ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงออเคสตรา


วงออร์เคสตร้า หรือ วงดุริยางค์
มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการ
ถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุคแต่ละสมัยตลอดมาดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เคสตร้า
จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง ๆได้เป็นอย่างดี

ประวัติของวงออร์เคสตร้า
ออร์เคสตร้า เป็นภาษาเยอรมันตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ(Dancing place)
ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นสถานที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง ออร์เคสตร้าเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย เรียกว่าวงกำเมออร์เคสตร้า(The Gamelan Orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The Gagaku Orchestra) สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าได้แก่วงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีความหมายของออร์เคสตร้าได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยกลาง โดยหมายถึง ตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่ ๑๘
คำว่า ออร์เคสตร้า หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม คำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำ เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละครและโรงแสดงคอนเสิร์ตแต่เดิมแม้จะมีการใช้เครื่องดนตรีเล่นในลักษณะทำนองเดียวกับการร้อง|ในยุคเมดิอีวัล และรีเนซอลส์ แต่วงออร์เคสตร้าไม่มีการระบุเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องดนตรีที่แน่นอนในการใช้บรรเลงแต่ประการใด ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น ความจำเป็นในการกำหนดเครื่องดนตรีก็เกิดขึ้นด้วย เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนไปกับเสียงร้องของนักร้องโอเปราในเรื่อง ออร์เฟโอ(Orfeo ๑๖๐๗), และมอนเทแยวร์ดี (Montevedi) จึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีในบทเพลง และเป็นจุดเริ่มการพัฒนาของวงออร์เคสตร้า โดยระยะแรกเป็นลักษณะของวงสายออร์เคสตร้า (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่น ๒๐-๒๕ คน แต่บางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ ทั้งนี้ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๗ ออร์เคสตร้ามีการเพิ่มเครื่องลมไม้และตอนปลายยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ.๑๗๕๐) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตร้าด้วยกลางศตวรรษที่ ๑๘วงออร์เคสตร้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยมี
การจัดวางเครื่องสายทุกชนิดอย่างเป็นระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตร้าในปัจจุบัน และมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนเครื่องดนตรีที่เคยมีใช้กันมากแต่เดิมเช่นมีการนำฟลุท มาแทนขลุ่ยรีคอเดอร์ มีการเพิ่มคลาริเนท เข้ามาในกลุ่มประเภทของเครื่องลมไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า ยุคที่วงออร์เคสตร้าเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐาน คือ ยุคคลาสสิก เหตุผล
ประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตร้าเป็นแบบแผนขึ้น กล่าวคือ ทำให้มีเครื่องดนตรีทุกประเภทประกอบเข้าเป็นวง ได้แก่ เครื่องสาย  เครื่องลมไม้ เครื่องเป่า และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรีก็มีเครื่องพื้นฐานครบถ้วน เช่น ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา วิโอลอนเชลโลและดับเบิ้ลเบสในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบไปด้วย ฟลูท คลาริเนท โอโบ บาสซูนในกลุ่มของเครื่องลมทองประกอบไปด้วย ฮอร์น ทรัมเปต และทูบา ในกลุ่มของเครื่องตีจะมีกลองทิพพานี กลองใหญ่ และเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ ซึ่งในรายละเอียด การจัดวงจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง เช่น บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ ๑๙ เบโธเฟน ได้ปรับเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น ๔ ตัว และเติมเครื่องตีต่าง ๆเช่น ฉาบ สามเหลี่ยม เข้าไป ในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเป็นยุคโรแมนติกได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตร้าเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น เช่นเบร์ลิโอส (Berlioz) ได้เพิ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ ๔ เครื่องทั้งหมด ประเภทเครื่องสายเช่น ไวโอลิน เพิ่มเป็น ๒๘ เครื่อง ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ ๑๐-๑๒ เครื่องเท่านั้นนักประพันธ์แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (Brahms)เมนเดลซอน (Mendelssohn) และชูมานน์ (Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ทั้งสิ้นเพื่อแสดงพลังของบทเพลงที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นถึง ๑๐๐ คนต่อมาในยุคโรแมนติกความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้มีส่วนทำให้มีการเพิ่มขนาดของ วงออร์เคสตร้าไปด้วย เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่องโดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรยายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ นอกจากนี้ บทเพลงประเภทโอเปราบัลเลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียงต่างก็ล้วนทำให้วงออร์เคสตร้าต้องเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมาความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตร้า ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ได้เริ่มลดลง หลังสงคราม โลก ครั้งที่ ๑เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องเป่าที่เคยใช้ถึง ๔ เครื่อง ลดลงเหลือ ๓เครื่องและไวโอลิน จะใช้เพียง ๒๔ เครื่อง เป็นต้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ จะยังมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวการประพันธ์เพลงก็มีส่วนในการกำหนดวงออร์เคสตร้า อย่างไรก็ดีสิ่งที่ว่านี้ก็มิได้เป็นตัวกีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้วงออร์เคสตร้าของผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด
 วงดุริยางค์ชนิดนี้เป็นวงที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องดนตรี กลุ่ม คือ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ บรรเลงเป็นแนวๆ  แต่ละแนวจะมีนักดนตรีเล่นดนตรีชนิดเดียวกันหลายคน  โดยมีกลุ่มเครื่องสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก  และเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญมากในวงดุริยางค์  วงดนตรีในลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงถือไม้  (ไม้ที่ถือเรียกว่า  “Baton”)  ยืนอยู่บนแท่นเล็กๆหน้าวง     ผู้อำนวยเพลงจะมีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงของนักดนตรีทั้งหมด ในส่วนขนาดของวงจะเล็กหรือใหญ่ขี้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นในกลุ่มเครื่องสาย  การจัดวงSymphony Orchestra คำนึงถึงความกลมกลืน ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม โดยทั่วไปกลุ่มเครื่องสายจะอยู่ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องกระทบจะอยู่ด้านหลังสุด บริเวณกลางของวงจะเป็นเครื่องลมไม้

