ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้เรื่อง โขน


 โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้องโขน (อังกฤษKhon) เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทองประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสี คือสีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ
ความหมายของโขน
                 โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ของตนเอง คำว่า "โขน" ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระ เพื่อนพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" คำว่า "โขน" มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
  1. โขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งมีคำว่า "โขละ หรือโขล" ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนัง ชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้ายมฤทังคะ (ตะโพน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้นแบงกอลนิยมใช้ประกอบการ เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ยาตรา" ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทยแล้วนำมาใช้ประกอบการ เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดงชุดนั้นว่า "โขล" ตามชื่อเครื่องดนตรี
  2. โขนในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
  3. โขนในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่าตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า "ควาน" หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้าย ๆ กับผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน
  4. โขนในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า "ละคร" แต่เขียนเป็นอักษรว่า "ละโขน" ซึ่งหมายถึงมหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่าง ๆ กับมีคำว่า "โขล" อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า "โขล ละคอนชายเล่นเรื่องรามเกียรติ์"
             หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน
              จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้กันในยุคสมัยนี้ก็จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า "โขนเรือ" เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) หรือส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวง ที่งอนขึ้นก็เรียกว่า "โขน"
เรื่องที่ใช้แสดงโขน
               เรื่องที่ใช้แสดงโขนที่รู้จักกันแพร่หลายคือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีทั้งหมดหลายสำนวนด้วยกัน ต้นกำเนิดของเรื่องรามเกียรติ์นี้คือมหากาพย์รามายณะของประเทศอินเดีย แต่งโดยพระฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งชาวอินเดียสมัยโบราณเชื่อว่าถ้าได้ฟังหรืออ่านเรื่องนี้ก็สามารถล้างบาปได้
            รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อคอยปราบอสูร สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ผู้ซึ่งเป็นพญายักษ์นั้น เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพาตัวนางสีดามเหสีของพระรามมาเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์จึงออกติดตาม ได้พญาวานรสุครีพและมหาชมพูมาเป็นบริวาร รวมถึงหนุมานเป็นทหารเอก เพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ
รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอน ๆ เพื่อใช้ในการแสดงต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ต่างกันดังนี้
  1. บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่
    1. รามเกียรติ์คำฉันท์
    2. รามเกียรติ์คำพากย์
    3. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า
  2. บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
  3. บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่
    1. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1
    2. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2
    3. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 4
    4. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 6
ลักษณะบทโขน
  1. บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
  2. บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
    1. พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา
    2. พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย
    3. พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
    4. พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำเนาไพร ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมดา
    5. พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำนานรัตนธนู
    6. พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร
  3. บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
             คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า 2 คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ

วิวัฒนาการของโขน
               การแสดงโขนในขั้นแรกน่าจะแสดงกลางสนามกว้าง ๆ เหมือนกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต่อมาการแสดงก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการปลูกโรงไว้ใช้แสดง จนมีฉากประกอบตามท้องเรื่อง จากนั้นโขนก็มีการวิวัฒนาการดัดแปลงการเล่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เราจึงเรียกแยกประเภทของโขนตามลักษณะการแสดงนั้น ๆ โขนจึงเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภชเช่น ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และแสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิงในโอกาสทั่ว ๆ ไป นิยมแสดงเพียง 3 ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนหน้าจอและโขนฉาก สำหรับโขนนั่งราวหรือโขนโรงนอกไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง ใช้ราวไม้กระบอกแทนเตียงสำหรับนั่ง และโขนโรงในซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มีองค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการพัฒนาเป็นลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่

โขนนั่งราว

การแสดงโขนนั่งราว
โขนนั่งราวหรือเรียกอีกอย่างว่าโขนโรงนอก วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงบนโรงที่ปลูกสร้างขึ้นสำหรับแสดง ตัวโรงมักมีหลังคาคุ้มกันแสงแดดและสายฝน ไม่มีเตียงสำหรับผู้แสดงนั่ง มีเพียงราวทำจากไม้ไผ่วางพาดตามส่วนยาวของโรงเท่านั้น มีช่องให้ผู้แสดงในบทของตัวพระหรือตัวยักษ์ที่มีตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ สามารถเดินวนได้รอบราวซึ่งสมมุติเป็นเตียง มีการพากย์และเจรจา ไม่มีบทขับร้อง วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์สำหรับบรรเลงสองวง เนื่องจากต้องบรรเลงเป็นจำนวนมาก โดยปี่พาทย์ตัวแรกตั้งบริเวณหัวโรง ตัวที่สองตั้งบริเวณท้ายโรง และเป็นที่มาของการเรียกว่าวงหัวและวงท้ายหรือวงซ้ายและวงขวา ในส่วนผู้แสดงที่รับบทเป็นเสนายักษ์ เขนยักษ์ เสนาลิงหรือเขนลิง คงนั่งพื้นแสดงตามปกติ

โขนกลางแปลง

โขนกลางแปลงเป็นการเล่นโขนกลางแจ้ง ไม่มีการสร้างโรงแสดง ใช้ภูมิประเทศและธรรมชาติเป็นฉากในการแสดง ผู้แสดงทั้งหมดรวมทั้งตัวพระต้องสวมหัวโขน นิยมแสดงตอนยกทัพรบ วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เรื่องกวนน้ำอมฤต ที่ใช้เล่นในพิธีอินทราภิเษก ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพและการเต้นประกอบหน้าพาทย์มาใช้ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์แทน มีการเต้นประกอบหน้าพาทย์และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้าง แต่ไม่มีบทร้อง
เมื่อ พ.ศ. 2339 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีการเล่นโขนในงานฉลองอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช โดยโขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ และโขนวังหลังเป็นทัพพระราม แลัวยกทัพมาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ดังความในพระราชพงศาวดารว่า "ในการมหรสพสมโภชพระบรมอัฐิครั้งนั้น มีโขนชักรอกโรงใหญ่ ทั้งโขนวังหลวงและวังหน้า แล้วประสมโรงเล่นกันกลางแปลง เล่นเมื่อศึกทศกัณฐ์ยกทัพกับสิบขุนสิบรถ โขนวังหลังเป็นทัพพระราม ยกไปแต่ทางพระบรมมหาราชวัง โขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ ยกออกจากพระราชวังบวรฯ มาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ถึงมีปืนบาเหรี่ยมรางเกวียนลากออกมายิงกันดังสนั่นไป"
ซึ่งการแสดงโขนในครั้งนั้น เกิดการรบกันจริงระหว่างผู้แสดงทั้งสองฝ่าย จนเกิดการบาดหมางระหว่างวังหน้าและวังหลัง ทำให้เป็นข้อสันนิษฐานว่าเหตุใดการแสดงโขนกลางแปลง จึงนิยมแสดงตอนยกทัพรบและการรบบนพื้น[15] มีเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม่ต่ำกว่าสองวงในการบรรเลง

