ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานดนตรี - นาฎศิลป์ แบบ 5 บท


โครงงานเรื่อง
โขน







โดย
เด็กหญิงสุกัญญา   สาหร่ายกลาง
   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1    เลขที่  19

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2553 โรงเรียนวัดลำกะดาน   สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร


คำนำ
     โขนเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง 
ลักษณะสำคัญต่างๆของโขนจึงเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
         โครงงานนี้เกิดขึ้นจากความสนใจในวิชาดนตรี-นาฏศิลป์
หลังจากเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อการศึกษาและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ลำดับต่อไป                            

                                                                                         จัดทำโดย
                                         สุกัญญา   สาหร่ายกลาง



สารบัญ
เรื่อง                                                                    หน้า

บทที่1 บทนำ                                                              1               
บทที่2 เอกสารข้อมูล                                                  3
บทที่3 วิธีการดำเนินการค้นคว้า                                 4
บทที่4 ผลการศึกษาค้นคว้า                                         5        
บทที่5 สรุปผลการศึกษาโครงงาน                              7
แหล่งค้นคว้า                                                             8
              
บทที่1 บทนำ
โครงงานเรื่อง   วงดนตรีไทย
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โขนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย เป็นชีวิตคนไทยคนไทยทุกคนควรรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้โขนเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ลักษณะสำคัญต่างๆของโขนจึงเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ข้าพเจ้าสนใจในการศึกษาเรื่องโขน เนื่องจากการเรียนรู้และสนใจในวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทราบความหมายของโขน
2.เพื่อทราบองค์ประกอบของโขน
สมมุติฐานของการค้นคว้า
1.โขนมีที่มาอย่างไร
2.โขนมีความหมายอย่างไร
3.องค์ประกอบของโขนมีอะไรบ้าง
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.ศึกษาสำรวจเรื่องโขน
2.ศึกษาความหมายของขน
3.สำรวจองค์ประกอบของการแสดงโขน


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ทราบประวัติของโขน
2.ทำให้ทราบประวัติที่มาของโขน
3.ทำให้ทราบองค์ประกอบของโขน


                          บทที่ 2 เอกสารข้อมูล
              ในการทำโครงงานนี้ได้นำข้อมูลต่างๆซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโขนที่สำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( สาระที่ 3 นาฏศิลป์ ) ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร  บทความ หนังสือ เอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเว็บไซด์ต่างๆ  ได้ถูกรวบรวมไว้ใน
โขน วิกิพีเดีย  th.wikipedia.org/wiki/โขน  ได้กล่าวถึง ประวัติ - ประเภทของโขน - โขนในพระราชสำนัก - ลักษณะบทโขน โขน  เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน
โขน www.banramthai.com/html/khon.html อธิบายเกี่ยวกับประเภทของโขนว่าโขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)
โขน www.thaifolk.com/Doc/perform2.htm อธิบายว่า การแสดงอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่าละคร  และการแสดงที่เรียกว่า 'โขน'ใน www.nsru.ac.th/oldnsru /webelearning/.../kind_khone.html กล่าวถึงประเภทของการแสดงโขน
โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน ยกรบ และเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายโขน · หัวโขน · ดนตรีประกอบโขน · หน้าแรก · คำพากย์และเจรจา · เรื่องที่ใช้แสดงโขน · การฝึกหัดโขน · คุณค่าของตัวละคร · ทดสอบความรู้เรื่องโขนใน
art.hcu.ac.th/khon/index01.html ก็มีกล่าวถึงเช่นกัน
ในเวบไซด์ www.khontu.com ชุมนุมโขนธรรมศาสตร์เป็นเว็บไซต์ของชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ โขนธรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทย รักษาศิลปะ วัฒนธรรมไทยไว้ กล่าวถึงเรื่องราวของโขนไว้มากมายเช่นกัน
12 ส.ค. 2010 ... ทศกัณฐ์ หาทางคิดจะตัดศึกพระราม จึงหาแผนการที่จะทำให้พระรามยกทัพกลับ โดยใช้ให้นางเบญกายลูกสาวของพิเภก แปลงกายเป็นนางสีดา

