ. 1923มีการบันทึกเสียงดนตรีแจ๊สไว้น้อยมาก และไม่มีการบันทึก
เสียงไว้เลยก่อน ค.ศ. 1917 นอกจากดนตรีแจ๊สของวง The Original Dixieland Band 
        ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแจ๊สเป็นต้นมาดนตรีแจ๊สมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป
หลายประเภทเช่นแบบนิวออร์ลีน (New Orleans)หรือดิกซีแลนด์ (Dixieland) สวิง (Swing)
บีบอป(Be-bop) คลู (Cool) ฟรีแจ๊ส (Free jazz) และ แจ๊สร็อค (Jazz rock) เป็นต้น

นักดนตรีแจ๊สที่เด่นเช่นหลุยส์ อาร์มสตรอง(Louis Armstrong) ดยุค แอลลิงตัน
(Duke Ellington) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman) ชาร์ลี ปาร์เกอร์ (Charlie Parker) และ
จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ดนตรีแจ๊สมีผลต่อดนตรีแบบอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี
ป๊อป หรือดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊สไปใช้ในการ
ประพันธ์เพลงเช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น 

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส
     ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา
     
      อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 : 187)

      ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง
ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

      เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

      ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน ( ประสิทธ์ เลียวสิริพงศ์ , 2533 :30)


พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส
     นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

      ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ดนตรีแจ๊ส

แรคไทม์ (Ragtime)
     เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890-1915 ลักษณะของแรกไทม์คือดนตรีสำหรับเปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2/4 หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลงเปียโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัดมือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลงมาร์ชผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์ คือ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin) เพลงเด่น ๆ เช่น เพลง Maple Leaf Rag
พลง Maple Leaf Rag ของ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin)

บลูส์ (Blues)
     คำว่า " บลูส์ " มีหลายความหมาย ดังนี้
1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า
2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี
3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ
4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด ( ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ , 2537 : 56)
บลูส์เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราว 1890 ลักษณะสำคัญคือการใช้เสียงร้องหรือเสียงของ เครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียงซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการ อิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ (Bessie Smith) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์ โดยเฉพาะเพลง Lost Your Head Blues และ Put it Right There
 

รูปลักษณ์ของบลูส์
     บทร้องเพลงบลูส์มีลักษณะเหมือนกับบทกวีของอเมริกันโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 3 บรรทัด แต่ละบรรทัดประกอบด้วย 5 พยางค์ 2 ชุด บรรทัดที่สองคำมักซ้ำกับบรรทัดแรก บรรทัด ที่ สาม เป็นข้อความที่เปรียบเสมือนตอบรับบรรทัดที่หนึ่งและสองซึ่งอาจสมมติรูปแบบเป็น A AB
I'm going'to the river, take my rocker chair,
I'm going'to the river, take my rocker chair,
If the Blues overtake me, gonna rock away.
เพลงบลูส์มีโครงสร้างของคอร์ด (Chord Progression) ดังนี้
 
     จากตัวอย่างข้างต้นเป็นทางคอร์ดของเพลงบลูส์ดั้งเดิมแบบพื้นเมือง ห้องที่ 1 - 4 เป็น คอร์ดหนึ่ง (Tonic chord) ห้องที่ 5-6 เป็นคอร์ดที่สี่ (Subdominant chord) ห้องที่ 7 - 8 เป็นคอร์ดหนึ่ง ห้องที่ 9 - 1 0 เป็นคอร์ดห้า (Dominant chord) ห้อง 11 - 12 เป็นคอร์ดหนึ่ง 
นิวออร์ลีนหรือดิกซีแลนด์ (NewOrleans-Dixieland)
     ในช่วงเวลาปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากดนตรีของอัฟริกา วงดนตรีแบบอเมริกันแรกไทม์ และบลูส์ดังกล่าวแล้ว ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมือง นิวออร์ลีน ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 1900 ถึง 1917 ดนตรีแจ๊สที่เมือง นิวออร์ลีนที่รู้จักในนามของ ดิกซีแลนด์ ลักษณะดนตรีแจ๊สแบบดิกซีแลนด์ประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 5-8 คน เครื่องดนตรีที่เล่นทำนอง ได้แก่ คอร์เน็ต หรือทรัมเป็ต โดยมีคลาริเนทและทรอมโบนเล่นประกอบในลักษณะของการสอดประสานทำนอง ในระยะต่อมามีการเพิ่มแซกโซโฟนเข้าไปในวงด้วย ส่วนเครื่องประกอบทำนองให้น่าสนใจได้แก่ กลองชุด เปียโน แบนโจ กีตาร์ หรือทูบา การบรรเลงใช้การอิมโพรไวเซชั่นโดยตลอด โดยทำแนวทำนองมาจากเพลงมาร์ช เพลงสวด แรกไทม์ หรือเพลงป๊อป นักดนตรีเด่น ๆ ของดนตรีแจ๊สแบบนี้ ได้แก่ "Jelly Roll" Morton, Joseph "King" Oliver และ Louis Armstrong เพลงเด่นเช่น Dippermouth Blues When the Saint Go Marching In เป็นต้น
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