โขนหน้าจอ





ารเชิดหนังใหญ่ในการแสดงโขนหน้าจอ
โขนหน้าจอเป็นโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับแสดงหนังใหญ่หรือหนังตะลุง โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดงสลับกับการเชิดตัวหนัง เรียกว่าหนังติดตัวโขน ซึ่งในการเล่นหนังใหญ่ จะมีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาวแบบจอหนังใหญ่ ยาว 7 วา 2 ศอก ริมขอบจอใช้ผ้าแดงและสีน้ำเงินเย็บติดกัน ใช้เสาจำนวน 4 ต้น สำหรับขึงจอ ปลายเสาประดับด้วยหางนกยูงหรือธงแดง มีศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา ใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของตัวหนัง
นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ภายหลังยกเลิกการแสดงหนังใหญ่คงเหลือเฉพาะโขน โดยคงจอหนังไว้พอเป็นพิธี เนื่องจากผู้ดูนิยมการแสดงที่ใช้คนแสดงจริงมากกว่าตัวหนัง จึงเป็นที่มาของการเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังว่าโขนหน้าจอ มีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขน ให้มีช่องประตูสำหรับเข้าออก โดยวาดเป็นซุ้มประตูเรียกว่าจอแขวะ โดยที่ประตูทางด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ส่วนประตูด้านขวาวาดเป็นกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ต่อมาภายหลังจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้นเพื่อกันคนดูไม่ให้เกะกะตัวแสดงเวลาแสดงโขน สำหรับโขนหน้าจอ กรมศิลปกรเคยจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมในงานฉลองวันสหประชาชาติที่สนามเสือป่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2491

โขนโรงใน

โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 รวมทั้งมีราชกวีภายในราชสำนัก ช่วยปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความไพเราะ สละสลวยมากยิ่งขึ้น โดยนำท่ารำท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เป็นการปรับปรุงวิวัฒนาการของโขน ในการแสดงโขนโรงใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง มีการพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน นำเพลงขับร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร และเปลี่ยนมาแสดงภายในโรงแบบละครในจึงเรียกว่าโขนโรงใน มีปี่พาทย์บรรเลงสองวง ปัจจุบันโขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงนั้น ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในซึ่งเป็นการแสดงระหว่างโขนกลางแปลงและโขนหน้าจอ

โขนฉาก

โขนฉากเป็นการแสดงโขนที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการจัดฉากในการแสดงแบบละครดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่จึงเรียกว่าโขนฉาก ปัจจุบันการแสดงโขนของกรมศิลปากร นอกจากจะแสดงโขนโรงในแล้ว ยังจัดแสดงโขนฉากควบคู่กันอีกด้วยเช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดงและชุดพระรามครองเมือง
นอกจากประเภทของโขนต่าง ๆ ทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังมีการแสดงโขนสดที่ทางกรมศิลปากรไม่จัดให้รวมอยู่ในประเภทของโขน โขนสดเป็นการแสดงที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม ที่ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้มีความเรียบง่าย มีการปรับเปลี่ยนลดท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์และการเจรจา เป็นการแสดงที่เกิดจากผสมผสานการแสดง 3 ชนิดคือ โขน หนังตะลุงและลิเก ไม่มีการพากย์เสียงและเจรจา โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดบทเจรจาเอง สวมหัวโขนบนศีรษะแต่ไม่คลุมหน้า[21] ซึ่งการแสดงโขน มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบและวิธีการแสดงของโขนได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย แต่คงรูปแบบและเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงเอาไว้

โขนในพระราชสำนัก

ในสมัยโบราณข้าราชการ มหาดเล็กที่รับราชการในสำนักพระราชวัง มักได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ฝึกหัดการแสดงโขน เนื่องจากโขนเป็นการเล่นของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ใช้สำหรับแสดงในงานพระราชพิธีเท่านั้น ทำให้ต้องมีการคัดเลือกผู้แสดงที่มีความฉลาดเฉลียว สามารถฝึกหัดท่ารำต่าง ๆ ให้เข้าใจได้โดยง่าย แต่เดิมใช้ผู้ชายล้วนในการแสดงทั้งตัวพระและตัวนาง ถือเป็นความภาคภูมิใจต่อผู้ที่ได้ถูกรับเลือกเนื่องจากโขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผู้แสดงโขนในพระราชสำนัก จะต้องเป็นพวกมหาดเล็ก ข้าราชการหรือบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสนาอำมาตย์และผู้ว่าราชการเมือง ได้ฝึกหัดโขนเพื่อเป็นการประดับเกียรติยศแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล และทรงโปรดให้หัดไว้เฉพาะแต่เพียงผู้ชายตามประเพณีดั้งเดิม ทำให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากต่างหัดโขนไว้หลายคณะเช่น โขนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โขนของกรมพิพิธฯ เป็นต้น และมีการประกวดแข่งขันประชันฝีมือ รวมทั้งได้มีการฝึกหัดโขนให้พวกลูกทาสและผู้ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ ตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณอีกด้วย ทำให้โขนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ต่อมาภายหลังการแสดงโขนเริ่มถูกมองว่าเป็นการแสดงที่ไม่สมฐานะ เนื่องจากแต่เดิมโขนเป็นการแสดงที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ทำให้ถูกมองไปในทางที่ไม่ดี ประกอบกับมีการนำโขนไปรับจ้างแสดงในงานต่าง ๆ เช่นงานศพหรืองานที่ไม่มีเกียรติเพียงเพื่อหวังค่าตอบแทน โดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศของการแสดงศิลปะชั้นสูงที่ได้รับความนิยมยกย่อง ทำให้ความนิยมในโขนเริ่มเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง ข้าราชการเสนาอำมาตย์มีละครหญิงที่แต่เดิมมีเฉพาะพระมหากษัตรยิ์ได้ ดังพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน" ทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวง ต่อการแสดงโขนในพระราชสำนักของเจ้านายชั้นสูงและขุนนางชั้นผู้ใหญ่

คำพากย์ 
คำพากย์ เป็นบทกวีประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง ไม่ว่าจะพากย์ชนิดใด เมื่อพากย์จบไปบทหนึ่งตะโพนก็จะตีท้า และกลองทัดตีต่อ จากตะโพน 2 ที แล้วพวกคนแสดงภายในโรงก็ร้องรับด้วยคำว่า "เพ้ย" พร้อมๆ กัน
วิธีพากย์ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภทคือ
1. พากย์เมือง (หรือพากย์พลับพลา) ใช้พากย์เวลาตัวเอกหรือผู้แสดงออกทองพระโรงหรือออกพลับพลา เช่น ทศกัณฐ์ หรือ พระราม ประทับในปราสาท หรือในพลับพลา เช่น
 " ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภาพุ่งพ้นเวหา
 คิรียอดยุคันธร 
 สมเด็จพระหริวงศ์ทรงศรฤทธิ์เลื่องลือขจร
 สะท้อนทั้งไตรโลกา 
 เสด็จออกนั่งหน้าพลับพลาพร้อมด้วยเสนา
 ศิโรดมก้มกราบกราน 
 พิเภกสุครีพหนุมานนอบน้อมทูลสาร
 สดับคดีโดยถวิล " 
2. พากย์รถ (หรือ ช้าง ม้า ตามแต่จะใช้สิ่งใดเป็นพาหนะ) ใช้ในเวลาทรงพาหนะที่ขี่ไป ตลอดจนการชมไพร่พลด้วย เช่น
 " เสด็จทรงรถเพชรเพชรพรายพรายแสงแสงฉาย
 จำรูญจำรัสรัศมี 
 อำไพไพโรจน์รูจีสีหราชราชสีห์
 ชักราชรถรถทรง 
 ดุมหันหันเหียนเวียนวงกึกก้องก้องดง
 สะเทื้อนทั้งไพรไพรวัน 
 ยักษาสารถีโลทันเหยียบยืนยืนยัน
 ก่งศรจะแผลงแผลงผลาญ " 
  ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
3. พากย์โอ้ ทำนองตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายกลายเป็นทำนองร้อง เพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ ใช้เวลาโศกเศร้ารำพัน เช่น
 " อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้ มาบรรลัยอยู่เอองค์พี่จะได้สิ่งใดปลง พระศพน้องในหิมวา
 จะเชิญศพพระเยาเรศ เข้ายังนิเวศน์อยุธยาทั้งพระญาติวงศา จะพิโรธพิไรเรียม
 ว่าพี่พามาเสียชนม์ ในกมลให้ตรมเกรียมจะเกลี่ยทรายขึ้นทำเทียม ต่างแท่นทิพบรรทม
 จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศ เอาพระโอษฐ์มาระงมต่างเสียงพระสนม อันร่ำร้องประจำเวร "
  ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
การพากย์โอ้มีความแตกต่างกับการพากย์แบบอื่น เนื่องจากจะมีดนตรีรับก่อนที่ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “เพ้ย”
   
