โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้องโขน (อังกฤษ: Khon) เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทองประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
ความหมายของโขน
โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ของตนเอง คำว่า "โขน" ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระ เพื่อนพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" คำว่า "โขน" มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
- โขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งมีคำว่า "โขละ หรือโขล" ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนัง ชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้ายมฤทังคะ (ตะโพน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้นแบงกอลนิยมใช้ประกอบการ เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ยาตรา" ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทยแล้วนำมาใช้ประกอบการ เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดงชุดนั้นว่า "โขล" ตามชื่อเครื่องดนตรี
- โขนในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
- โขนในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่าตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า "ควาน" หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้าย ๆ กับผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน
- โขนในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า "ละคร" แต่เขียนเป็นอักษรว่า "ละโขน" ซึ่งหมายถึงมหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่าง ๆ กับมีคำว่า "โขล" อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า "โขล ละคอนชายเล่นเรื่องรามเกียรติ์"
จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้กันในยุคสมัยนี้ก็จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า "โขนเรือ" เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) หรือส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวง ที่งอนขึ้นก็เรียกว่า "โขน"
เรื่องที่ใช้แสดงโขน
เรื่องที่ใช้แสดงโขนที่รู้จักกันแพร่หลายคือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีทั้งหมดหลายสำนวนด้วยกัน ต้นกำเนิดของเรื่องรามเกียรติ์นี้คือมหากาพย์รามายณะของประเทศอินเดีย แต่งโดยพระฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งชาวอินเดียสมัยโบราณเชื่อว่าถ้าได้ฟังหรืออ่านเรื่องนี้ก็สามารถล้างบาปได้
รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อคอยปราบอสูร สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ผู้ซึ่งเป็นพญายักษ์นั้น เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพาตัวนางสีดามเหสีของพระรามมาเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระลักษมณ์จึงออกติดตาม ได้พญาวานรสุครีพและมหาชมพูมาเป็นบริวาร รวมถึงหนุมานเป็นทหารเอก เพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ
รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอน ๆ เพื่อใช้ในการแสดงต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ต่างกันดังนี้
- บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่
- รามเกียรติ์คำฉันท์
- รามเกียรติ์คำพากย์
- รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า
- บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
- บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์บทรามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่
- บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1
- บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 2
- บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 4
- บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 6
- บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
- บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์ยานี 11 บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
- พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ์หรือพระรามประทับในปราสาทหรือพลับพลา
- พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย
- พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
- พากย์ชมดง เป็นบทตอนชมป่าเขา ลำเนาไพร ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมดา
- พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยายตำนานรัตนธนู
- พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่นกล่าวว่า ใครทำอะไร หรือพูดกับใคร ว่าอย่างไร
- บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็นร่ายยาว ส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
วิวัฒนาการของโขน การแสดงโขนในขั้นแรกน่าจะแสดงกลางสนามกว้าง ๆ เหมือนกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต่อมาการแสดงก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการปลูกโรงไว้ใช้แสดง จนมีฉากประกอบตามท้องเรื่อง จากนั้นโขนก็มีการวิวัฒนาการดัดแปลงการเล่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เราจึงเรียกแยกประเภทของโขนตามลักษณะการแสดงนั้น ๆ โขนจึงเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูงเช่น แสดงในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ แสดงเป็นมหรสพสมโภชเช่น ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และแสดงเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิงในโอกาสทั่ว ๆ ไป นิยมแสดงเพียง 3 ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนหน้าจอและโขนฉาก สำหรับโขนนั่งราวหรือโขนโรงนอกไม่นิยมจัดแสดง เนื่องจากเป็นการแสดงโขนที่มีแต่บทพากย์และบทเจรจาเท่านั้น ไม่มีบทร้อง ใช้ราวไม้กระบอกแทนเตียงสำหรับนั่ง และโขนโรงในซึ่งเป็นศิลปะที่โขนหน้าจอนำไปแสดง แต่เดิมไม่มีองค์ประกอบจำนวนมาก ต่อมาภายหลังเมื่อมีความต้องการมากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการพัฒนาเป็นลำดับ แบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่
โขนนั่งราว
โขนนั่งราวหรือเรียกอีกอย่างว่าโขนโรงนอก วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงบนโรงที่ปลูกสร้างขึ้นสำหรับแสดง ตัวโรงมักมีหลังคาคุ้มกันแสงแดดและสายฝน ไม่มีเตียงสำหรับผู้แสดงนั่ง มีเพียงราวทำจากไม้ไผ่วางพาดตามส่วนยาวของโรงเท่านั้น มีช่องให้ผู้แสดงในบทของตัวพระหรือตัวยักษ์ที่มีตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ สามารถเดินวนได้รอบราวซึ่งสมมุติเป็นเตียง มีการพากย์และเจรจา ไม่มีบทขับร้อง วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์สำหรับบรรเลงสองวง เนื่องจากต้องบรรเลงเป็นจำนวนมาก โดยปี่พาทย์ตัวแรกตั้งบริเวณหัวโรง ตัวที่สองตั้งบริเวณท้ายโรง และเป็นที่มาของการเรียกว่าวงหัวและวงท้ายหรือวงซ้ายและวงขวา ในส่วนผู้แสดงที่รับบทเป็นเสนายักษ์ เขนยักษ์ เสนาลิงหรือเขนลิง คงนั่งพื้นแสดงตามปกติ
โขนกลางแปลง
โขนกลางแปลงเป็นการเล่นโขนกลางแจ้ง ไม่มีการสร้างโรงแสดง ใช้ภูมิประเทศและธรรมชาติเป็นฉากในการแสดง ผู้แสดงทั้งหมดรวมทั้งตัวพระต้องสวมหัวโขน นิยมแสดงตอนยกทัพรบ วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เรื่องกวนน้ำอมฤต ที่ใช้เล่นในพิธีอินทราภิเษก ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำวิธีการแสดงคือการจัดกระบวนทัพและการเต้นประกอบหน้าพาทย์มาใช้ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่องรามเกียรติ์แทน มีการเต้นประกอบหน้าพาทย์และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้าง แต่ไม่มีบทร้อง