ในเวบไซด์  student.swu.ac.th/sc501010561/page.html  กล่าวถึงประเภทของโขน ประเภทศิลปะการแสดงโขนแต่เดิมมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว โขนโรงในโขนหน้าจอ และโขนฉาก ปัจจุบันนิยมแสดงเพียง ๓ ประเภท คือ ...
เวบไซด์ของโขนไทยรัตนสุวรรณ : ทำอย่างสุดหัวใจด้วยใจรัก ในwww.bankhonthai. comมีเรื่องราวของเศียรบรมครูเทพบุตรทำด้วยหุ่นกระดาษ ปั้นด้วยมือเองทั้งหมด เป็นสินค้า OTOPระดับ Champion ปี 46.
ผลการค้นหา ใน  This is a Sivilize. Bloggang... เรารักษ์ความเป็นไทย ในเวปไซด์www.bloggang.com/viewblog.php?id=sivilize...6... มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติโขน และ กำเนิดโขน โขน คืออะไร โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่ง ของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เรื่องราวของโขน,ประวัติของโขน,ประวัติ,ความเป็นมาของโขน,ความเป็นมา

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณ ประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 16"มีกล่าวในwww.anurakthai.com/thaidances/khone/history.asp เช่นกัน

และเรื่องของประเภทของโขนประวัติโขน · ประเภท · เครื่องแต่งกาย · เรื่องที่ใช้แสดงโขน ... ศิลปะการแสดงโขนแต่เดิมมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว ใน student.swu.ac.th/sc501010561/page.html -รอบรู้เรื่องโขน ประวัติโขน · ประเภท · เครื่องแต่งกาย · เรื่องที่ใช้แสดงโขน ... โขนเป็นนาฏศิลป์ ..มีอธิบายไว้ไนstudent.swu.ac.th/sc501010561/

index.html  เช่นกัน


 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการค้นคว้า

           
การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
1.ศึกษาค้นคว้าในโรงเรียน  ห้องสมุดและห้องสมุดประชาชน 
2.สอบถามสัมภาษณ์   จากผู้รู้
3.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากห้องคอมพิวเตอร์โดยใช้อินเทอร์เน็ต
4.ใช้แบบสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูล
1.จดบันทึก
2.แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
3.บันทึกข้อมูลลงในแผ่นบันทึกข้อมูล

อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.หนังสือเกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์
2.แผ่น CD หรือVCD
3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีไทย        
4.คอมพิวเตอร์

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
            จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆโดยการรวบรวมจากเอกสาร  หนังสือ  และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต พบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโขนดังนี้