          วงดุริยางค์ตามลักษณะนี้จะบรรเลงเพลง  ซิมโฟนี่ เป็นหลัก (ซิมโฟนี่ คือ เพลงเถาที่มี 3-4 ตอน)  เพลงซิมโฟนี่เป็นเพลงที่บรรเลงยากมาก นักดนตรีที่บรรเลงเพลงประเภทนี้จะต้องเป็นผู้มีความสามารถสูง  วงดุริยางค์ซิมโฟนี่ยังแบ่งออกเป็นวงขนาดเล็ก  มีนักดนตรีประมาณ40-60 คน  วงขนาดกลาง  มีนักดนตรีประมาณ 60-80 คน  และวงขนาดใหญ่ มีนักดนตรีประมาณ80-110 คน
วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)
ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้



1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี
2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin
4. เชลโล่ - Cello
5. วิโอล่า - Viola
6. ดับเบิลเบส - Double bass
7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
8. โอโบ - Oboe
9. ฟลูต - Flute
10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
11. คลาริเนต - Clarinet
12. บาสซูน - Bassoon
13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon
14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
15. แซกโซโฟน - Saxophone
16. ทูบา - Tuba
17. ทรอมโบน - Trombone
18. ทรัมเปต - Trumpet
19. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp
20. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)
21. ฉาบ - Cymbal
22. เบส ดรัม - Bass Drum
23. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
24. กลอง - side หรือ Snare Drum
25. Tubular Bells - ระฆังราว
26.ไซโลโฟน - Xylophone 
ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้


วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra)  











วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงแชมเบอร์มิวสิค


วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)


         วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความเป็นมายาวนานมากนับตั้งแต่  ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงโดยซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง         Webster's Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า " แชมเบอร์มิวสิค" ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber       or a small audience hall" ซึ่งศาสตราจารย์ไขแส ศุขะวัฒนะ (2525:20) แปลเป็นภาษาไทยว่า " ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิคเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends) และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends)
   ในสมัยแรก ๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อยซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิคเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (Concert hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่ว ๆ ไป

           เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้ การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิคนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย

           เนื่องด้วยดนตรีประเภทนี้บรรเลงด้วยกลุ่มนักดนตรีเพียงไม่กี่คนประกอบกับไม่ได้มีการใช้เครื่องขยายเสียงหรือตู้แอมป์ สถานที่ที่เหมาะกับการบรรเลงและการฟังจึงควรเป็นห้องโถงตามบ้าน หรือห้องฟังดนตรีขนาดเล็กเพราะผู้ฟังทุกคนสามารถฟังเสียงของเครื่องดนตรีทุก ๆ ชิ้นได้อย่างชัดเจนและสัมผัสกับดนตรีได้อย่างใกล้ชิด
วงแชมเบอร์มิวสิคจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลงต้องมีนักดนตรีตั้งแต่สองคนขึ้นไปถึงเก้าคนดังนี้
- ผู้บรรเลง 2 คน เรียก ดูโอ (Duo)
- ผู้บรรเลง 3 คน เรียก ทริโอ (Trio)
- ผู้บรรเลง 4 คน เรียก ควอเต็ต (Quartet)
- ผู้บรรเลง 5 คน เรียก ควินเต็ต (Quintet)
- ผู้บรรเลง 6 คน เรียก เซกซ์เต็ต (Sextet)
- ผู้บรรเลง 7 คน เรียก เซพเต็ต (Septet)
- ผู้บรรเลง 8 คน เรียก ออคเต็ต (Octet)
- ผู้บรรเลง 9 คน เรียก โนเน็ต (Nonet)

         ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิคที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่นำรวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะสุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มสุ้มเสียงอื่น

การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า " สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ ( ค. ศ.1784-1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ท้อค
          ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิคได้รู้จักกันในชื่อว่า " ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล
นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่าง ๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)
 ปัจจุบันในประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนาวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคขึ้นมาเช่นกันโดยการนำเอาเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กโซโฟน ( โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และบาริโทนแซ็กโซโฟน) มารวมกันเป็น " วงบางกอกแซ็กโซโฟนควอเต็ต" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุข และสมาชิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2532
การผสมวงที่ใช้เครื่องลมบางชนิดรวมกัน เช่น โอโบ 2, คลาริเนท 2 , บาสซูน 2 และ แตรเฟรนช์ฮอร์น 2 รวมเรียกว่า " วินด์อ๊อคเต็ต" (Wind Octet)
   นอกจากนี้ยังมีคำว่า " อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า " ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคนในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)

ดนตรีแจ๊ส


ดนตรีแจ๊ส
ชาวโลกต่างพากันตกตลึงกันพอสมควรหลัง
จากที่ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ 1874-
1951) สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882-
1971) และจอร์จ เกอร์ซวิน (George Gershwin
ค.ศ.1898-1937)ได้นำรูปแบบใหม่ของดนตรี
คลาสสิกให้กับผู้ฟังรู้จักในยุโรปโดยเฉพาะเพลง
Rhapsody in Blue ในปี ค.ศ. 1924 โดยการนำเอา
วลีของแจ๊สมาผสมกับลีลาของดนตรีคลาสสิก
เป็นเวลาเดียวกันกับดนตรีรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นใน
สหรัฐอเมริกาคือ ดนตรีแจ๊ส ผู้ริเริ่มรูปแบบดนตรีแจ๊ส 
     ได้แก่ชนผิวดำที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกันซึ่งเป็นชนเชื้อชาติอัฟริกันลักษณะโดยทั่วไป ของแจ๊สคือดนตรีที่ใช้การสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) การใช้จังหวะขัด จังหวะ ตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรีแม้ว่า แจ๊สเป็นคำที่ เริ่มใช้กันประมาณปี ค.ศ. 1917 แต่ดนตรีแจ๊สเริ่มได้ยินกันมาแล้วเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุที่ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่แสดงกันสด ๆ ไม่มีโน้ตจึงไม่มีหลักฐานใด ๆ เหลืออยู่ให้ทราบว่า ดนตรีแจ๊สมีกำเนิดมาเมื่อใดอย่างแน่ชัดและมีลักษณะอย่างไร 

      นอกจากนี้ก่อน ค.ศ. 1923มีการบันทึกเสียงดนตรีแจ๊สไว้น้อยมาก และไม่มีการบันทึก
เสียงไว้เลยก่อน ค.ศ. 1917 นอกจากดนตรีแจ๊สของวง The Original Dixieland Band 
        ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแจ๊สเป็นต้นมาดนตรีแจ๊สมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป
หลายประเภทเช่นแบบนิวออร์ลีน (New Orleans)หรือดิกซีแลนด์ (Dixieland) สวิง (Swing)
บีบอป(Be-bop) คลู (Cool) ฟรีแจ๊ส (Free jazz) และ แจ๊สร็อค (Jazz rock) เป็นต้น

นักดนตรีแจ๊สที่เด่นเช่นหลุยส์ อาร์มสตรอง(Louis Armstrong) ดยุค แอลลิงตัน
(Duke Ellington) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman) ชาร์ลี ปาร์เกอร์ (Charlie Parker) และ
จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ดนตรีแจ๊สมีผลต่อดนตรีแบบอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี
ป๊อป หรือดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊สไปใช้ในการ
ประพันธ์เพลงเช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น 

ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส
     ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา
     
      อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 : 187)

      ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง
ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ

      เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส

      ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน ( ประสิทธ์ เลียวสิริพงศ์ , 2533 :30)


พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส
     นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง

      ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ดนตรีแจ๊ส

แรคไทม์ (Ragtime)
     เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890-1915 ลักษณะของแรกไทม์คือดนตรีสำหรับเปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2/4 หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลงเปียโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัดมือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลงมาร์ชผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์ คือ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin) เพลงเด่น ๆ เช่น เพลง Maple Leaf Rag
พลง Maple Leaf Rag ของ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin)

บลูส์ (Blues)
     คำว่า " บลูส์ " มีหลายความหมาย ดังนี้
1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า
2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี
3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ
4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด ( ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ , 2537 : 56)
บลูส์เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราว 1890 ลักษณะสำคัญคือการใช้เสียงร้องหรือเสียงของ เครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียงซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการ อิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ (Bessie Smith) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์ โดยเฉพาะเพลง Lost Your Head Blues และ Put it Right There
 