เมื่อ พ.ศ. 2339 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีการเล่นโขนในงานฉลองอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช โดยโขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ และโขนวังหลังเป็นทัพพระราม แลัวยกทัพมาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ดังความในพระราชพงศาวดารว่า "ในการมหรสพสมโภชพระบรมอัฐิครั้งนั้น มีโขนชักรอกโรงใหญ่ ทั้งโขนวังหลวงและวังหน้า แล้วประสมโรงเล่นกันกลางแปลง เล่นเมื่อศึกทศกัณฐ์ยกทัพกับสิบขุนสิบรถ โขนวังหลังเป็นทัพพระราม ยกไปแต่ทางพระบรมมหาราชวัง โขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ ยกออกจากพระราชวังบวรฯ มาเล่นรบกันในท้องสนามหน้าพลับพลา ถึงมีปืนบาเหรี่ยมรางเกวียนลากออกมายิงกันดังสนั่นไป"
ซึ่งการแสดงโขนในครั้งนั้น เกิดการรบกันจริงระหว่างผู้แสดงทั้งสองฝ่าย จนเกิดการบาดหมางระหว่างวังหน้าและวังหลัง ทำให้เป็นข้อสันนิษฐานว่าเหตุใดการแสดงโขนกลางแปลง จึงนิยมแสดงตอนยกทัพรบและการรบบนพื้น[15] มีเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ไม่ต่ำกว่าสองวงในการบรรเลง
โขนหน้าจอ
โขนหน้าจอเป็นโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับแสดงหนังใหญ่หรือหนังตะลุง โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดงสลับกับการเชิดตัวหนัง เรียกว่าหนังติดตัวโขน ซึ่งในการเล่นหนังใหญ่ จะมีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาวแบบจอหนังใหญ่ ยาว 7 วา 2 ศอก ริมขอบจอใช้ผ้าแดงและสีน้ำเงินเย็บติดกัน ใช้เสาจำนวน 4 ต้น สำหรับขึงจอ ปลายเสาประดับด้วยหางนกยูงหรือธงแดง มีศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา ใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของตัวหนัง
นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ภายหลังยกเลิกการแสดงหนังใหญ่คงเหลือเฉพาะโขน โดยคงจอหนังไว้พอเป็นพิธี เนื่องจากผู้ดูนิยมการแสดงที่ใช้คนแสดงจริงมากกว่าตัวหนัง จึงเป็นที่มาของการเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังว่าโขนหน้าจอ มีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขน ให้มีช่องประตูสำหรับเข้าออก โดยวาดเป็นซุ้มประตูเรียกว่าจอแขวะ โดยที่ประตูทางด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ส่วนประตูด้านขวาวาดเป็นกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ต่อมาภายหลังจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้นเพื่อกันคนดูไม่ให้เกะกะตัวแสดงเวลาแสดงโขน สำหรับโขนหน้าจอ กรมศิลปกรเคยจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับชมในงานฉลองวันสหประชาชาติที่สนามเสือป่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2491
โขนโรงใน
โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 รวมทั้งมีราชกวีภายในราชสำนัก ช่วยปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความไพเราะ สละสลวยมากยิ่งขึ้น โดยนำท่ารำท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เป็นการปรับปรุงวิวัฒนาการของโขน ในการแสดงโขนโรงใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง มีการพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน นำเพลงขับร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร และเปลี่ยนมาแสดงภายในโรงแบบละครในจึงเรียกว่าโขนโรงใน มีปี่พาทย์บรรเลงสองวง ปัจจุบันโขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงนั้น ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในซึ่งเป็นการแสดงระหว่างโขนกลางแปลงและโขนหน้าจอ
โขนฉาก
โขนฉากเป็นการแสดงโขนที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการจัดฉากในการแสดงแบบละครดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่จึงเรียกว่าโขนฉาก ปัจจุบันการแสดงโขนของกรมศิลปากร นอกจากจะแสดงโขนโรงในแล้ว ยังจัดแสดงโขนฉากควบคู่กันอีกด้วยเช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดงและชุดพระรามครองเมือง
นอกจากประเภทของโขนต่าง ๆ ทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังมีการแสดงโขนสดที่ทางกรมศิลปากรไม่จัดให้รวมอยู่ในประเภทของโขน โขนสดเป็นการแสดงที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม ที่ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้มีความเรียบง่าย มีการปรับเปลี่ยนลดท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์และการเจรจา เป็นการแสดงที่เกิดจากผสมผสานการแสดง 3 ชนิดคือ โขน หนังตะลุงและลิเก ไม่มีการพากย์เสียงและเจรจา โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดบทเจรจาเอง สวมหัวโขนบนศีรษะแต่ไม่คลุมหน้า[21] ซึ่งการแสดงโขน มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบและวิธีการแสดงของโขนได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย แต่คงรูปแบบและเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงเอาไว้
โขนในพระราชสำนัก
ในสมัยโบราณข้าราชการ มหาดเล็กที่รับราชการในสำนักพระราชวัง มักได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ฝึกหัดการแสดงโขน เนื่องจากโขนเป็นการเล่นของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ใช้สำหรับแสดงในงานพระราชพิธีเท่านั้น ทำให้ต้องมีการคัดเลือกผู้แสดงที่มีความฉลาดเฉลียว สามารถฝึกหัดท่ารำต่าง ๆ ให้เข้าใจได้โดยง่าย แต่เดิมใช้ผู้ชายล้วนในการแสดงทั้งตัวพระและตัวนาง ถือเป็นความภาคภูมิใจต่อผู้ที่ได้ถูกรับเลือกเนื่องจากโขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผู้แสดงโขนในพระราชสำนัก จะต้องเป็นพวกมหาดเล็ก ข้าราชการหรือบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสนาอำมาตย์และผู้ว่าราชการเมือง ได้ฝึกหัดโขนเพื่อเป็นการประดับเกียรติยศแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล และทรงโปรดให้หัดไว้เฉพาะแต่เพียงผู้ชายตามประเพณีดั้งเดิม ทำให้เจ้านายชั้นสูง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากต่างหัดโขนไว้หลายคณะเช่น โขนของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โขนของกรมพิพิธฯ เป็นต้น และมีการประกวดแข่งขันประชันฝีมือ รวมทั้งได้มีการฝึกหัดโขนให้พวกลูกทาสและผู้ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ ตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณอีกด้วย ทำให้โขนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ต่อมาภายหลังการแสดงโขนเริ่มถูกมองว่าเป็นการแสดงที่ไม่สมฐานะ เนื่องจากแต่เดิมโขนเป็นการแสดงที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ทำให้ถูกมองไปในทางที่ไม่ดี ประกอบกับมีการนำโขนไปรับจ้างแสดงในงานต่าง ๆ เช่นงานศพหรืองานที่ไม่มีเกียรติเพียงเพื่อหวังค่าตอบแทน โดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศของการแสดงศิลปะชั้นสูงที่ได้รับความนิยมยกย่อง ทำให้ความนิยมในโขนเริ่มเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง ข้าราชการเสนาอำมาตย์มีละครหญิงที่แต่เดิมมีเฉพาะพระมหากษัตรยิ์ได้ ดังพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน" ทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวง ต่อการแสดงโขนในพระราชสำนักของเจ้านายชั้นสูงและขุนนางชั้นผู้ใหญ่
คำพากย์
คำพากย์ เป็นบทกวีประเภทกาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง ไม่ว่าจะพากย์ชนิดใด เมื่อพากย์จบไปบทหนึ่งตะโพนก็จะตีท้า และกลองทัดตีต่อ จากตะโพน 2 ที แล้วพวกคนแสดงภายในโรงก็ร้องรับด้วยคำว่า "เพ้ย" พร้อมๆ กัน
วิธีพากย์ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภทคือ
1. พากย์เมือง (หรือพากย์พลับพลา) ใช้พากย์เวลาตัวเอกหรือผู้แสดงออกทองพระโรงหรือออกพลับพลา เช่น ทศกัณฐ์ หรือ พระราม ประทับในปราสาท หรือในพลับพลา เช่น
" ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภา พุ่งพ้นเวหา
คิรียอดยุคันธร
สมเด็จพระหริวงศ์ทรงศร ฤทธิ์เลื่องลือขจร
สะท้อนทั้งไตรโลกา
เสด็จออกนั่งหน้าพลับพลา พร้อมด้วยเสนา
ศิโรดมก้มกราบกราน
พิเภกสุครีพหนุมาน นอบน้อมทูลสาร