โขน (อังกฤษ: Khonเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน[3] มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[4] จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ[5]
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง[6] ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทองประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสี คือสีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง[7] โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖" ทั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง"รามายณะ" จากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง และจากตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล โขนแต่เดิมจึงมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิคนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่พวกที่ฝึกหัดโขนมักเป็นมหาดเล็กหรือบุตรหลานข้าราชการต่อมามีความนิยมที่ว่าการฝึกหัดโขนทำให้ชายหนุ่มที่ได้ฝึกหัดมีความคล่องแคล่วว่องไวในการรบหรือต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการพระราชทานอนุญาตให้เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองฝึกหัดโขนได้ โดยคงโปรดให้หัดไว้แต่โขนผู้ชายตามประเพณีเดิม เพราะโขน และละครของเจ้านายผู้สูงศักดิ์หรือข้าราชการก็ต้องเป็นผู้ชายทั้งนั้น ส่วนละครผู้หญิงจะมีได้แต่ของพระมหากษัตริย์ ด้วยเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังความนิยมโขนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากระยะหลังเจ้าของโขนมักเอาคนพวกลูกหมู่ (หมายเหตุ : คนที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมต่างๆตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณ ซึ่งจัดแบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็นมณฑล คนในมณฑลไหนก็สังกัดเข้ามณฑลนั้น เมื่อมีลูกก็ต้องให้เข้ารับราชการในหมวดหมู่ของกรมเมื่อโตขึ้น เรียกว่า "ลูกหมู่") และลูกทาสมาหัดโขน ทำให้ผู้คนเริ่มมองว่าผู้แสดงเหล่านั้นต่ำเกียรติ อีกเหตุผลหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงประเพณีโบราณในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมรพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน" พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ แต่ก็ทำให้เจ้าสำนักต่างๆพากันเปลี่ยนผู้แสดงจากชายเป็นหญิงจำนวนมาก ยกเว้นบางสำนักที่นิยมศิลปะแบบโขน ทั้งยังมีครูบาอาจารย์ และศิลปินโขนอยู่ก็รักษาไว้สืบต่อมา โขนในสำนักของเจ้านาย ขุนนาง และเอกชนจึงค่อยๆสูญหายไป คงอยู่แต่โขนของหลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บรรดาโขนหลวงที่มีอยู่ก็มิได้ทำงานประจำ ใครเล่นเป็นตัวอะไรทางราชการก็จ่ายหัวโขนที่เรียกกันว่า "ศีรษะครู" ให้ประจำตัวไปบูชา และเก็บรักษาไว้ที่บ้านเรือนของตน เวลาเรียกตัวมาเล่นโขนก็ให้เชิญหัวโขนประจำตัวนั้นมาด้วย
กำเนิดโขน
โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับหนังใหญ่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ โดยสันนิษฐานว่า "โขน" ได้พัฒนามาจากการแสดง ๓ ประเภท คือ
๑.การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
การแสดง "ชักนาคดึกดำบรรพ์" มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า"ในการพระราชพิธีอินทราภิเษกปลูกเขาพระสุเมรุ(หมายเหตุ : สร้างจากโครงไม้ไผ่ แล้วปิดทับด้วยกระดาษ แล้วจึงทาสีให้แลดูเหมือนภูเขา)สูงเส้นหนึ่งกับ ๕ วา ที่กลางสนาม ตั้งภูเขาอิสินธร ยุคนธร สูงสักหนึ่ง และภูเขากรวิกสูง ๑๕ วาที่เชิงเขาทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเกี้ยว (หมายเหตุ : รัด)พระสุเมรุ แล้วตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร ๑๐๐มหาดเล็กแต่งเป็นเทพยดา๑๐๐ และแต่งเป็นพาลี สุครีพ มหาชมพู และบริวารวานรรวม ๑๐๓ ชักนาคดึกดำบรรพ์โดยมีอสูรชักหัว เทพยดาชักหาง ส่วนวานรอยู่ปลายหางครั้นถึงวันที่ ๕ ของพระราชพิธีเป็นวันกำหนดให้ชักนาคดึกดำบรรพ์ และวันที่ ๖ เป็นวันชุบน้ำสุรามฤตตั้งน้ำสุรามฤต ๓ ตุ่ม ตั้งช้าง ๓ ศีรษะ ม้าเผือก อศุภราช (หมายเหตุ : โคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร)ครุฑธราช นางดาราหน้าฉาน ตั้งเครื่องสรรพยุทธ เครื่องช้าง และเชือกบาศหอกชัยตั้งโตมรชุบน้ำสุรามฤตเทพยดาผู้เล่นดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระวิศวกรรม ถือเครื่องสำรับตามธรรมเนียม เข้ามาถวายพระพร"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่อง "กวนน้ำอมฤต" ไว้ในหนังสือ "บ่อเกิดรามเกียรติ์" ไว้ว่า "เทวดา และอสูรอยากจะใคร่อยู่ยงพ้นจากความตายจึงชวนกันกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต เอาเขามนทรคีรีเป็นไม้กวน เอาพญาวาสุกรี(หมายเหตุ : พญานาคเจ็ดเศียร) เป็นเชือก พญาวาสุกรีพ่นพิษเป็นไฟพากันได้ความเดือดร้อนพระนารายณ์จึงเชิญให้พระอิศวรเสวยพิษเพื่อดับความเดือดร้อน พระอิศวรก็เสวยพิษเข้าไป เทวดาและอสูรชักเขามนทคีรีหมุนกวนไปอีกจนเขาทะลุลงไปใต้โลกพระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคีรีไว้มิให้ทะลุลงไปได้อีก การกวนจึงกระทำต่อไปได้สะดวก เทวดากับอสูรทำสงครามกันชิงน้ำอมฤต พระนารายณ์ฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งเกษียรสมุทรแล้ว พวกอสูรมิได้กินน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงได้เป็นใหญ่ในสวรรค์"สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายไว้ว่า การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์นี้ เป็นการแสดงตำนานทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
๒. การแสดงกระบี่กระบอง
ในสมัยโบราณคนไทยจะฝึกวิชาการต่อสู้ไว้สู้รบกับข้าศึก และเพื่อป้องกันตัว อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ก็มีทั้งอาวุธสั้น และอาวุธยาว เช่น มีด ดาบ หอก ไม้พลอง ฯลฯ อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบอง วิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัวในสมัยโบราณแล้วยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่งจนกระทั่งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา
๓. การแสดงหนังใหญ่
การแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นดังมีปรากฏในกฎมณเฑียรบาล หนังใหญ่นั้นตัวหนังจะทำจากหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้างโดยผูกให้พ้นตัวหนังลงมาพอสมควรเพื่อใช้มือจับสำหรับเชิด หนังใหญ่ให้อิทธิพลกับโขน ๒อย่างคือ เรื่องราวที่ใช้แสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ และลีลาการเชิดหนังซึ่งยอมรับกันว่าเป็นท่าแสดงของโขนในเวลาต่อมา โดยเฉพาะบทยักษ์หรือที่เรียกกันว่า "เต้นโขน"
ประเภทของโขน
 ศิลปะการแสดงโขนมี ๕ ประเภท
 1. โขนกลางแปลง 
          โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน ยกรบ” คือตอนยกทัพมารบกันระหว่างกองทัพของพระรามกับกองทัพของทศกัณฐ์ การแสดงจะมีแต่บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ บทพากย์ และเจรจา แต่ไม่มีบทร้อง
2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว 
          โขนโรงนอกเป็นโขนที่แสดงบนโรง ตัวโรงมักมีหลังคา และมีราวพาดตามส่วนยาวของโรง มีช่องให้ผู้แสดงสามารถเดินได้รอบราว เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนเสร็จแล้วก็จะกลับไปนั่งบนราว ซึ่งสมมุติเป็นเตียง ไม่มีบทขับร้องมีแต่บทพากย์ และเจรจา ทำให้ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงมักจะใช้วงปี่พาทย์ วง โดยวงหนึ่งจะตั้งหัวโรง อีกวงหนึ่งตั้งไว้ท้ายโรงหรือจะตั้งทางซ้าย และขวาของโรงก็ได้การแสดงโขนโรงนอกนี้ ยังมีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า โขนนอนโรง” คือเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงวันหนึ่ง ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรง บรรดาผู้แสดงจะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง เมื่อจบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงโขนตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า พบพระรามซึ่งหลงเข้ามายังสวนพวาทอง (หมายเหตุ : สวนมะม่วง) ของพระพิราพจึงเกิดการสู้รบกัน เสร็จการแสดงตอนนี้ก็จะหยุดพัก แล้วนอนเฝ้าโรงคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ต่อไป