รูปลักษณ์ของบลูส์
     บทร้องเพลงบลูส์มีลักษณะเหมือนกับบทกวีของอเมริกันโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 3 บรรทัด แต่ละบรรทัดประกอบด้วย 5 พยางค์ 2 ชุด บรรทัดที่สองคำมักซ้ำกับบรรทัดแรก บรรทัด ที่ สาม เป็นข้อความที่เปรียบเสมือนตอบรับบรรทัดที่หนึ่งและสองซึ่งอาจสมมติรูปแบบเป็น A AB
I'm going'to the river, take my rocker chair,
I'm going'to the river, take my rocker chair,
If the Blues overtake me, gonna rock away.
เพลงบลูส์มีโครงสร้างของคอร์ด (Chord Progression) ดังนี้
 
     จากตัวอย่างข้างต้นเป็นทางคอร์ดของเพลงบลูส์ดั้งเดิมแบบพื้นเมือง ห้องที่ 1 - 4 เป็น คอร์ดหนึ่ง (Tonic chord) ห้องที่ 5-6 เป็นคอร์ดที่สี่ (Subdominant chord) ห้องที่ 7 - 8 เป็นคอร์ดหนึ่ง ห้องที่ 9 - 1 0 เป็นคอร์ดห้า (Dominant chord) ห้อง 11 - 12 เป็นคอร์ดหนึ่ง 
นิวออร์ลีนหรือดิกซีแลนด์ (NewOrleans-Dixieland)
     ในช่วงเวลาปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากดนตรีของอัฟริกา วงดนตรีแบบอเมริกันแรกไทม์ และบลูส์ดังกล่าวแล้ว ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมือง นิวออร์ลีน ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 1900 ถึง 1917 ดนตรีแจ๊สที่เมือง นิวออร์ลีนที่รู้จักในนามของ ดิกซีแลนด์ ลักษณะดนตรีแจ๊สแบบดิกซีแลนด์ประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 5-8 คน เครื่องดนตรีที่เล่นทำนอง ได้แก่ คอร์เน็ต หรือทรัมเป็ต โดยมีคลาริเนทและทรอมโบนเล่นประกอบในลักษณะของการสอดประสานทำนอง ในระยะต่อมามีการเพิ่มแซกโซโฟนเข้าไปในวงด้วย ส่วนเครื่องประกอบทำนองให้น่าสนใจได้แก่ กลองชุด เปียโน แบนโจ กีตาร์ หรือทูบา การบรรเลงใช้การอิมโพรไวเซชั่นโดยตลอด โดยทำแนวทำนองมาจากเพลงมาร์ช เพลงสวด แรกไทม์ หรือเพลงป๊อป นักดนตรีเด่น ๆ ของดนตรีแจ๊สแบบนี้ ได้แก่ "Jelly Roll" Morton, Joseph "King" Oliver และ Louis Armstrong เพลงเด่นเช่น Dippermouth Blues When the Saint Go Marching In เป็นต้น
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

 
การจัดวงแจ๊สแบบดิกซีแลนด์
ที่มา : Microsoft Music Instrument,1994

สวิง (Swing)
     สวิงเป็นแจ๊สที่พัฒนาในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 30 หรือประมาณ ค . ศ . 1920 เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง 1935-1945 ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นยุคสวิง คำว่าสวิงในที่นี้เป็นประเภทของดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีประเภททั้งฟังก็ได้ใช้ประกอบการเต้นก็ได้ ผสมผสานกันระหว่างความร้อนแรงกับความนุ่มนวลอ่อนหวานเป็นการนำเอาดนตรีที่มีพื้นฐานจากแจ๊สมาบวกเข้ากับดนตรีประเภท " ป๊อป "
      สวิงบรรเลงโดยวงขนาดใหญ่กว่าดิกซีแลนด์ เรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) กล่าวคือใช้ผู้บรรเลงประมาณ 14-20 คน แบ่งผู้บรรเลงออกเป็น 3 ส่วนคือ แซ็กโซโฟน และคลาริเนท ปกติแซกโซโฟนจะมีจำนวนมากกว่าคลาริเนท กลุ่มนี้มีผู้บรรเลงประมาณ 3-5 คน กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วยผู้บรรเลงทรัมเป็ตและทรอมโบนกลุ่มละ 3-4 คน และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ เปียโน กีตาร์ เบส และกลองชุด เนื่องจากมีผู้บรรเลงหลายคน การอิมโพรไวเซชั่นบางครั้งกระทำได้ยาก จึงมีวงดนตรีบางวงเขียนโน้ตให้นักดนตรีบรรเลงโดยตลอด ในขณะที่บางวงเว้นบางช่วงให้นักดนตรีอิมโพรไวเซชั่นได้บ้างมากน้อยตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง หรือหัวหน้าวงดนตรี ซึ่งมักเป็นนักดนตรีชั้นเยี่ยม
      การบรรเลงดนตรีสวิง มักเน้นที่แนวทำนองโดยใส่เสียงประสานให้ทำนองเด่นขึ้นมา ซึ่ง ผู้บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีทั้งกลุ่ม ส่วนเครื่องดนตรีเดี่ยวจะบรรเลงเป็นช่วง ๆ โดยบรรเลงตาม โน้ตหรือการอิมโพรไวเซชั่นลักษณะการบรรเลงประกอบทำนอง โดยเป็นแนวประสานซ้ำ ๆ กัน เป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะเด่นของสวิงซึ่งเรียกว่า ริฟฟส์ (Riffs) การประสานเสียงของสวิงมีกฎเกณฑ์ และหลากหลายมากกว่าแจ๊สในยุคแรก ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 :190)
นักดนตรีที่มีชื่อเสียงมักเป็นเจ้าของวงดนตรีด้วย ได้แก่ Duke Ellington, Count Basic, Glenn Miller, Jimmy Dorsey และ Benny Goodman ซึ่งได้รับสมญาว่า " ราชาเพลงสวิง " นักร้องที่มีชื่อเสียงเช่น Doris Day, Frank Sinata, Billy Holiday ,Ella Fitzgerald
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995


ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

บีบอบ (Be - bop)
     ในต้นทศวรรษ 1940 ดนตรีแจ๊ส ประเภทใหม่พัฒนาขึ้นมา คือ บีบอบ (Bebop) เป็น ดนตรีที่ต่อต้านดนตรีประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือ การค้าจนเกินไป และเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ ไม่ค่อยใช้การอิมโพรไวเซชั่น   

      บีบอบจึงเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะ ที่แปลก ๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเพลงอย่างจริงจังมากกว่าการใช้เพลงเป็นการ ประกอบการเต้นรำ
บีบอบ อาจเป็นชื่อที่ได้มาจาก การร้องโน้ตสองตัวเร็ว ๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรค ว่า บีบอบ ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซกโซโฟนหรือทรัมเป็ต โดยมีกลุ่มให้จังหวะ คือเปียโน เบส กลองและ เครื่องตีอื่น ๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนอง หรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า " บอมบ์ " ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรก ๆ ที่ทำหน้าที่เป็น เพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น การประสานเสียงเพลงประเภท บีบอบมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่ เหลือในช่วงกลางทั้งหมด จะเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดต่าง ๆ โดยการอิมโพรไวเซ ชั่นจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลง ที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือ ได้แก่ Charlie "Bird" Parker (Saxophone), Dizzy Gillespie (Trumpet), และ Thelonious Monk (piano)
 

 
การจัดวงดนตรีแจ๊สขนาดเล็ก
ที่มา : Microsoft The Attica Guide To Classical Music,1996

คลูแจ๊ส (Cool Jazz)
     ในช่วงปลายของทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 แจ๊สอีกประเภทหนึ่งพัฒนาตาม บีบอบขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้า ๆ กว่าบีบอบ คือ คูลแจ๊ส (Cool jazz) ท่วงทำนองจังหวะตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบ ๆ และเป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบอบ เป็นเพลงที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนการบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ใช้ฮอร์น ฟลูท และเชลโล นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซอนนี โรลลินส์ (Sonny Rollins), จอห์น โคลเทรน (John Coltrane), ไมลส์ เดวิส (Miles Davis), บีบี คิงส์ (B.B.King), เลสเตอร์ ยัง (lesterYoung), สแตน เกตซ์ (Stan Getz
 

 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995

ฟรีแจ๊ส (Free Jazz)
     ในราวทศวรรษ 1960 รูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ ฟรีแจ๊ส โดยออร์เนตต์ โคลแมน (Ornett Coleman) นักเป่าอัลโตแซกโซโฟนผู้ไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาก่อน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊สดั้งเดิมคือการมีทำนองหลักและบรรเลงโดยการอิมโพรไวเซชั่นจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี 8 คน บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น โคลแมน ยังคงใช้การอิมโพรไวเซชั่นของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น นอกจากโคลแมนแล้วยังมี John Cottrane ที่ยึดรูปแบบฟรีแจ๊ส

แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่น (Jazz Rock & Fusion)
     ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือแจ๊สร็อค หรือฟิวชั่น ลักษณะของฟิวชั่น คือ การผนวกการอิมโพรไวเซชั่นในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อค รวมถึงการใช้เทคนิคการบันทึกเสียงด้วยสีสันของเสียงดนตรีต่าง ๆ ที่แปลกออกไปที่เราเรียกว่า " เอ็ฟเฟ็ค " (effect) เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่น จึงมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออิเลคโทรนิค ซึ่งใช้ระบบ มิดี้ (MIDI = Musical Instrument Digital Interface) โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ และบางครั้งมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ละตินอเมริกา อินเดีย หรือ ในประเทศไทยเองก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีไทยเข้าบรรเลงร่วมด้วย เช่น วงบอยไทย มีการนำระนาดเอกผสมในวง , อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็ได้มีการนำขลุ่ยไทยบรรเลงดนตรีลักษณะนี้เช่นกัน ลักษณะเฉพาะอีกสองประการของฟิวชั่น คือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบส และการซ้ำทวนของจังหวะ นักดนตรีที่ควรรู้จักเช่น เฮอร์บี แฮนนคอก (HerBie Hancock), ชิค โคเรีย (Chick Corea) เคนนี จี (Kenny G.), เดฟ โคซ (Dave Koz) , เดวิด แซนบอร์น (David Sanborn) โกรเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์ (Grover Washington,Jr) บอบ เจมส์ (Bob James)
 

 
การจัดวงดนตรีฟิวชั่นแจ๊ส
     โดยสรุปแจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊สเริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่าง ๆ ดังรูป
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส (Elements of Jazz)
          วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
องค์ประกอบของดนตรีแจ๊สที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปเป็นองค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส ในช่วง 1900 ถึง 1950 เนื่องจากดนตรีแจ๊สมีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายประเภท 
สีสัน (Tone color)
      ลักษณะโดยทั่วไปดนตรีแจ๊สเป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 3-8 คน ที่เรามักเรียกว่า " วงคอมโป " (Combo) หรือเรียกว่า " บิกแบนด์ " (Big Band) ซึ่งประกอบนักดนตรีประมาณ 10-15 คน โครงสร้างสำคัญของการบรรเลงคือกลุ่มเครื่องดำเนินจังหวะ (Rhythm section) ซึ่งเล่นจังหวะในลักษณะเดียวกับเบสโซ คอนตินิวโอ (Basso continuo) ในดนตรียุค บาโรค ในส่วนนี้มักบรรเลงด้วย เปียโน เบส และเครื่องตี บางครั้งอาจมี แบนโจ หรือกีตาร์ด้วย เครื่องดำเนินจังหวะเหล่านี้ช่วยทำให้การประสานเสียงน่าสนใจขึ้นด้วย ดนตรีแจ๊สยุคใหม่ผู้บรรเลงเครื่องทำจังหวะมักใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดเสียงเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น การเคาะไม้กลอง , การตีฉาบ , การใช้แส้ในการตีกลอง และการใช้มือทำให้เกิดเสียง
      เครื่องดำเนินทำนองหรือเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเดียวที่แสดงความสามารถของผู้บรรเลง มักประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Wood winds) และเครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น คอร์เน็ต , ทรัมเป็ต , แซกโซโฟนทั้ง 4 ชนิด คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และบาริโทนแซกโซโฟน , คลาริเนท , ไวบราโฟน , ทรอมโบน และเปียโน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองยังสามารถใช้มิ้ว (Mute) ทำให้เกิดเสียงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสีสันของเสียงต่าง ๆ ออกไปอีก แนวการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้ของผู้บรรเลงแต่ละคนมักมีสีสันเฉพาะตัว ทำให้ผู้ฟังเพลงประเภทแจ๊สทราบว่าเพลงที่ฟังนั้นใครเป็นผู้บรรเลง ซึ่งต่างไปจากดนตรีคลาสสิกที่ผู้บรรเลง พยายามบรรเลงให้ตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์หรือตรงตามโน้ตที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นการ แยกเสียงทรัมเป็ตของผู้บรรเลงเพลงเดียวกันสองคนในการบรรเลงเพลงแจ๊ส จะง่ายกว่า การบอก ความแตกต่างว่าใครบรรเลงทรัมเป็ตเพลงเดียวกันระหว่างผู้บรรเลงสองคนที่บรรเลงเพลงคลาสสิก
อิมโพรไวเซชั่น (Improvisation)
     ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดนตรีแจ๊สคือการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น หรือ เรียกแบบไทย ๆ ว่า " การด้นสด " หมายถึงการคิดท่วงทำนอง จังหวะ หรือการประสานเสียงใน ขณะบรรเลงอย่างไรก็ตามดนตรีแจ๊สมิได้เกิดขึ้นโดยการสร้างสรรค์แบบอิมโพไวเซชั่นทั้งหมด แต่ ดนตรีมักประกอบด้วยการบรรเลงจากการประพันธ์กับการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสด อย่างไรก็ ตามการอิมโพรไวเซชั่นจัดเป็นเอกลักษณ์และหัวใจสำคัญของการบรรเลงดนตรีแจ๊ส
      ปกติการอิมโพรไวเซชั่นเกิดขึ้นโดยผู้บรรเลงดนตรีแปรเปลี่ยนทำนองหลักไป ฉะนั้นรูปแบบของการบรรเลงจึงเป็นธีม (Theme) หรือทำนองหลักและการแวริเอชั่น (Variation) หรือการแปรทำนอง บางครั้งการแปรเปลี่ยนทำนองอาจเป็นการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีเดี่ยวสองหรือสามชิ้น แต่ละตอนของการแปรเปลี่ยนทำนองและทำนองหลักมีชื่อเรียกว่า " คอรัส " (chorus) ดังนั้นเพลงนั้นอาจมี 4-6 ตอน หรือ 4-6 คอรัส เป็นต้น โดยตอนแรกเป็นการเสนอทำนองหลัก ดังตัวอย่าง .. Chorus 1 (32 bars) Theme