 
การจัดวงแจ๊สแบบดิกซีแลนด์
ที่มา : Microsoft Music Instrument,1994

สวิง (Swing)
     สวิงเป็นแจ๊สที่พัฒนาในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 30 หรือประมาณ ค . ศ . 1920 เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง 1935-1945 ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นยุคสวิง คำว่าสวิงในที่นี้เป็นประเภทของดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีประเภททั้งฟังก็ได้ใช้ประกอบการเต้นก็ได้ ผสมผสานกันระหว่างความร้อนแรงกับความนุ่มนวลอ่อนหวานเป็นการนำเอาดนตรีที่มีพื้นฐานจากแจ๊สมาบวกเข้ากับดนตรีประเภท " ป๊อป "
      สวิงบรรเลงโดยวงขนาดใหญ่กว่าดิกซีแลนด์ เรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) กล่าวคือใช้ผู้บรรเลงประมาณ 14-20 คน แบ่งผู้บรรเลงออกเป็น 3 ส่วนคือ แซ็กโซโฟน และคลาริเนท ปกติแซกโซโฟนจะมีจำนวนมากกว่าคลาริเนท กลุ่มนี้มีผู้บรรเลงประมาณ 3-5 คน กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วยผู้บรรเลงทรัมเป็ตและทรอมโบนกลุ่มละ 3-4 คน และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ เปียโน กีตาร์ เบส และกลองชุด เนื่องจากมีผู้บรรเลงหลายคน การอิมโพรไวเซชั่นบางครั้งกระทำได้ยาก จึงมีวงดนตรีบางวงเขียนโน้ตให้นักดนตรีบรรเลงโดยตลอด ในขณะที่บางวงเว้นบางช่วงให้นักดนตรีอิมโพรไวเซชั่นได้บ้างมากน้อยตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง หรือหัวหน้าวงดนตรี ซึ่งมักเป็นนักดนตรีชั้นเยี่ยม
      การบรรเลงดนตรีสวิง มักเน้นที่แนวทำนองโดยใส่เสียงประสานให้ทำนองเด่นขึ้นมา ซึ่ง ผู้บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีทั้งกลุ่ม ส่วนเครื่องดนตรีเดี่ยวจะบรรเลงเป็นช่วง ๆ โดยบรรเลงตาม โน้ตหรือการอิมโพรไวเซชั่นลักษณะการบรรเลงประกอบทำนอง โดยเป็นแนวประสานซ้ำ ๆ กัน เป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะเด่นของสวิงซึ่งเรียกว่า ริฟฟส์ (Riffs) การประสานเสียงของสวิงมีกฎเกณฑ์ และหลากหลายมากกว่าแจ๊สในยุคแรก ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 :190)
นักดนตรีที่มีชื่อเสียงมักเป็นเจ้าของวงดนตรีด้วย ได้แก่ Duke Ellington, Count Basic, Glenn Miller, Jimmy Dorsey และ Benny Goodman ซึ่งได้รับสมญาว่า " ราชาเพลงสวิง " นักร้องที่มีชื่อเสียงเช่น Doris Day, Frank Sinata, Billy Holiday ,Ella Fitzgerald
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995


ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

บีบอบ (Be - bop)
     ในต้นทศวรรษ 1940 ดนตรีแจ๊ส ประเภทใหม่พัฒนาขึ้นมา คือ บีบอบ (Bebop) เป็น ดนตรีที่ต่อต้านดนตรีประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือ การค้าจนเกินไป และเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ ไม่ค่อยใช้การอิมโพรไวเซชั่น   

      บีบอบจึงเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะ ที่แปลก ๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงอย่างจริงจังมากกว่าการใช้เพลงเป็นการ ประกอบการเต้นรำ
บีบอบ อาจเป็นชื่อที่ได้มาจาก การร้องโน้ตสองตัวเร็ว ๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรค ว่า บีบอบ ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซกโซโฟนหรือทรัมเป็ต โดยมีกลุ่มให้จังหวะ คือเปียโน เบส กลองและ เครื่องตีอื่น ๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนอง หรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า " บอมบ์ " ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรก ๆ ที่ทำหน้าที่เป็น เพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงเพลงประเภท บีบอบมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่ เหลือในช่วงกลางทั้งหมด จะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่าง ๆ โดยการอิมโพรไวเซ ชั่นจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลง ที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ Charlie "Bird" Parker (Saxophone), Dizzy Gillespie (Trumpet), และ Thelonious Monk (piano)
 

 
การจัดวงดนตรีแจ๊สขนาดเล็ก
ที่มา : Microsoft The Attica Guide To Classical Music,1996

คลูแจ๊ส (Cool Jazz)
     ในช่วงปลายของทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 แจ๊สอีกประเภทหนึ่งพัฒนาตาม บีบอบขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้า ๆ กว่าบีบอบ คือ คูลแจ๊ส (Cool jazz) ท่วงทำนองจังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบ ๆ และเป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบอบ เป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนการบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซอนนี โรลลินส์ (Sonny Rollins), จอห์น โคลเทรน (John Coltrane), ไมลส์ เดวิส (Miles Davis), บีบี คิงส์ (B.B.King), เลสเตอร์ ยัง (lesterYoung), สแตน เกตซ์ (Stan Getz
 

 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

ฟรีแจ๊ส (Free Jazz)
     ในราวทศวรรษ 1960 รูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ ฟรีแจ๊ส โดยออร์เนตต์ โคลแมน (Ornett Coleman) นักเป่าอัลโตแซกโซโฟนผู้ไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาก่อน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือการมีทำนองหลักและบรรเลงโดยการอิมโพรไวเซชั่นจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี 8 คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น โคลแมน ยังคงใช้การอิมโพรไวเซชั่นของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น นอกจากโคลแมนแล้วยังมี John Cottrane ที่ยึดรูปแบบฟรีแจ๊ส

แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่น (Jazz Rock & Fusion)
     ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือแจ๊สร็อค หรือฟิวชั่น ลักษณะของฟิวชั่น คือ การผนวกการอิมโพรไวเซชั่นในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค รวมถึงการใช้เทคนิคการบันทึกเสียงด้วยสีสันของเสียงดนตรีต่าง ๆ ที่แปลกออกไปที่เราเรียกว่า " เอ็ฟเฟ็ค " (effect) เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่น จึงมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออิเลคโทรนิค ซึ่งใช้ระบบ มิดี้ (MIDI = Musical Instrument Digital Interface) โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ และบางครั้งมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ละตินอเมริกา อินเดีย หรือ ในประเทศไทยเองก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีไทยเข้าบรรเลงร่วมด้วย เช่น วงบอยไทย มีการนำระนาดเอกผสมในวง , อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็ได้มีการนำขลุ่ยไทยบรรเลงดนตรีลักษณะนี้เช่นกัน ลักษณะเฉพาะอีกสองประการของฟิวชั่น คือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบส และการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่ควรรู้จักเช่น เฮอร์บี แฮนนคอก (HerBie Hancock), ชิค โคเรีย (Chick Corea) เคนนี จี (Kenny G.), เดฟ โคซ (Dave Koz) , เดวิด แซนบอร์น (David Sanborn) โกรเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์ (Grover Washington,Jr) บอบ เจมส์ (Bob James)
 

 
การจัดวงดนตรีฟิวชั่นแจ๊ส
     โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่าง ๆ ดังรูป
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)
          วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท 
สีสัน (Tone color)
      ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง
      เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก
อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)
     ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส
      ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3

จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)
     ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น 
     การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตร
ี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
      ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลายเช่นกัน