3. โขนหน้าจอ 
          โขนหน้าจอ คือโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งขึงไว้สำหรับแสดงหนังใหญ่ โดยการให้ผู้แสดงโขนออกมาแสดงแทนตัวหนังบ้างสลับกันไป เรียกว่า หนังติดตัวโขน” แต่ต่อมาก็ให้แสดงเฉพาะโขนเท่านั้น โดยที่ยังคงตั้งจอหนังไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น เมื่อโขนได้ใช้คำพากย์คำเจรจาตลอดจนดนตรีของหนังใหญ่ทั้งหมด อีกทั้งผู้คนนิยมการแสดงที่ใช้คนมากกว่าตัวหนัง จึงเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังนี้ว่า โขนหน้าจอต่อมาภายหลังมีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขนให้มีช่องประตูเข้าออกวาดเป็นซุ้มประตู เรียกว่า จอแขวะ” โดยด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ด้านขวาวาดเป็นปราสาทราชวังสมมุติเป็นกรุงลงกา ต่อมาจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้น และกันคนดูไม่ให้เกะกะผู้เล่น
4. โขนโรงใน 
          โขนโรงใน เป็นโขนที่ได้รับการปรับปรุงผสมผสานกับละครใน โดยการนำท่ารำ ท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เพลงต่างๆ และระบำรำฟ้อนของละครใน ภายหลังจึงเรียกว่า โขนโรงใน” โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติปัจจุบันนี้มักเป็นลักษณะโขนโรงใน หรือที่นำออกแสดงกลางแจ้งก็เป็นการแสดงแบบโขนโรงในทั้งสิ้น
5. โขนฉาก 
          การแสดงโขนแต่เดิมนั้น จะไม่มีการสร้างฉากประกอบเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องติดต่อกันไปโดยผู้ดูจะต้องจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวขณะนั้นเอาเอง การจัดฉากในการแสดงเป็นสิ่งที่รับมาจากตะวันตก โขนฉากเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ นี้เอง โดยคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดขึ้น
เครื่องแต่งกายของโขน
๑ ตัวพระ สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
ตัวพระ ผู้แสดงที่เป็นมนุษย์ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเทวดา ซึ่งได้แก่ พระราม พระลักษณ์ พระพรตพระสัตรุต พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมในปัจจุบันนี้มักสวมเพียงชฎาไม่ได้สวมหัวโขนปิดหน้าดังสมัยโบราณ เพียงแต่ชฎาของเทพเจ้าต่างๆนั้นจะสามารถสังเกตได้จากลักษณะของชฎานั้นๆ เช่น พระพรหมจะสวมชฏาที่มีพระพักตร์อยู่ ๔ ด้าน พระอินทร์จะสวมชฎายอดเดินหนเป็นต้น ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวพระ จะคัดเลือกผู้มีลักษณะใบหน้าสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหงไหล่ลาดงาม ช่วงอกใหญ่ลำตัวเรียวเอวเล็ก ตามแบบชายงามในวรรณคดีไทย
๒. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้นแต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
ตัวนาง ตัวละครตัวนางในเรื่องรามเกียรติ์นั้นมีทั้งที่เป็นมนุษย์ ปลา นาค แต่ละตัวจะบอกชาติกำเนิดด้วยการสวมศีรษะ และหางเป็นสัญลักษณ์ ตัวนางในโขน และละครรำนั้นมี ๒ประเภท คือนางกษัตริย์ ซึ่งมีลีลาและอิริยบถแสดงถึง
ความนุ่มนวลแลดูเป็นผู้ดีกับนางตลาดซึ่งจะมีบทบาทท่าทางกระฉับกระเฉง
ว่องไวสะบัดสะบิ้งผู้ที่จะรับบทนางตลาดได้จะต้อง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ทางนาฏศิลป์มากกว่าผู้ที่แสดงเป็นนางกษัตริย์ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวนาง 
จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ต้องมีใบหน้างาม กิริยาท่าทางนุ่มนวลอย่างผู้หญิง
๓. ตัวยักษ์เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวม
หัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด
ตัวยักษ์ ตัวยักษ์จะต้องมีลักษณะสูง วงเหลี่ยมตลอดจนการทรงตัวต้องดูแข็งแรง บึกบึน ลีลาท่าทางมีสง่า ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดมาอย่างดีเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่นๆ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวยักษ์ คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่ต้องเลือกหน้าตา รูปร่างต้องใหญ่ และท่าทางแข็งแรง
 