4. พากย์ชมดง ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายจึงกลายเป็นทำนองพากย์ธรรมดาสำหรับใช้ในเวลา ชมป่าเขาลำเนาไม้ต่างๆ เช่น
 " เค้าโมงจับโมงมองเมียง คู่เค้าโมงเคียงเคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง
 ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยง ค่อยยุดฉุดโชลงโลดไล่ในกลางลางลิง
 ชิงชันนกชิงกันสิง รังใครใครชิงชิงกันจับต้นชิงชัน
 นกยูงจับพยูงยืนยัน แผ่หางเหียนหันหันเหยียบเลียบไต่ไม้พยูง "
  ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
   
5. พากย์บรรยาย (หรือรำพัน) ใช้เวลาบรรยายความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ พากย์พึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยาย ตำนานรัตนธนูว่า
 " เดิมทีธนูรัตน วรฤทธิเกรียงไกรองค์วิศะกรรมไซร้ ประดิษฐะสองถวาย
 คันหนึ่งพระวิษณุ สุรราชะนารายน์คันหนึ่งทำนูลถวาย ศิวะเทวะเทวัน
 ครั้นเมื่อมุนีทัก- ษะประชาบดีนั้นกอบกิจจะกายัญ- ญะพลีสุเทวา
 ไม่เชิญมหาเทพ ธก็แสนจะโกรธากุมแสดงธนูคลา ณ พิธีพลีกรณ์ "
   
6. พากย์เบ็ดเตล็ด สำหรับใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป อันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่น
 " ภูวกวักเรียกหนุมานมา ตรัสสั่งกิจจาให้แจ้งประจักษ์ใจจง
 แล้วถอดจักรรัตน์ธำรงค์ กับผ้าร้อยองค์ยุพินทรให้นำไป
 ผิวนางยังแหนงน้ำใจ จงแนะความในมิถิลราชพารา
 อันปรากฏจริงใจมา เมื่อตาต่อตาประจวบบนบัญชรไชย "


การฝึกหัดโขน ตัวละครของการแสดงโขนที่จะใช้ในการฝึกหัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
ตัวพระ : รูปร่างหน้าตาสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหง ไหล่ลาดพองาม ช่วงอกใหญ่สะเอวเล็ก ตะโพกพาย ช่วงแขนและช่วงขาสมส่วน
ตัวนาง : รูปร่างหน้าตาสวย จมูกรับกับใบหน้า ร่างเล็ก ช่วงแขนและขาไม่ยาวมาก ลำตัวเรียว สะเอวเล็ก ตะโพกพาย
ตัวยักษ์ : รูปร่างใหญ่ ลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่สู้ดูหน้าตา ท่าทางแข่งแรงกำยำ
ตัวลิง : รูปร่างป้อมๆ ไม่สูงมากนัก ท่าทางหลุกหลิก คล่องแคล่ว ไม่สู้ดูหน้าตา
สำหรับผู้หญิงที่จะฝึกหัดเป็นตัวพระ - ตัวนางนั้น ก็จะฝึกหัดตั้งแต่การนั่งโดยนั่งพับเพียบ ตึงเอว ตึงไหล่ ดัดปลายนิ้ว หากเป็นตัวพระจะนั่งพับเพียบแบะเข่าออก ตัวนางจะนั่งพับเพียบหนีบหน้าขาเข้าซ้อนทับลดหลั่นกัน หลังจากนั้นจะมีการดัดร่างกาย แขนขาในท่าต่างๆ เช่น ดัดมือ ดัดข้อมือ ดัดแขน ดัดหลัง นั่งกระดกเท้า ยกเท้า ฯลฯ เมื่อร่างกายพร้อมแล้วก็จะให้ฝึกหัดท่องจังหวะและฝึกรำหน้าทับเพลงช้าและเพลงเร็ว หลังจากนั้นก็จะฝึกหักรำแม่บทต่อไป
สำหรับผู้ชายนั้นจะแบ่งเป็นตัวพระ ตัวยักษ์ และตัวลิง มีการฝึกหัดแยกออกไปเรียกว่าฝึกหัดโขน โดยในระยะแรกจะฝึกร่วมกันได้คือฝึกตบเข่า ถองสะเอวและเต้นเสา
วิธีฝึกหัดเบื้องต้น
ตบเข่า การฝึกตบเข่านี้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักจังหวะอันเป็นหลักสำคัญในการฝึกนาฎศิลป์ไทย (ดังรูป)
ถองสะเอว การฝึกถองสะเอวนี้จะทำให้ผู้เรียนรู้ยักเยื้องลำตัว ยักคอและไหล่ตลอดจนใบหน้าได้อย่างคล่องแคล่ว (ดังรูป)
เต้นเสา การฝึกเต้นเสานี้จะฝึกให้ผู้เรียนมีกำลังขาคงที่ และฝึกโดยใช้เท้ากระทืบให้หนักแน่น ฝึกจังหวะเต้น ให้สม่ำเสมอกันอันเป็น ลีลาสำคัญในการแสดงโขน (ดังรูป)
ถีบเหลี่ยม เป็นการคัดส่วนขาให้ได้เหลี่ยมสามารถตั้งเหลี่ยมได้ฉากและมั่นคง การถีบเหลี่ยมนี้ทำให้ผู้เรียนเมื่อย่อเหลี่ยมแล้ว มีทรวดทรงดีสวยงาม (ดังรูป)
ตบเข่า

ถองสะเอว
เต้นเสา
ถีบเหลี่ยม
*ธนิต อยู่โพธิ์. โขน กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2511. (หน้า 112)
วิธีหัดลิงโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ผู้ฝึกหัวตัวลิงยังจะต้องฝึกท่าทางเบื้องต้นเฉพาะหรือจะเรียกว่ากายกรรมก็ได้ เช่น การหกคะเมน ตีลังกา ม้วนหน้า ม้วนหลัง พุ่งม้วนสามตัว ตีลังกาหลัง ตีลังกาหน้า เพื่อให้มีลีลา คล่องแคล่ว ว่องไว โลดเป็นอีกด้วย
ฉีกขา ฝึกสำหรับตัวลิงโดยเฉพาะการฉีกขานี้เพื่อให้ผู้เรียนย่อเหลี่ยมได้สวยงามในขณะที่ หกคะเมนหรือตีลังกาก็จะทำให้เท้านั้นกางออกเหยียดตึงดูสวยงาม (ดังรูป)
ฉีกขา

หกคะเมน
*ธนิต อยู่โพธิ์. โขน กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2511. (หน้า 116)


การแต่งกายของโขน
เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการประกอบการแสดงโขน แต่งกายแบบยืนเครื่อง พระ นาง ยักษ์ ลิง นอกจากตัวละครอื่นๆ จะแต่งกายตามลักษณะนั้นๆ เช่น ฤาษี กา ช้าง ควาย ฯลฯ นอกจากนี้ผู้แสดงโขนจะต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า "หัวโขน" ซึ่งศิลปินไทยได้กำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นแบบแผน และกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร เช่น พระรามสีกายเขียว พระลักษณ์สีกายเหลือง ทศกัณฐ์สีกายเขียว เป็นต้น
เครื่องแต่งกายของโขนนั้น ได้เลียนแบบอย่างเครื่องแต่งกายของพระมหากษัตริย์ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ศิราภรณ์ คือเครื่องประดับศรีษะ เช่น ชฎา มงกุฎ ปั้นจุเหร็จ หรือแม้นกระทั้งหัวโขนก็จัดเป็นเครื่องศิราภรณ์ด้วยเช่นกัน
2. ภูษาภรณ์ คือ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เช่น ฉลององค์(เสื้อ) สนับเพลา(กางเกง) ห้อยหน้า(ชายไหว) ห้อยข้าง(ชายแครง) พระภูษา(ผ้านุ่ง) รัดเอว ผ้าทิพย์ เจียระบาด สะไบเป็นต้น
3. ถนิมพิมพาภรณ์ คือ เครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ปั้นเหน่ง(เข็มขัด) สังวาล ตาบหน้า ตาบทิศ ตาบหลัง อินทรธนู ธำมรงค์ แหวนรอบ ปะวะหล่ำ ทองกร กรองคอ สะอิ้ง พาหุรัด กำไลเท้า เป็นต้น

สำหรับการแต่งกายของโขนแต่ละตัวมี ดังนี้
1. ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา ไว้ข้างใน นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้า เป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
2. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
3. ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือ ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอว ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด
4. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด

เครื่องแต่งกายตัวพระ


เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
 
 
 
1. กำไลเท้า13. พาหุรัด
2. สนับเพลา14. สังวาล
3. ผ้านุ่ง หรือ พระภูษา15. ตาบทิศ
4. ห้อยข้าง หรือ เจียระบาด หรือ ชายแครง16. ชฎา
5. เสื้อ ในวรรณคดีเรียกว่า ฉลององค์17. ดอกไม้เพชร (ซ้าย)
6. รัดสะเอว หรือ รัดองค์ หรือ รัดพัสตร์18. จอนหู ในวรรณคดีเรียกว่า กรรเจียก หรือ กรรเจียกจร
7. ห้อยหน้า หรือ ชายไหว19. ดอกไม้ทัด (ขวา)
8. สุวรรณกระถอบ20. อุบะ หรือ พวงดอกไม้ (ขวา)
9. เข็มขัด หรือ ปั้นเหน่ง21. ธำมรงค์
10. กรองคอ หรือ นวมคอ ในวรรณคดี เรียกว่า กรองศอ22. แหวนรอบ
11. ตาบหน้าหรือตาบทับ ในวรรณคดีเรียกว่า ทับทรวง23. ปะวะหล่ำ
12. อินทรธนู24. กำไลแผง ในวรรณคดีเรียกว่า ทองกร
หมายเหตุ : บางครั้งไม่จำเป็นต้องแต่งครบทุกชิ้นตาม
นี้ก็ได้
ซ้ายของภาพ แสดงเสื้อแขนยาว มีอินทรธนู
ขวาของภาพ แสดงเสื้อแขนสั้น ไม่มีอินทรธนู


เครื่องแต่งกายตัวนาง

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
 
  
1. กำไลเท้า10. แหวนรอบ
2. เสื้อในนาง11. ปะวะหล่ำ
3. ผ้านุ่ง หรือ พระภูษา12. กำไลตะขาบ
4. เข็มขัด13. กำไลสวม ในวรรณคดี เรียกว่า ทองกร
5. สะอิ้ง14. ธำมรงค์
6. ผ้าห่มนาง15. มงกุฎ
7. นวมนาง ในวรรณคดีเรียกว่า กรองศอ หรือ สร้อยนวม16. จอนหู ในวรรณคดีเรียกว่า กรรเจียก หรือ กรรเจียกจร
8. จี้นาง หรือ ตาบทับ ในวรรณคดีเรียกว่า ทับทรวง17. ดอกไม้ทัด (ซ้าย)
9. พาหุรัด18. อุบะ หรือ พวงดอกไม้ (ซ้าย)
หมายเหตุ : บางครั้งไม่จำเป็นต้องแต่งครบทุกชิ้นตามนี้ก็ได้ 
เครื่องแต่งกายตัวยักษ์



เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
ของ ทศกัณฐ์ พญายักษ์ตัวสำคัญที่สุด ในเรื่องโขน
 
1. กำไลเท้า12. กรองคอ หรือ นวมคอ ในวรรณคดีเรียกว่า กรองศอ
2. สนับเพลา13. ทับทรวง
3. ผ้านุ่ง หรือ พระภูษา14. สังวาล
4. ห้อยข้าง หรือ เจียระบาด หรือ ชายแครง15. ตาบทิศ
5. ผ้าปิดก้น หรือ ห้อยก้น อยู่เบื้องหลัง16. แหวนรอบ
6. เสื้อ ในวรรณคดี เรียกว่า ฉลององค์ หรือ สมมติเป็นเกราะ17. ปะวะหล่ำ
7. รัดสะเอว หรือ รัดองค์ หรือ รัดพัสตร์18. กำไลแผง ในวรรณคดี เรียกว่า ทองกร
8. ห้อยหน้า หรือ ชายไหว19. พวงประคำคอ
9. เข็มขัด หรือ ปั้นเหน่ง20. หัวโขน ในภาพนี้เป็นหัวทศกัณฐ์
10. รัดอก หรือ รัดองค์ ในพระตำราทรงเครื่องต้น เรียกว่า รัดพระอุระ21. ธำมรงค์
11. อินทรธนู22. คันศร
หมายเหตุ : - บางครั้ง ไม่จำเป็นต้องแต่งครบทุกชิ้นตามนี้ก็ได้ 
บรรดาพญายักษ์ ตัวสำคัญอื่นๆ ในเรื่องโขนก็คงแต่งกายคล้ายกันนี้ ต่างกันแต่สีและลักษณะของหัวโขน ซึ่งนายช่างได้บัญญัติและประดิษฐ์ทำให้แปลกแตกต่างกันโดยเฉพาะในบรรดาหัวยักษ์ มีอยู่ราวร้อยชนิดแต่บางคราวและบางตัวที่มีความสำคัญน้อย ก็ไม่ต้องแต่งครบทุกอย่างตามนี้

เครื่องแต่งกายตัวลิง

 
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
ของ หนุมาน
 
1. กำไลเท้า11. กรองคอ หรือ นวมคอ
2. สนับเพลา12. ทับทรวง
3. ผ้านุ่ง หรือ พระภูษา13. สังวาล
4. ห้อยข้าง หรือ เจียระบาด หรือ ชายแครง14. ตาบทิศ
5. หางลิง15. พาหุรัด ตามปรกติเย็บติดไว้กับเสื้อ ซึ่งสมมติเป็นขน ตามตัวลิง
6. ผ้าปิดก้น หรือ ห้อยก้น16. แหวนรอบ
7. เสื้อ แต่ในที่นี้สมมติเป็นขนตามตัวของลิง17. ปะวะหล่ำ
8. รัดสะเอว18. กำไลแผง หรือ ทองกร
9. ห้อยหน้า หรือ ชายไหว19. หัวโขน ในภาพนี้เป็นหัวหนุมาน
10. เข็มขัด หรือ ปั้นเหน่ง20. ตรี (ตรีเพชร หรือ ตรีศูล)
หมายเหตุ : - บางครั้ง ไม่จำเป็นต้องแต่งครบทุกชิ้นตามนี้ก็ได้


ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน
ในการแสดงโขนนั้นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ต้องใช้วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็น ดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นมหรสพไทยหลายประเภท เช่น หนังใหญ่ หุ่น ละคร เป็นต้น ซึ่งขนาดของวงก็แล้วแต่ อาจจะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ คำว่า "ปี่พาทย์" (หรือ “พิณพาทย์”) หมายถึง เครื่องประโคมอย่างหนักอันมีเครื่องตีและเครื่อง เป่า คือ ปี่ - ฆ้อง - กลอง เป็นหลัก (ไม่มีเครื่องสาย) ที่เรียกว่าปี่พาทย์เพราะใช้ปี่เป็น ตัวนำวง (สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2532 : 118)
ลักษณะวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
1. ระนาดเอก
2. ฆ้องวงใหญ่
3. ตะโพน
4. กลองทัด
5. ปี่ใน
6. ฉิ่ง
นอกจากนี้อาจจะมีเครื่องประกอบจังหวะเพิ่มเติมอีกเช่น กรับและโกร่ง หากในการแสดงงานพระราชพิธีหรืองานใหญ่ที่ใช้คนจำนวนมากอาจขยายเป็นวงปี่พาทย์ เครื่องคู่ หรือปี่พาทย์เครื่องใหญ่ก็ได
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขน 
เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอาการและบทบาทต่าง ๆ ของโขน
เพลงเข้าม่านใช้ประกอบการเดินเข้าฉากในระยะใกล้ๆ ของตัวเอก
เพลงเสมอใช้ประกอบการไปมาในระยะใกล้ๆ
เพลงเชิดใช้ประกอบการไป มาในระยะไกล ๆ และใช้ในการต่อสู้
เพลงตระนิมิตรใช้ประกอบการแปลงกายของตัวหุ่นที่เป็นตัวเอก ๆ
เพลงชุบใช้ประกอบการเดินของนางกำนัล เช่น เมื่อนางยี่สูนใช้นางกำนัลให้ไปตามพราหมณ์ ปี่พาทย์ก็ทำเพลงชุบ
เพลงโลมใช้ประกอบการโลมเล้าเกี้ยวพาระหว่างตัวแสดงที่เป็นตัวเอก มักต่อด้วยเพลงตระนอน
เพลงตระนอนใช้สำหรับตัวเอกเมื่อจะเข้านอน โดยมาบรรเลงต่อจากเพลงโลม
เพลงโอดใช้ประกอบการเศร้าโศกเสียใจ
เพลงโล้ใช้ประกอบการเดินทางทางน้ำ เช่น พระอภัยมณีโดยสารเรือสำเภาหรือเกาะหลังเงือกว่ายน้ำหนีผีเสื้อ
เชิดฉิ่งใช้ประกอบการเดินทาง การเหาะ เช่น เบญจกายเหาะมายังเขาเหมติรัน
เชิดกลองใช้บรรเลงต่อจากเพลงเชิดฉิ่ง
เพลงรัวต่างๆใช้ประกอบการแผลงอิทธิฤทธิ์ หรือแปลงตัวอย่างรวบรัด
เพลงกราวนอกใช้ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายมนุษย์
เพลงกราวในใช้ประกอบการยกทัพตรวจพลของกระบวนทัพฝ่ายยักษ์
 ลักษณะคุณค่าของตัวละคร

ประเภทตัวพระ
1. พระราม คือ พระนารายณ์อวตารมาเป็นโอรสองค์ใหญ่ของท้าวทศรถและนางเกาสุริยาหน้าที่โดยกำเนิดของพระรามคือ ลงมาปราบอธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทศกัณฐ์ พระรามมีกาย สีเขียว
บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของพระราม
ในฐานะศิษย์ ได้ให้ความเคารพต่อฤาษีวสิทธิ์และสรามิตร ปรนนิบัติผู้เป็นอาจารย์ อย่างดีมีความกตัญญูรู้คุณ ดังคำประพันธ์ที่ว่า
" กราบลงแล้วกล่าววาจาอันฤณพระมหาดาบส
ใหญ่ยิ่งพระเมรุบรรพตจะกำหนดที่ประทันประมานใจ
ที่ไตรโลกาเอามาเพียบจะเปรียบหนักเสมอก็ไม่ได้
จะขอสนองคุณพระองค์ไปกว่าชีวาลัยจะมรณา "
ในฐานะลูก การที่พระรามยอมถูกเณรเทศสิบสี่ปีเพราะมีความรักและกตัญญูต่อบิดา ไม่ต้องให้บิดาเสีย สัตย์ที่ให้ไว้แก่นางไกยเกษี มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นลูกที่ดี คือเคารพเชื่อ ฟังบิดาโดยไม่ได้ แย้ง มีความรักและกตัญญูต่อผู้เป็นมารดาเสมอกันหมดไม่ว่าจะเป็นมารดาบังเกิดเกล้าหรือมารดาเลี้ยง
ในฐานะพี่ ไม่มีความอิจฉาริษยาน้อง มีความยินดีที่น้องได้ดี มีของวิเศษหรือของมีค่าที่ตนพึงได้ ก็เสีย สละให้น้องก่อน แสดงถึงความรักและเมตตาพี่ที่มีต่อน้องอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยมีถ้อยคำที่ แสดงความโกรธหรือข่มขู่น้องแบบทศกัณฐ์เลย
ในฐานะคนรักและสามี เป็นคนที่รักหญิงผู้เป็นภรรยามาก ไม่เคยไปรักหญิงอื่นใดเลย ในหัวใจของ พระรามมีแต่นางสีดานางเดียวเสมอ นับเป็นพฤติกรรมหายากมากในวรรณคดีไทยซึ่งพระเอกมักจะ มีนิสัยเจ้าชู้
ในฐานะกษัตริย์ มีความเมตตากรุณาต่อไพร่ฟ้าอาณาประชาราษณ์ เป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีใครทำความดี ความชอบจะให้รางวัล และหากใครทำผิดก็จะพิจารณาโทษ มีความหนักแน่นรอบคอบมีสติ ไม่หูเบาเชื่อ เรื่องอะไรง่ายๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเจ้านายที่จะปกครองคนและบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองได้
พระรามจักเป็นพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่ดี ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย และมีใจหนักแน่น รักเดียวใจ เดียวและมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
  