Chorus 2 (32 bars) Variation 1
Chorus 3 (32 bars) Variation 2
Chorus 4 (32 bars) Variation 3

จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)
     ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจากการบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะสม่ำเสมอ โดยปกติเครื่องตี เช่น กลอง ฉาบ และเบส บรรเลงจังหวะตบ อัตราจังหวะของเพลงแจ๊สมักเป็นกลุ่ม 4 จังหวะ คือ 4/4 แต่จังหวะเน้นแทนที่จะลงที่จังหวะ 1 และ 3 กลับลงที่จังหวะที่ 2 และ 4 ส่วนจังหวะขัดลงหนักระหว่างจังหวะตบทั้งสี่นอกจากนี้การบรรเลง จริง ๆ มักมีการยืดค่าตัวโน้ต ไม่ได้ลงจังหวะตามที่เขียนเป็นโน้ตดนตรีเสียทีเดียว เช่น โน้ตที่บันทึกเป็น 
     การบันทึกโน้ตดนตรีแจ๊สให้ถูกต้องจริง ๆ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เนื่องจากการบรรเลงแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้สึก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ฟังดนตรีแจ๊สได้รับความรู้สึกนั้นไปด้วยและอยากที่จะเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะของดนตร
ี ทำนองเพลงก็เช่นเดียวกันกับจังหวะ มักมีการร้องให้เพี้ยนไปจากเสียงที่ควรจะเป็นตามบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์ที่แจ๊สใช้อยู่ เสียงเพี้ยนมักต่ำกว่าเสียงที่ควรจะเป็น ปกติมักเกิดขึ้นในเสียงตำแหน่งที่ 3 ,5 และ 7 ของบันไดเสียง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า " เบนท์หรือบลูส์โน้ต " (bent or blue note) สำหรับเรื่องเสียงประสานแม้จะใช้หลักการตามดนตรีคลาสสิก แต่ได้มีการพัฒนาการสร้างคอร์ดแปลก ๆ การจัดเรียงของคอร์ดตามแนวทางของดนตรีแจ๊ส ทำให้การประสานเสียงของดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
      ลักษณะของดนตรีแจ๊สหลัง 1950 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาไปของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ การประสานเสียง รูปแบบและสีสัน เช่น มีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาผสมวง เช่น ฟลูท ฮอร์น เชลโล การใช้เสียงอีเลคโทรนิค เปียโนไฟฟ้า เกิดรูปแบบดนตรีแจ๊สใหม่ขึ้น เช่น ฟรีแจ๊ส แจ๊สร็อค หรือฟิวชั่นและคลูแจ๊ส
อย่างไรก็ตามไม่ว่ารูปแบบแจ๊สใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดนตรีแจ๊สในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ดิกซีแลนด์ บีบอบ บลูส์ ก็ยังอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ฟังไม่เสื่อมคลายเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานดนตรี - นาฎศิลป์ แบบ 5 บท


โครงงานเรื่อง
โขน







โดย
เด็กหญิงสุกัญญา   สาหร่ายกลาง
   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6/1    เลขที่  19

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2553 โรงเรียนวัดลำกะดาน   สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร


คำนำ
     โขนเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง 
ลักษณะสำคัญต่างๆของโขนจึงเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
         โครงงานนี้เกิดขึ้นจากความสนใจในวิชาดนตรี-นาฏศิลป์
หลังจากเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อการศึกษาและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ลำดับต่อไป                            

                                                                                         จัดทำโดย
                                         สุกัญญา   สาหร่ายกลาง



สารบัญ
เรื่อง                                                                    หน้า

บทที่1 บทนำ                                                              1               
บทที่2 เอกสารข้อมูล                                                  3
บทที่3 วิธีการดำเนินการค้นคว้า                                 4
บทที่4 ผลการศึกษาค้นคว้า                                         5        
บทที่5 สรุปผลการศึกษาโครงงาน                              7
แหล่งค้นคว้า                                                             8
              