๔. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐ ชนิด
ตัวลิง ตัวลิงจะต้องมีท่าทางลุกลี้ลุกลน กระโดดโลดเต้นตามลักษณะธรรมชาติของลิง โดยเฉพาะตัวหนุมานทหารเอกซึ่งจะต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวลิง คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะป้อมๆ ท่าทางหลุกหลิกคล่องแคล่วว่องไวผู้ที่จะหัดโขนนั้นมักเป็นผู้ชายตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ โดยเริ่มหัดกันตั้งแต่อายุ ๘ -๑๒ ขวบ

ในชั้นต้นคุณครูผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรหัดเป็นตัวแสดงต่างๆเมื่อผู้ที่หัดเป็นตัวเหล่านี้ไปแล้ว ครูก็จะพิจารณาท่าทีหน่วยก้านเพื่อคัดอีกชั้นหนึ่งเช่น พวกหัดตัวพระคัดให้เป็นพระใหญ่หรือพระน้อย พวกหัดตัวนางคัดให้เป็นนางเอกหรือนางรองพวกหัดตัวยักษ์ให้เป็นยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็กหรือเสนายักษ์และพวกหัดตัวลิงจะให้เป็นพญาวานรหรือเหล่าวานรสิบแปดมงกุฎเป็นต้นหลังจากครูคัดเลือกศิษย์แล้ว เมื่อถึงวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครู 
ก็จะทำพิธีไหว้ครู และรับเข้าเป็นศิษย์ โดยศิษย์ต้องมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะแก่ครเมื่อครูรับการสักการะแล้วก็จะทำความเคารพถึงครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้วอีกทีหนึ่งแล้วจึงจับท่าให้ศิษย์เป็นปฐมฤกษ์ ต่อจากนั้นจึงให้ศิษย์ไปฝึกหัดกับครูผู้ช่วยสอนแต่ละฝ่ายตามตัวโข
ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
   บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
๒    บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิด
กาพย์ยานี ๑๖ หรือ กาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
    พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ หรือพระรามประทับในปราสาท 
      -พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย
      - พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
      - พากย์ชมดงเป็นบทตอนชมป่าเขาลำเนาไพรทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้องเพลงชมดงในตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมด า
      -  พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ
       - พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใดร
    บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็น ร่ายยาวส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
    คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ
หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงแต่ละคราว หัวโขนนี้นอกจากจะใช้สวมศีรษะหรือปิดบังหน้าผู้แสดงโขนแล้ว หัวโขนยังเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ เป็นงานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ด้วยกระบวนการช่างแบบไทยประเพณีที่แสดงออกให้ประจักษ์ในภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ในงานศิลปะแบบไทยประเพณีประเภทหนึ่ง หัวโขนจึงเป็นศิลปวัตถุ ที่มีรูปลักษณะควรแก่การดูชม และเก็บรักษาไว้เพื่อการชื่นชมในรูปสมบัติและคุณสมบัติในฐานะศิลปกรรมไทยประเพณีวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน โดยวิธีกาอันเป็นไปตามระเบียบวิธีแห่งการช่างทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อน และยังคงถือปฎิบัติการทำหัวโขนของช่างหัวโขนบางคนต่มาจนกระทั่งปัจจุบัน อาจลำดับระเบียบวิธีของวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ให้ทราบดังนี้
วัสดุ:
กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลายสมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ
ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน มีดังต่อไปนี้
หุ่นพระ-นาง อย่างปิดหน้า
หุ่นยักษ์โล้น
หุ่นยักษ์ยอด
หุ่นลิงโล้น
หุ่นลิงยอด
หุ่นชฏา-มงกุฎ
หุ่นเบ็ดเตล็ด
 เช่น หุ่นศีรษะฤาษี หุ่นศีรษะพระคเณศ เป็นต้น
หุ่นต้นแบบ ที่จะได้ใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดออกเป็น "หัวโขน" ซึ่งภายในกลวง เพื่อที่จะใช้สวมศีรษะผู้แสดง หุ่นต้นแบบนี้แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟให้สุก
หุ่นหัวโขนชนิดสวมศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเค้ารอย ตา จมูก ขมวดผม เป็นต้น แต่พอเป็นเค้า ๆ ไม่ต้องชัดเจนมากนัก ส่วนในหูนั้นละเอาไว้ยังไม่ต้องทำ เอาไว้ต่อเติมภายหลัง
หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ ทำเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกลึงรัดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปเป็นจอมแล้วละไว้ตรงส่วนเหนือบัวแวง ซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง ๆ เช่น ยอดชัย ยอดบัด ยอดทรงน้ำเต้า เป็นต้น
เรื่องที่ใช้สำหรับเล่นโขนตามที่รู้จักกันแพร่หลายมาจนปัจจุบันนี้คือ "รามเกียรติ์" ซึ่งมีหลายสำนวนด้วยกัน ทั้งไทย ชวา เขมร และอินเดียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่อง เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะนี้แต่งโดยพระฤาษีวาลมิกิ เมื่อหลายพันปีก่อน ชาวอินเดียจะมีความเคารพนับถือมาแต่สมัยโบราณกันว่าผู้ใดได้อ่านหรือฟังเรื่อง รามเกียรติ์” ก็สามารถล้างบาปได้
          เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารปางหนึ่งเป็น พระราม” เพื่อคอยปราบอสูรที่คอยเบียดเบียนเหล่าเทวดา และมนุษย์ให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งเป็นพญายักษ์ครองกรุงลงกา เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาเพื่อเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระอนุชาคือพระลักษณ์จึงได้ออกติดตาม จนกระทั่งได้สองพญาวานรคือพญาสุครีพเจ้าเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูเจ้าเมืองชมพูมาเป็นบริวาร โดยมีหนุมานเป็นทหารเอก กองทัพของพระรามจึงจองถนนข้ามทะเลไปสร้างพลับพลา และตั้งค่ายประชิดกรุงลงกาเพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์ จนกระทั่งฝ่ายพระรามได้รับชัยชนะ
          รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอนๆหรือทั้งเรื่อง เพื่อใช้สำหรับการแสดงโขน หนังใหญ่ และละครนั้น มีหลักฐานปรากฏว่าได้แต่งขึ้นในยุคสมัยที่แตกต่างกันดังน
ี้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
๑. รามเกียรติ์คำฉันท์ รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่าที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนัง ซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี ๓-๔ บทเท่านั้น
๒. รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ๒ ตอน สีดาหาย” ไปจนถึงภาค ๙ ตอน กุมภกรรณล้ม” เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนัง ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
๓. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า สำนวนนี้กล่าวความตั้งแต่ตอน พระรามประชุมพล” จนถึง องคตสื่อสาร” บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่๑ จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครก็ดูไม่เหมาะสม จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ ที่เจ้าของละครคนใดคนหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาคัดลอกไว้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
รามเกียรติ์สำนวนนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง ๔ ตอน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ ตอนพระมงกุฎ หนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าวมาลีวราชเสด็จมา ท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด และพระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ 
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย
๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ เยิ่นเย้อเกินไปไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขน พระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอน คือตั้งแต่หนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม มาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวงเป็นหนังสือ ๓๖ เล่มสมุดไทย
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งคือ ตอน "พระรามเดินดง" เป็นหนังสือ๔ เล่มสมุดไทย และทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง "นารายณ์ปราบนนทุก" กับเรื่อง "พระรามเข้าสวนพระพิราพ" ขึ้นอีก๒ ตอน
๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” ขึ้น และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ

                   บทที่5 สรุปผลการศึกษาโครงงาน
จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับโขนสามารถสรุปได้ว่า  โขนหมายถึงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย
โขนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเชื่อว่ามีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖โดยอาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง"รามายณะแต่เดิมมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิคนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้เป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังความนิยมโขนเสื่อมลง
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมีพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน" พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ
กำเนิดโขน   พัฒนามาจากการแสดง ๓ ประเภท คือ
๑.การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
๒. การแสดงกระบี่กระบอง
๓. การแสดงหนังใหญ่
ประเภทของโขนมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก
 เครื่องแต่งกายของโขนแบ่งออกเป็น 4ประเภท
๑ ตัวพระ สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครใน
 ๒. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด
๓. ตัวยักษ์เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวมหัวโขน
๔. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขน
ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
   บทร้อง
๒    บทพากย์ แบ่งออกเป็น   พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา  พากย์รถ พากย์โอ้ พากย์ชมดง  พากย์ พากย์
 ๓    บทเจรจา
คนพากย์และเจรจาใช้ผู้ชาย เป็นคนทำหน้าที่ทั้งพากย์และ
หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงมีวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ดังนี้
วัสดุ: ใช้กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลายสมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ
ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน
เรื่องที่ใช้สำหรับเล่นโขนนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์ ดังนี้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
๑. รามเกียรติ์คำฉันท์ 
 ๒. รามเกียรติ์คำพากย์ 
๓. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า
 ๔ บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ 
 ๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ 
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ 
 ๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ 


เอกสารอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น