2. พระลักษณ์ คือ สังข์และบัลลังค์นาคของพระนารายณ์ อวตารมาเกิดเป็นโอรสท้าวทศรา และพระนางสมุทรชา มีน้องร่วมท้องชื่อพระสัตรุค พระลักษณ์ จงรักภัคดีต่อพระรามมาก เพราะเป็นเครื่องใช้คู่พระทัยในชาติก่อน พระลักษณ์มีกายสีเหลือง
บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของพระลักษณ์
ในฐานะน้อง มีความจงรักภักดีต่อพระรามผู้เป็นพี่อย่างไม่มีใครเสมอเหมือน เสียสละให้พี่ยอมลำบาก กับพี่โดยปรนนิบัติรับใช้พระรามขณะเดินป่าเป็นเวลา 14 ปีมีภัยอันตรายก็คอยปกป้องพระรามด้วยชีวิต
ในฐานะนักรบ เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดี ในการรบหรือการแก้ปัญหา เป็นนักรบที่ ไม่เกรงกลัวความ ตายอาสาออกรบด้วยความยินดีทุกครั้ง
ในฐานะน้องสามี ให้การเคารพนับถือนางสีดาผู้เป็นพี่สะใภ้ประหนึ่งมารดาของตน เคารพเชื่อฟังรับใช้ อย่างไม่รังเกียจ
พระลักษณ์เป็นน้องในอุดมคติ มีพฤติกรรมดีงามในฐานะน้องและน้องสามีอย่างไม่มีใครเหมือน และในฐานะอื่นๆ พระลักษณ์ก็มีพฤติกรรมที่ดีเด่นคือ เป็นนักรบที่เก่งกล้า ช่วยพระรามปราบอธรรม อย่างไม่ย่อท้อ
 
ประเภทตัวนาง
1. นางสีดา คือ พระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวร เป็นธิดาของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของนางสีดา
ในฐานะลูกและลูกสะใภ้ นางสีดาไม่ทราบว่าพ่อแม่ที่แท้จริงของตนคือใคร แต่ก็รักและกตัญญูต่อ พระชนกและมเหสี ดุจดังบิดามารดาของตน ในขณะที่อภิเษกสมรสอยู่กับพระรามก็มีความเคารพนับถือ ต่อบิดามารดาตลอดจนมารดาเลี้ยงจนได้รับความเอ็นดูจากทุกคน
ในฐานะภรรยา มีความจงรักภักดีต่อสามีเมื่อพระรามถูกเนรเทศเดินป่าเป็นเวลา 14 ปี ก็ขอตาม เสด็จด้วยมีความห่วงใยในความปลอดภัยของสามี ยกย่องเทอดทูนสามี ไม่ยอมให้ใครว่าร้าย โดยมี ความซื่อสัตย์ต่อสามี ยอมตายดีกว่าหากต้องตกเป็นชายาของทศกัณฐ์ มีความรักนวลสงวนตัว และรักษา เกียรติของสามี ตลอดจนก็มีความหยิ่งในเกียรติของตน
ในฐานมารดา มีความรักและห่วงใยลูกมาก ขณะที่ลูกอยู่ในครรภ์ นางต้องโทษถูกฆ่าแต่ไม่ตาย ก็ต้อง เดินป่าคนเดียวเกิดความท้อใจและยากตาย แต่นึกถึงลูกก็หักใจ และทำการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด
ในฐานะพี่สะใภ้ นางสีดาอ่อนกว่าพระลักษณ์ผู้เป็นน้องสามี แต่ก็วางตนเป็นพี่สะใภ้ ได้อย่างเหมาะสม จนพระลักษณ์มีความเคารพรักอย่างยิ่ง
พฤติกรรมของนางสีดา แสดงให้เห็นว่าเป็นหญิงที่มีคุณความดี เพียบพร้อม เป็นลูกที่ดีเป็นภรรยาที่ดี แม่ที่ดีและลูกสะใภ้ที่ดี จะทำสิ่งใดก็ทำไปด้วยความสัตย์ซื่อถือธรรมะเป็นที่ตั้ง ดังนั้น พลังความสัตย์ สุจริตของนางสีดา จึงช่วยนางได้เสมอ
  
 
4. นางมณโฑ เป็นนางมนุษย์ที่ฤาษีสี่องค์ชุบขึ้นมาจากนางกบ พระฤาษีที่ชุบตัวนำไปฝากเป็นข้ารับใช้พระนางอุมา จนได้มาเป็นภรรยาของทศกัณฐ์
บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของนางมณโฑ
ในฐานะภรรยา นางเป็นแบบฉบับของภรรยาในสมัยโบราณคือเป็นช้างเท้าหลัง ให้เกียรติและเคารพสามีเป็นอย่างมาก
ในฐานะมารดา นางมีความรักและห่วงใยลูกมากโดยเฉพาะตอนที่อินทรชิตลูกชายไปรบแล้วถูกศรปักติดอยู่กับอก หลบหนีเข้ากรุงลงกา นางมณโฑจึงให้ดื่มน้ำนมจากต้นข้างซ้ายของนางซึ่งเป็นน้ำนมอมฤต ศรจึงหลุดออกมา และเมื่ออินทรชิดต้องออกไปรบอีกนางไปทูลขอทศกัณฐ์ขออย่าให้ ลูกออกรบ แต่มิอาจทัดทานได้ ก็ได้แต่ร้องไห้คร่ำครวญ
 
  
 
5. นางเบญจกาย เป็นธิดาของพิเภกกับนางตรีชฎา ภายหลังตกเป็นภรรยาของหนุมานมี บุตรชายชื่อ อสุรผัด
บุคลิกลักษณะและคุณธรรมของนางเบญจกาย
ในฐานะหลาน มีเคารพและเชื่อฟังทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงแม้จะสั่งให้ไปเสี่ยงอันตรายก็ยอม
ในฐานะลูก มีความรักและเคารพบิดา แม้พิเภกจะไปอยู่ข้างฝ่ายพระราม
 
 
ประเภทตัวยักษ์
1. ทศกัณฐ์ เป็นยักษ์กายสีเขียวมีสิบเศียรยี่สิบกรโอรสของท้าวลิสเตียนกับนางรัชฎา เดิมเป็นนนทกยักษ์ซึ่งทำหน้าที่ล้างเท้าให้เทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส ต่อมาตายไปเกิดเป็นทศกัณฐ์
บุคลิกลักษณะของทศกัณฐ์
ในฐานะพี่ รักน้องพอสมควรแต่มีความเห็นแก่ตัวและมักใช้น้องเพื่อผลประโยชน์ของตน
ในฐานะพ่อ รักลูก เพราะใช้สอยได้ตามต้องการ แต่รักตนเองมากกว่า
ในฐานะผู้ปกครอง เป็นนักปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าบ้านเมือง หูเบา และไม่รู้เท่าทัน คนไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีพฤติกรรมดื้อรั้นและเผด็จการ รู้จักใช้คน ใช้เล่ห์เหลี่ยมและกลอุบาย มากกว่าการรบซึ่งหน้า แต่เป็นคนมีมานะไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
2. กุมภรรณ เป็นยักษ์กายสีเขียว โอรสองค์ที่สองของท้าวลิสเตียน และนางรัชฎา เป็นน้องทศกัณฐ์มีนิสัยรักความสะอาด ชอบรสกลิ่นที่หอมหวาน
บุคลิกลักษณะของกุมภรรณ
ในฐานะน้อง จงรักภักดีต่อพี่มาก แม้จะรู้ว่าสิ่งที่ทำผิดก็ยอมช่วยพี่
ในฐานะพี่ เป็นพี่ที่เข้มงวด หากเห็นว่าน้องทำผิดก็ตำหนิติเตียน
ในฐานะนักรบ มีความเฉลียวฉลาด ใช้อุบายหลีกเลี่ยงการใช้กำลังมีฝีมือและมีความกล้าหาญในการรบ
กุมภรรณเป็นยักษ์ที่มีความสัตย์ซื่อรักความเป็นธรรมแต่กุมภรรณเลือกเข้าข้างญาติ พี่น้องจนต้องสิ้นชีวิตด้วยศรของพระราม
3. พิเภก เป็นยักษ์มีกายสีเขียว โอรสองค์ที่สามของลิสเตียนกับนางรัชฎา เป็นน้องทศกัณฐ์รู้จักโหราศาสตร์ ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง
บุคลิกลักษณะของพิเภก
ในฐานะน้อง เป็นน้องที่จงรักภักดีต่อแต่ไม่ยอมให้ความผูกพันธ์ฉันพี่น้องมีความสำคัญเหนือความเป็นธรรม
ในฐานะหัวหน้าครอบครัว รับผิดชอบรักลูกเมียมาก
ในฐานะโหร เป็นผู้มีความรอบรู้เรื่องในโหราศาสตร์ และแม่นยำมาก แต่จะใช้วิชาโหราศาสตร์ต่อเมื่อจำเป็น
พิเภกเป็นผู้ยึดมั่นในสัจธรรม เข้าข้างฝ่ายธรรมโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของสายเลือด เหมาะจะนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี

ประเภทตัวลิง
1. หนุมาน เป็นวานรเผือก เกิดจากการที่พระอิศวรแบ่งกำลังของตนเองแล้วให้พระพายนำเทพอาวุธไปซัดเข้าปากนางสวาหะ หนุมานเป็นหลานของพาลีและสุครีพ
บุคลิกลักษณะของหนุมาน
ในฐานะผู้น้อย มีความอ่อนน้อมและมีความรับผิดชอบไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพากส่วนตัวระหว่างผู้ใหญ่ แต่บางครั้งชอบลองดี แต่เมื่อถูกกำราบก็รับขอโทษรับผิด
ในฐานะทหารพระราม รับใช้เจ้านายอย่างเต็มความสามารถแต่ชอบปฏิบัติงานเกินคำสั่งด้วยเหตุที่ อยากแสดงความสามารถ มีความฉลาด รู้จักใช้เหตุผลให้เป็นประโยชน์แก่ราชการ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี ต่อพระราม กล้าหาญสามารถรับอาสาทำงานยากที่ไม่มีใครกล้าอาสา
ในฐานะนักรบ มีฤทธิ์ในการสู้รบมาก รอบรู้กลศึก สู้โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
ในฐานะนักรัก แสดงความเจ้าชู้เมื่อมีโอกาสใกล้ชิดกับหญิง แต่ไม่ยอมให้ความรักมาขัดงานราชการ แต่จะใช้ให้ช่วยราชการ
ในฐานะนาย มีความเด็ดขาดเป็นที่ยำเกรงของไพร่พล มีความกล้าหาญ และมีความ เป็นผู้นำ
ในฐานะพี่ ปฏิบัติตนกับน้องอย่างดี และใช้คำพูดจาต่อน้องอย่างไพเราะเสมอ
ในฐานะบิดา เป็นพ่อที่มีความอดทน ไม่โกรธต่อลูกที่ว่ากล่าวลบหลู่ด้วยความไม่รู้ มีความรักและ ห่วงใยลูก
หนุมานเป็นทหารเอกที่รับราชการเป็นที่ถูกใจพระราม เป็นนักรักตัวยงที่สามารถแบ่งความรักจากงาน ได้อย่างเหมาะสม แต่มีข้อเสียคือทำงานเกินคำสั่ง แต่ที่สำคัญทศกัณฐ์ไม่สามารถซื้อความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีที่มีต่อพระรามของหนุมานได้
 
องคต
พาลี
2. องคต ลิงกายสีเขียว เป็นโอรสของพาลีและนางมณโฑ แต่พระฤาษีอังคตนำองคตซึ่งอยู่ในท้องนางมณโฑ ไปอยู่ในท้องแม่แพะ
บุคลิกลักษณะขององคต
ในฐานะทหารของพระราม เป็นทหารที่องอาจ กล้าหาญ เป็นผู้มีวาทศิลป์ดี จึงมักให้เป็นผู้ส่งราชสาร แต่ไม่เคยทำงานเกินคำสั่งเลย มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี
 
3. พาลี ลิงกายสีเขียว เป็นบุตรของพระอินทร์กับนางกาลอัจนา มีฐานะเป็นพี่ของสุครีพ ที่ไม่ค่อยซื่อสัตย์ต่อน้อง
บุคลิกลักษณะของพาลี
ในฐานะพี่ เป็นพี่ที่ไม่ค่อยซื่อสัตย์ต่อน้อง ไม่เชื่อใจน้อง
ในฐานะนักรัก เมื่อชอบพอใครแล้วจะต้องได้เป็นเมีย
 
 
 
4. สุครีพ เป็นลิงกายสีเแดง บุตรของพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา มีฐานะเป็นน้องของพาลี ที่ซื่อสัตย์และรักพี่มาก
บุคลิกลักษณะของสุครีพ
ในฐานะน้อง ปฏิบัติตามคำสั่งของพี่อย่างดี รักพี่และดูแลพี่เป็นอย่างดี
ในฐานะข้าราชการ เป็นผู้ที่รักความเป็นธรรม เป็นที่ปรึกษาที่ดี รู้จักผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงานจงรักภักดีและกตัญญูต่อเจ้านาย
ในฐานะนักรบ เป็นนักรบที่กล้าหาญ รอบคอบ แต่อวดดี แต่เมื่อทำผิดก็รับผิดโดยทันทีสุครีพเป็นตัวอย่างของผู้ที่ถือความยุติธรรมและหน้าที่เป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว
 
 หัวโขน


หัวโขน เป็นเครื่องใช้สำหรับศีรษะและปิดบังส่วนหน้าที่คล้ายกับหน้ากาก แต่หัวโขนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตรงที่สร้างหุ่นจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะ ทั้งหมด โดยผู้แสดงสามารถสวมครอบศรีษะจะห่อหุ้มส่วนใบหน้าและส่วนหัวมิดชิด และเจาะช่องเป็นรูกลมที่ตาของหน้ากากให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดง เพื่อให้นักแสดงมองเห็นการแสดง
หัวโขน อาจแบ่งตามประเภทของหัวโขนที่ใช้สวมอย่างละ 2 จำพวก คือ ยักษ์ยอด ยักษ์โล้น และลิงยอด ลิงโล้น นอกจากนี้หัวโขนก็ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของหัวโขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นฝ่ายลงกา และฝ่ายพลับพลาดังนี้
ฝ่ายลงกา (ยักษ์) แบ่งออกได้ดังนี้
1. มงกุฎยอดกระหนก เช่น พยาทูษณ์ มัยราพณ์8. มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น ทัพนาสูร สวาหุ มารีศ
2. มงกุฎยอดจีบ เช่น พญาขร สัทธาสูร9. มงกุฎยอดหางไหล เช่น ตรีเมฆ (เฉพาะตัวเดียว)
3. มงกุฎยอดหางไก่ เช่น วิรุญจำบัง บรรลัยจักร10. มงกุฎยอดนาค เช่น มังกรกัณฐ์ (เฉพาะตัวเดียว)
4. มงกุฎยอดน้ำเต้า เช่น พิเภก ชิวหา11. มงกุฎตามหัวหรือหน้า เช่น ทศกัณฐ์มี 10 หน้า ตรีเศียรมี 3 หน้า เป็นต้น
5. มงกุฎยอดน้ำเต้ากลม เช่น กุเวรนุราช เปาวนาสูร12. พวกไม่มีมงกุฎ เช่น กุมภกรรณ มูลพลัม
6. มงกุฎยอดน้ำเต้าเฟื่อง เช่น บรรลัยกัลป์ วันยุวิก13. หัวโล้น เช่น เสนายักษ์ทั่วไป
7. มงกุฎยอดกาบไผ่ เช่น รามสูร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร14. หัวเขนยักษ์และตัวตลกฝ่ายยักษ์

