ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ดนตรีแจ๊ส


ดนตรีแจ๊ส
ชาวโลกต่างพากันตกตลึงกันพอสมควรหลัง
จากที่ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ 1874-
1951) สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882-
1971) และจอร์จ เกอร์ซวิน (George Gershwin
ค.ศ.1898-1937)ได้นำรูปแบบใหม่ของดนตรี
คลาสสิกให้กับผู้ฟังรู้จักในยุโรปโดยเฉพาะเพลง
Rhapsody in Blue ในปี ค.ศ. 1924 โดยการนำเอา
วลีของแจ๊สมาผสมกับลีลาของดนตรีคลาสสิก
เป็นเวลาเดียวกันกับดนตรีรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นใน
สหรัฐอเมริกาคือ ดนตรีแจ๊ส ผู้ริเริ่มรูปแบบดนตรีแจ๊ส 
     ได้แก่ชนผิวดำที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกันซึ่งเป็นชนเชื้อชาติอัฟริกันลักษณะโดยทั่วไป ของแจ๊สคือดนตรีที่ใช้การสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) การใช้จังหวะขัด จังหวะ ตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรีแม้ว่า แจ๊สเป็นคำที่ เริ่มใช้กันประมาณปี ค.ศ. 1917 แต่ดนตรีแจ๊สเริ่มได้ยินกันมาแล้วเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุที่ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่แสดงกันสด ๆ ไม่มีโน้ตจึงไม่มีหลักฐานใด ๆ เหลืออยู่ให้ทราบว่า ดนตรีแจ๊สมีกำเนิดมาเมื่อใดอย่างแน่ชัดและมีลักษณะอย่างไร 

      นอกจากนี้ก่อน ค.ศ. 1923มีการบันทึกเสียงดนตรีแจ๊สไว้น้อยมาก และไม่มีการบันทึก
เสียงไว้เลยก่อน ค.ศ. 1917 นอกจากดนตรีแจ๊สของวง The Original Dixieland Band 
        ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแจ๊สเป็นต้นมาดนตรีแจ๊สมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป
หลายประเภทเช่นแบบนิวออร์ลีน (New Orleans)หรือดิกซีแลนด์ (Dixieland) สวิง (Swing)
บีบอป(Be-bop) คลู (Cool) ฟรีแจ๊ส (Free jazz) และ แจ๊สร็อค (Jazz rock) เป็นต้น

นักดนตรีแจ๊สที่เด่นเช่นหลุยส์ อาร์มสตรอง(Louis Armstrong) ดยุค แอลลิงตัน
(Duke Ellington) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman) ชาร์ลี ปาร์เกอร์ (Charlie Parker) และ
จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ดนตรีแจ๊สมีผลต่อดนตรีแบบอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี
ป๊อป หรือดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊สไปใช้ในการ
ประพันธ์เพลงเช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น 

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส
     ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา
     
      อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 : 187)

      ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง
ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

      เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

      ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน ( ประสิทธ์ เลียวสิริพงศ์ , 2533 :30)


พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส
     นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

      ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ดนตรีแจ๊ส

แรคไทม์ (Ragtime)
     เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890-1915 ลักษณะของแรกไทม์คือดนตรีสำหรับเปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2/4 หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลงเปียโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัดมือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลงมาร์ชผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์ คือ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin) เพลงเด่น ๆ เช่น เพลง Maple Leaf Rag
พลง Maple Leaf Rag ของ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin)

บลูส์ (Blues)
     คำว่า " บลูส์ " มีหลายความหมาย ดังนี้
1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า
2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี
3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ
4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด ( ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ , 2537 : 56)
บลูส์เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราว 1890 ลักษณะสำคัญคือการใช้เสียงร้องหรือเสียงของ เครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียงซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการ อิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ (Bessie Smith) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์ โดยเฉพาะเพลง Lost Your Head Blues และ Put it Right There
 

รูปลักษณ์ของบลูส์
     บทร้องเพลงบลูส์มีลักษณะเหมือนกับบทกวีของอเมริกันโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 3 บรรทัด แต่ละบรรทัดประกอบด้วย 5 พยางค์ 2 ชุด บรรทัดที่สองคำมักซ้ำกับบรรทัดแรก บรรทัด ที่ สาม เป็นข้อความที่เปรียบเสมือนตอบรับบรรทัดที่หนึ่งและสองซึ่งอาจสมมติรูปแบบเป็น A AB
I'm going'to the river, take my rocker chair,
I'm going'to the river, take my rocker chair,
If the Blues overtake me, gonna rock away.
เพลงบลูส์มีโครงสร้างของคอร์ด (Chord Progression) ดังนี้
 