สดับคดีโดยถวิล "
2. พากย์รถ (หรือ ช้าง ม้า ตามแต่จะใช้สิ่งใดเป็นพาหนะ) ใช้ในเวลาทรงพาหนะที่ขี่ไป ตลอดจนการชมไพร่พลด้วย เช่น
" เสด็จทรงรถเพชรเพชรพราย พรายแสงแสงฉาย
จำรูญจำรัสรัศมี
อำไพไพโรจน์รูจี สีหราชราชสีห์
ชักราชรถรถทรง
ดุมหันหันเหียนเวียนวง กึกก้องก้องดง
สะเทื้อนทั้งไพรไพรวัน
ยักษาสารถีโลทัน เหยียบยืนยืนยัน
ก่งศรจะแผลงแผลงผลาญ "
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
3. พากย์โอ้ ทำนองตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายกลายเป็นทำนองร้อง เพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ ใช้เวลาโศกเศร้ารำพัน เช่น
" อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้ มาบรรลัยอยู่เอองค์ พี่จะได้สิ่งใดปลง พระศพน้องในหิมวา
จะเชิญศพพระเยาเรศ เข้ายังนิเวศน์อยุธยา ทั้งพระญาติวงศา จะพิโรธพิไรเรียม
ว่าพี่พามาเสียชนม์ ในกมลให้ตรมเกรียม จะเกลี่ยทรายขึ้นทำเทียม ต่างแท่นทิพบรรทม
จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศ เอาพระโอษฐ์มาระงม ต่างเสียงพระสนม อันร่ำร้องประจำเวร "
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
การพากย์โอ้มีความแตกต่างกับการพากย์แบบอื่น เนื่องจากจะมีดนตรีรับก่อนที่ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “เพ้ย”
4. พากย์ชมดง ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายจึงกลายเป็นทำนองพากย์ธรรมดาสำหรับใช้ในเวลา ชมป่าเขาลำเนาไม้ต่างๆ เช่น
" เค้าโมงจับโมงมองเมียง คู่เค้าโมงเคียง เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง
ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยง ค่อยยุดฉุดโชลง โลดไล่ในกลางลางลิง
ชิงชันนกชิงกันสิง รังใครใครชิง ชิงกันจับต้นชิงชัน
นกยูงจับพยูงยืนยัน แผ่หางเหียนหัน หันเหยียบเลียบไต่ไม้พยูง "
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่
5. พากย์บรรยาย (หรือรำพัน) ใช้เวลาบรรยายความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ พากย์พึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยาย ตำนานรัตนธนูว่า
" เดิมทีธนูรัตน วรฤทธิเกรียงไกร องค์วิศะกรรมไซร้ ประดิษฐะสองถวาย
คันหนึ่งพระวิษณุ สุรราชะนารายน์ คันหนึ่งทำนูลถวาย ศิวะเทวะเทวัน
ครั้นเมื่อมุนีทัก- ษะประชาบดีนั้น กอบกิจจะกายัญ- ญะพลีสุเทวา
ไม่เชิญมหาเทพ ธก็แสนจะโกรธา กุมแสดงธนูคลา ณ พิธีพลีกรณ์ "
6. พากย์เบ็ดเตล็ด สำหรับใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป อันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่น
" ภูวกวักเรียกหนุมานมา ตรัสสั่งกิจจา ให้แจ้งประจักษ์ใจจง
แล้วถอดจักรรัตน์ธำรงค์ กับผ้าร้อยองค์ ยุพินทรให้นำไป
ผิวนางยังแหนงน้ำใจ จงแนะความใน มิถิลราชพารา
อันปรากฏจริงใจมา เมื่อตาต่อตา ประจวบบนบัญชรไชย "
วิธีพากย์ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภทคือ | ||
1. พากย์เมือง (หรือพากย์พลับพลา) ใช้พากย์เวลาตัวเอกหรือผู้แสดงออกทองพระโรงหรือออกพลับพลา เช่น ทศกัณฐ์ หรือ พระราม ประทับในปราสาท หรือในพลับพลา เช่น | ||
" ครั้นรุ่งแสงสุริยโอภา | พุ่งพ้นเวหา | |
คิรียอดยุคันธร | ||
สมเด็จพระหริวงศ์ทรงศร | ฤทธิ์เลื่องลือขจร | |
สะท้อนทั้งไตรโลกา | ||
เสด็จออกนั่งหน้าพลับพลา | พร้อมด้วยเสนา | |
ศิโรดมก้มกราบกราน | ||
พิเภกสุครีพหนุมาน | นอบน้อมทูลสาร | |
สดับคดีโดยถวิล " | ||
2. พากย์รถ (หรือ ช้าง ม้า ตามแต่จะใช้สิ่งใดเป็นพาหนะ) ใช้ในเวลาทรงพาหนะที่ขี่ไป ตลอดจนการชมไพร่พลด้วย เช่น | ||
" เสด็จทรงรถเพชรเพชรพราย | พรายแสงแสงฉาย | |
จำรูญจำรัสรัศมี | ||
อำไพไพโรจน์รูจี | สีหราชราชสีห์ | |
ชักราชรถรถทรง | ||
ดุมหันหันเหียนเวียนวง | กึกก้องก้องดง | |
สะเทื้อนทั้งไพรไพรวัน | ||
ยักษาสารถีโลทัน | เหยียบยืนยืนยัน | |
ก่งศรจะแผลงแผลงผลาญ " | ||
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่ | ||