แม้จะได้บัญญัติและประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้ว ก็ยังมิวายที่จะซ้ำกันอีก จึงต้องประดิษฐ์หน้าโขนโดยให้ทำปาก และตาให้แตกต่างกันไป ซึ่งอาจแบ่งประเภทของหน้าออกไปตามลักษณะของปากและตาอีก 4 จำพวกคือ
1. ปากแสยะ ตาโพลง เช่น ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ3. ปากขบ ตาโพลง เช่น อินทรชิต รามสูร
2. ปากแสยะ ตาจรเข้ เช่น พิเภก พิราพ4. ปากขบ ตาจรเข้ เช่น มัยราพณ์ มังกรกัณฐ์
แม้จะได้บัญญัติหัวและหน้าให้แตกต่างกันแล้ว ก็ยังมีซ้ำกันอยู่จึงต้องบัญญัติให้มีสีหน้าแตกต่างกัน เช่น จำพวกมงกุฎกระหนก มีอยู่หลายตัว ถ้าสีม่วงอ่อนเป็นกุเปรัน สีม่วงแก่เป็นพญาทูษณ์ ถ้าสีครามอ่อนก็เป็นท้าวไวยตาล ถ้าสีแดงชาด ก็เป็นแสงอาทิตย์ เป็นต้น

ฝ่ายพลับพลา (ลิง) แยกประเภทออกได้ดังนี้
1. มงกุฎยอดบัด เช่น พาลี สุครีพ
2. มงกุฎยอดชัยหรือยอดแหลม เช่น ชมพูพาน ชามพูวราช
3. มงกุฎยอดสามกลีบ เช่น องคต (เฉพาะตัวเดียว)
4. พวกไม่มีมงกุฎแต่เป็นลิงพญา เช่น หนุมานนิลพัท นิลนนท์
5. พวกไม่มีมงกุฎแต่เรียกมงกุฎ เช่น สิบแปดมงกุฎ
6. พวกเตียวเพชรและจังเกียง เช่น เตียวเพชร
7. หัวลิงเขนและหัวตลกฝ่ายลิง
พวกพญาวานรที่ไม่มีมงกุฎและพวกสิบแปดมงกุฎ กับพวกเตียวเพชร มักเรียกรวมๆ กันว่าลิงโล้น ต่างก็มีลักษณะหัวคล้ายๆ กัน จึงต้องบัญญัติสีกายและสีหน้าของวานรให้แตกต่างกันด้วย เช่น วานรสีหงสบาท เป็นนิลนนท์ วานรสีสัมฤทธิ์ เป็นนิลปาสัน วานรสีทองแดง เป็นนิลเอก แม้จะบัญญัติให้แตกต่างกันด้วยสี ก็ยังมีซ้ำกันอีก เช่น วานรสีขาว ปากอ้าเป็นหนุมาน ถ้าหุบเป็น สัตพลี และหนุมานถือตรีเป็นอาวุธ สัตพลีถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เป็นต้น (ธนิต อยู่โพธิ์ 2511 : 99 - 105)


ขั้นตอนการทำหัวโขนวิธีการและกระบวนการทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อนถึงปัจจุบันอาจลำดับระเบียบวิธีและกระบวนการทำหัวโขน ดังนี้การเตรียมวัสดุ โดยเฉพาะสำหรับตัวลวดลายต่างๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบคือ "รักตีลาย" ประกอบด้วยรักน้ำเกลี้ยงชัน นิ้วมันบางผสมเข้าด้วยกันเอาขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนงวด พอที่จะกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลาย

การเตรียมหุ่น
หุ่นต้นแบบเป็นหุ่นที่จะใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดเป็นหัวโขน แต่เดิมทำ ด้วยดินปั้นเผาไฟกับทำด้วยไม้กลึง ปัจจุบันทำด้วยปูนซิเมนต์หรือปูนปลาสเตอร์หุ่นหัวโขนชนิดครอบศรีษะและปิดหน้า มักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเทารอยตา จมูก ปาก หมวดผม เป็นต้น
หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ ทำเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกลึงรัดเป็นชิ้นๆ ขึ้นไปเป็นจอม ซึ่งเป็ ที่สวมยอดแบบต่างๆ
การปิดหุ่น เป็นการปิดกระดาษทับลาบนหุ่นเรียกว่าการพอกหุ่น หรือปิดหุ่นโดยจะปิดกระดาษทับหลายๆ ชิ้นให้หนาพออยู่ได้หลัง จากถอดศรีษะออกจากหุ่น
การถอดหุ่น คือ การเอาศรีษะกระดาษออกจากหุ่น โดยใช้มีดปลาย แหลมกรีดศรีษะกระดาษให้ขาดแล้วจึงถอดออกจากต้นแบบ หลังจากนั้นต้องเย็บประสานให้สนิทแล้วปิดกระดาษทับ ให้เรียบร้อย ศรีษะกระดาษนี้จะเรียกว่า "กะโหลก"
การปั้นหน้าหรือกระแหนะ คือ การใช้รักตีลายมาปั้นเพิ่มเติม ลงบนกะโหลกที่ส่วน คิ้ว ตา จมูก ปาก ฯลฯ ให้ได้รูปชัดเจนและแสดงอารมณ์ของใบหน้ากับการประดับลวดลาย ตกแต่งบนตำแหน่งที่เป็น เครื่องศิราภรณ์ เช่น ประดับส่วนเกี้ยวรักร้อย ฯลฯ และ จัดทำส่วนหู สำหรับเศียรยักษ์ ลิง พระและ นางที่ปิดหน้า
การปั้นรักตีลาย ใช้รักตีลายพิมพ์เป็นลวดลายละเอียดประดับตามตำแหน่งบนกะโหลกที่ได้ปั้นหน้า ติดลวดลายประดับไว้พร้อมแล้วการลงรักปิดทอง คือ การใช้รักน้ำเกลี้ยงทาทับส่วนที่ทำเป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งต้องการจะทำเป็น สีทองคำโดยทารักทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้ว จึงนำทองคำเปลวมาปิดทับให้ทั่วการประดับกระจก หรือพลอยกระจก เป็นการตกแต่งส่วนละเอียดโดยเฉพาะลวดลายที่ไส้ตัวกระจิง ไส้กระหนก ไส้ใบเทศ เป็นต้นเพื่อให้เกิดประกายแวววามกระจกที่ใช้เรียกว่า กระจกเกรียง ปัจจุบันหาไม่ง่ายนัก ช่างทำหัวโขนจึงใช้พลอยกระจกประดับแทนการระบายสีและเขียนส่วนละเอียด เป็นกระบวนการขั้นสุดท้าย ของการทำหัวโขนสีที่ใช้มักใช้ สีฝุ่นผสมกาวกระถินหรือยางมะขวิด สีชนิดนี้มีคุณลักษณะสดใส และนุ่มนวล การระบายสีและเขียน รูปลักษณ์ บนใบหน้าของหัวโขนต้องดำเนินการตามแบบแผนอันเนื่องกับชาติพงศ์ของหัวโขนนั้นๆ




ที่มา http://art.hcu.ac.th/khon/index01.html
 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%99
       


      




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น