     จากตัวอย่างข้างต้นเป็นทางคอร์ดของเพลงบลูส์ดั้งเดิมแบบพื้นเมือง ห้องที่ 1 - 4 เป็น คอร์ดหนึ่ง (Tonic chord) ห้องที่ 5-6 เป็นคอร์ดที่สี่ (Subdominant chord) ห้องที่ 7 - 8 เป็นคอร์ดหนึ่ง ห้องที่ 9 - 1 0 เป็นคอร์ดห้า (Dominant chord) ห้อง 11 - 12 เป็นคอร์ดหนึ่ง 
นิวออร์ลีนหรือดิกซีแลนด์ (NewOrleans-Dixieland)
     ในช่วงเวลาปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากดนตรีของอัฟริกา วงดนตรีแบบอเมริกันแรกไทม์ และบลูส์ดังกล่าวแล้ว ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมือง นิวออร์ลีน ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 1900 ถึง 1917 ดนตรีแจ๊สที่เมือง นิวออร์ลีนที่รู้จักในนามของ ดิกซีแลนด์ ลักษณะดนตรีแจ๊สแบบดิกซีแลนด์ประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 5-8 คน เครื่องดนตรีที่เล่นทำนอง ได้แก่ คอร์เน็ต หรือทรัมเป็ต โดยมีคลาริเนทและทรอมโบนเล่นประกอบในลักษณะของการสอดประสานทำนอง ในระยะต่อมามีการเพิ่มแซกโซโฟนเข้าไปในวงด้วย ส่วนเครื่องประกอบทำนองให้น่าสนใจได้แก่ กลองชุด เปียโน แบนโจ กีตาร์ หรือทูบา การบรรเลงใช้การอิมโพรไวเซชั่นโดยตลอด โดยทำแนวทำนองมาจากเพลงมาร์ช เพลงสวด แรกไทม์ หรือเพลงป๊อป นักดนตรีเด่น ๆ ของดนตรีแจ๊สแบบนี้ ได้แก่ "Jelly Roll" Morton, Joseph "King" Oliver และ Louis Armstrong เพลงเด่นเช่น Dippermouth Blues When the Saint Go Marching In เป็นต้น
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

 
การจัดวงแจ๊สแบบดิกซีแลนด์
ที่มา : Microsoft Music Instrument,1994

สวิง (Swing)
     สวิงเป็นแจ๊สที่พัฒนาในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 30 หรือประมาณ ค . ศ . 1920 เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง 1935-1945 ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นยุคสวิง คำว่าสวิงในที่นี้เป็นประเภทของดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีประเภททั้งฟังก็ได้ใช้ประกอบการเต้นก็ได้ ผสมผสานกันระหว่างความร้อนแรงกับความนุ่มนวลอ่อนหวานเป็นการนำเอาดนตรีที่มีพื้นฐานจากแจ๊สมาบวกเข้ากับดนตรีประเภท " ป๊อป "
      สวิงบรรเลงโดยวงขนาดใหญ่กว่าดิกซีแลนด์ เรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) กล่าวคือใช้ผู้บรรเลงประมาณ 14-20 คน แบ่งผู้บรรเลงออกเป็น 3 ส่วนคือ แซ็กโซโฟน และคลาริเนท ปกติแซกโซโฟนจะมีจำนวนมากกว่าคลาริเนท กลุ่มนี้มีผู้บรรเลงประมาณ 3-5 คน กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วยผู้บรรเลงทรัมเป็ตและทรอมโบนกลุ่มละ 3-4 คน และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ เปียโน กีตาร์ เบส และกลองชุด เนื่องจากมีผู้บรรเลงหลายคน การอิมโพรไวเซชั่นบางครั้งกระทำได้ยาก จึงมีวงดนตรีบางวงเขียนโน้ตให้นักดนตรีบรรเลงโดยตลอด ในขณะที่บางวงเว้นบางช่วงให้นักดนตรีอิมโพรไวเซชั่นได้บ้างมากน้อยตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง หรือหัวหน้าวงดนตรี ซึ่งมักเป็นนักดนตรีชั้นเยี่ยม
      การบรรเลงดนตรีสวิง มักเน้นที่แนวทำนองโดยใส่เสียงประสานให้ทำนองเด่นขึ้นมา ซึ่ง ผู้บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีทั้งกลุ่ม ส่วนเครื่องดนตรีเดี่ยวจะบรรเลงเป็นช่วง ๆ โดยบรรเลงตาม โน้ตหรือการอิมโพรไวเซชั่นลักษณะการบรรเลงประกอบทำนอง โดยเป็นแนวประสานซ้ำ ๆ กัน เป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะเด่นของสวิงซึ่งเรียกว่า ริฟฟส์ (Riffs) การประสานเสียงของสวิงมีกฎเกณฑ์ และหลากหลายมากกว่าแจ๊สในยุคแรก ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 :190)
นักดนตรีที่มีชื่อเสียงมักเป็นเจ้าของวงดนตรีด้วย ได้แก่ Duke Ellington, Count Basic, Glenn Miller, Jimmy Dorsey และ Benny Goodman ซึ่งได้รับสมญาว่า " ราชาเพลงสวิง " นักร้องที่มีชื่อเสียงเช่น Doris Day, Frank Sinata, Billy Holiday ,Ella Fitzgerald
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995


ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

บีบอบ (Be - bop)
     ในต้นทศวรรษ 1940 ดนตรีแจ๊ส ประเภทใหม่พัฒนาขึ้นมา คือ บีบอบ (Bebop) เป็น ดนตรีที่ต่อต้านดนตรีประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือ การค้าจนเกินไป และเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ ไม่ค่อยใช้การอิมโพรไวเซชั่น   

      บีบอบจึงเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะ ที่แปลก ๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงอย่างจริงจังมากกว่าการใช้เพลงเป็นการ ประกอบการเต้นรำ
บีบอบ อาจเป็นชื่อที่ได้มาจาก การร้องโน้ตสองตัวเร็ว ๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรค ว่า บีบอบ ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซกโซโฟนหรือทรัมเป็ต โดยมีกลุ่มให้จังหวะ คือเปียโน เบส กลองและ เครื่องตีอื่น ๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนอง หรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า " บอมบ์ " ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรก ๆ ที่ทำหน้าที่เป็น เพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงเพลงประเภท บีบอบมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่ เหลือในช่วงกลางทั้งหมด จะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่าง ๆ โดยการอิมโพรไวเซ ชั่นจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลง ที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ Charlie "Bird" Parker (Saxophone), Dizzy Gillespie (Trumpet), และ Thelonious Monk (piano)
 

 
การจัดวงดนตรีแจ๊สขนาดเล็ก
ที่มา : Microsoft The Attica Guide To Classical Music,1996

คลูแจ๊ส (Cool Jazz)
     ในช่วงปลายของทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 แจ๊สอีกประเภทหนึ่งพัฒนาตาม บีบอบขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้า ๆ กว่าบีบอบ คือ คูลแจ๊ส (Cool jazz) ท่วงทำนองจังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบ ๆ และเป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบอบ เป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนการบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซอนนี โรลลินส์ (Sonny Rollins), จอห์น โคลเทรน (John Coltrane), ไมลส์ เดวิส (Miles Davis), บีบี คิงส์ (B.B.King), เลสเตอร์ ยัง (lesterYoung), สแตน เกตซ์ (Stan Getz
 

 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

ฟรีแจ๊ส (Free Jazz)
     ในราวทศวรรษ 1960 รูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ ฟรีแจ๊ส โดยออร์เนตต์ โคลแมน (Ornett Coleman) นักเป่าอัลโตแซกโซโฟนผู้ไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาก่อน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือการมีทำนองหลักและบรรเลงโดยการอิมโพรไวเซชั่นจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี 8 คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น โคลแมน ยังคงใช้การอิมโพรไวเซชั่นของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น นอกจากโคลแมนแล้วยังมี John Cottrane ที่ยึดรูปแบบฟรีแจ๊ส

แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่น (Jazz Rock & Fusion)
     ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือแจ๊สร็อค หรือฟิวชั่น ลักษณะของฟิวชั่น คือ การผนวกการอิมโพรไวเซชั่นในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค รวมถึงการใช้เทคนิคการบันทึกเสียงด้วยสีสันของเสียงดนตรีต่าง ๆ ที่แปลกออกไปที่เราเรียกว่า " เอ็ฟเฟ็ค " (effect) เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่น จึงมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออิเลคโทรนิค ซึ่งใช้ระบบ มิดี้ (MIDI = Musical Instrument Digital Interface) โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ และบางครั้งมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ละตินอเมริกา อินเดีย หรือ ในประเทศไทยเองก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีไทยเข้าบรรเลงร่วมด้วย เช่น วงบอยไทย มีการนำระนาดเอกผสมในวง , อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็ได้มีการนำขลุ่ยไทยบรรเลงดนตรีลักษณะนี้เช่นกัน ลักษณะเฉพาะอีกสองประการของฟิวชั่น คือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบส และการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่ควรรู้จักเช่น เฮอร์บี แฮนนคอก (HerBie Hancock), ชิค โคเรีย (Chick Corea) เคนนี จี (Kenny G.), เดฟ โคซ (Dave Koz) , เดวิด แซนบอร์น (David Sanborn) โกรเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์ (Grover Washington,Jr) บอบ เจมส์ (Bob James)
 

 
การจัดวงดนตรีฟิวชั่นแจ๊ส
     โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่าง ๆ ดังรูป
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)
          วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท 
สีสัน (Tone color)
      ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง
      เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก
อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)
     ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส
      ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3

จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)
     ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น 
     การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตร
ี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
      ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลายเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น