3. พากย์โอ้ ทำนองตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายกลายเป็นทำนองร้อง เพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ ใช้เวลาโศกเศร้ารำพัน เช่น | ||
" อนิจจาเจ้าเพื่อนไร้ มาบรรลัยอยู่เอองค์ | พี่จะได้สิ่งใดปลง พระศพน้องในหิมวา | |
จะเชิญศพพระเยาเรศ เข้ายังนิเวศน์อยุธยา | ทั้งพระญาติวงศา จะพิโรธพิไรเรียม | |
ว่าพี่พามาเสียชนม์ ในกมลให้ตรมเกรียม | จะเกลี่ยทรายขึ้นทำเทียม ต่างแท่นทิพบรรทม | |
จะอุ้มองค์ขึ้นต่างโกศ เอาพระโอษฐ์มาระงม | ต่างเสียงพระสนม อันร่ำร้องประจำเวร " | |
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่ | ||
การพากย์โอ้มีความแตกต่างกับการพากย์แบบอื่น เนื่องจากจะมีดนตรีรับก่อนที่ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “เพ้ย” | ||
4. พากย์ชมดง ทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้อง เพลงชมดงใน ตอนท้ายจึงกลายเป็นทำนองพากย์ธรรมดาสำหรับใช้ในเวลา ชมป่าเขาลำเนาไม้ต่างๆ เช่น | ||
" เค้าโมงจับโมงมองเมียง คู่เค้าโมงเคียง | เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง | |
ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยง ค่อยยุดฉุดโชลง | โลดไล่ในกลางลางลิง | |
ชิงชันนกชิงกันสิง รังใครใครชิง | ชิงกันจับต้นชิงชัน | |
นกยูงจับพยูงยืนยัน แผ่หางเหียนหัน | หันเหยียบเลียบไต่ไม้พยูง " | |
ตัวอย่างเสียงพากย์กดที่นี่ | ||
5. พากย์บรรยาย (หรือรำพัน) ใช้เวลาบรรยายความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ พากย์พึงรำพันใดๆ เช่น พากย์บรรยาย ตำนานรัตนธนูว่า | ||
" เดิมทีธนูรัตน วรฤทธิเกรียงไกร | องค์วิศะกรรมไซร้ ประดิษฐะสองถวาย | |
คันหนึ่งพระวิษณุ สุรราชะนารายน์ | คันหนึ่งทำนูลถวาย ศิวะเทวะเทวัน | |
ครั้นเมื่อมุนีทัก- ษะประชาบดีนั้น | กอบกิจจะกายัญ- ญะพลีสุเทวา | |
ไม่เชิญมหาเทพ ธก็แสนจะโกรธา | กุมแสดงธนูคลา ณ พิธีพลีกรณ์ " | |
6. พากย์เบ็ดเตล็ด สำหรับใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป อันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใด เช่น | ||
" ภูวกวักเรียกหนุมานมา ตรัสสั่งกิจจา | ให้แจ้งประจักษ์ใจจง | |
แล้วถอดจักรรัตน์ธำรงค์ กับผ้าร้อยองค์ | ยุพินทรให้นำไป | |
ผิวนางยังแหนงน้ำใจ จงแนะความใน | มิถิลราชพารา | |
อันปรากฏจริงใจมา เมื่อตาต่อตา | ประจวบบนบัญชรไชย " |
การฝึกหัดโขน ตัวละครของการแสดงโขนที่จะใช้ในการฝึกหัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
| |||||
| |||||
วิธีฝึกหัดเบื้องต้น
| |||||
ตบเข่า | ถองสะเอว | ||||
เต้นเสา | ถีบเหลี่ยม | ||||
*ธนิต อยู่โพธิ์. โขน กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2511. (หน้า 112) | |||||
วิธีหัดลิงโดยเฉพาะ นอกจากนี้ผู้ฝึกหัวตัวลิงยังจะต้องฝึกท่าทางเบื้องต้นเฉพาะหรือจะเรียกว่ากายกรรมก็ได้ เช่น การหกคะเมน ตีลังกา ม้วนหน้า ม้วนหลัง พุ่งม้วนสามตัว ตีลังกาหลัง ตีลังกาหน้า เพื่อให้มีลีลา คล่องแคล่ว ว่องไว โลดเป็นอีกด้วย ฉีกขา ฝึกสำหรับตัวลิงโดยเฉพาะการฉีกขานี้เพื่อให้ผู้เรียนย่อเหลี่ยมได้สวยงามในขณะที่ หกคะเมนหรือตีลังกาก็จะทำให้เท้านั้นกางออกเหยียดตึงดูสวยงาม (ดังรูป) | |||||
ฉีกขา | หกคะเมน | ||||
*ธนิต อยู่โพธิ์. โขน กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2511. (หน้า 116) |
การแต่งกายของโขน
เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการประกอบการแสดงโขน แต่งกายแบบยืนเครื่อง พระ นาง ยักษ์ ลิง นอกจากตัวละครอื่นๆ จะแต่งกายตามลักษณะนั้นๆ เช่น ฤาษี กา ช้าง ควาย ฯลฯ นอกจากนี้ผู้แสดงโขนจะต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า "หัวโขน" ซึ่งศิลปินไทยได้กำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นแบบแผน และกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร เช่น พระรามสีกายเขียว พระลักษณ์สีกายเหลือง ทศกัณฐ์สีกายเขียว เป็นต้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น