บทที่1 บทนำ
โครงงานเรื่อง   วงดนตรีไทย
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โขนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย เป็นชีวิตคนไทยคนไทยทุกคนควรรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้โขนเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ลักษณะสำคัญต่างๆของโขนจึงเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ข้าพเจ้าสนใจในการศึกษาเรื่องโขน เนื่องจากการเรียนรู้และสนใจในวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทราบความหมายของโขน
2.เพื่อทราบองค์ประกอบของโขน
สมมุติฐานของการค้นคว้า
1.โขนมีที่มาอย่างไร
2.โขนมีความหมายอย่างไร
3.องค์ประกอบของโขนมีอะไรบ้าง
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.ศึกษาสำรวจเรื่องโขน
2.ศึกษาความหมายของขน
3.สำรวจองค์ประกอบของการแสดงโขน


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ทราบประวัติของโขน
2.ทำให้ทราบประวัติที่มาของโขน
3.ทำให้ทราบองค์ประกอบของโขน


                          บทที่ 2 เอกสารข้อมูล
              ในการทำโครงงานนี้ได้นำข้อมูลต่างๆซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโขนที่สำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( สาระที่ 3 นาฏศิลป์ ) ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร  บทความ หนังสือ เอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเว็บไซด์ต่างๆ  ได้ถูกรวบรวมไว้ใน
โขน วิกิพีเดีย  th.wikipedia.org/wiki/โขน  ได้กล่าวถึง ประวัติ - ประเภทของโขน - โขนในพระราชสำนัก - ลักษณะบทโขน โขน  เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน
โขน www.banramthai.com/html/khon.html อธิบายเกี่ยวกับประเภทของโขนว่าโขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน)
โขน www.thaifolk.com/Doc/perform2.htm อธิบายว่า การแสดงอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่าละคร  และการแสดงที่เรียกว่า 'โขน'ใน www.nsru.ac.th/oldnsru /webelearning/.../kind_khone.html กล่าวถึงประเภทของการแสดงโขน
โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน ยกรบ และเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายโขน · หัวโขน · ดนตรีประกอบโขน · หน้าแรก · คำพากย์และเจรจา · เรื่องที่ใช้แสดงโขน · การฝึกหัดโขน · คุณค่าของตัวละคร · ทดสอบความรู้เรื่องโขนใน
art.hcu.ac.th/khon/index01.html ก็มีกล่าวถึงเช่นกัน
ในเวบไซด์ www.khontu.com ชุมนุมโขนธรรมศาสตร์เป็นเว็บไซต์ของชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ โขนธรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทย รักษาศิลปะ วัฒนธรรมไทยไว้ กล่าวถึงเรื่องราวของโขนไว้มากมายเช่นกัน
12 ส.ค. 2010 ... ทศกัณฐ์ หาทางคิดจะตัดศึกพระราม จึงหาแผนการที่จะทำให้พระรามยกทัพกลับ โดยใช้ให้นางเบญกายลูกสาวของพิเภก แปลงกายเป็นนางสีดา

ในเวบไซด์  student.swu.ac.th/sc501010561/page.html  กล่าวถึงประเภทของโขน ประเภทศิลปะการแสดงโขนแต่เดิมมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว โขนโรงในโขนหน้าจอ และโขนฉาก ปัจจุบันนิยมแสดงเพียง ๓ ประเภท คือ ...
เวบไซด์ของโขนไทยรัตนสุวรรณ : ทำอย่างสุดหัวใจด้วยใจรัก ในwww.bankhonthai. comมีเรื่องราวของเศียรบรมครูเทพบุตรทำด้วยหุ่นกระดาษ ปั้นด้วยมือเองทั้งหมด เป็นสินค้า OTOPระดับ Champion ปี 46.
ผลการค้นหา ใน  This is a Sivilize. Bloggang... เรารักษ์ความเป็นไทย ในเวปไซด์www.bloggang.com/viewblog.php?id=sivilize...6... มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติโขน และ กำเนิดโขน โขน คืออะไร โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่ง ของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เรื่องราวของโขน,ประวัติของโขน,ประวัติ,ความเป็นมาของโขน,ความเป็นมา

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณ ประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 16"มีกล่าวในwww.anurakthai.com/thaidances/khone/history.asp เช่นกัน

และเรื่องของประเภทของโขนประวัติโขน · ประเภท · เครื่องแต่งกาย · เรื่องที่ใช้แสดงโขน ... ศิลปะการแสดงโขนแต่เดิมมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว ใน student.swu.ac.th/sc501010561/page.html -รอบรู้เรื่องโขน ประวัติโขน · ประเภท · เครื่องแต่งกาย · เรื่องที่ใช้แสดงโขน ... โขนเป็นนาฏศิลป์ ..มีอธิบายไว้ไนstudent.swu.ac.th/sc501010561/

index.html  เช่นกัน


 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการค้นคว้า

           
การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
1.ศึกษาค้นคว้าในโรงเรียน  ห้องสมุดและห้องสมุดประชาชน 
2.สอบถามสัมภาษณ์   จากผู้รู้
3.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากห้องคอมพิวเตอร์โดยใช้อินเทอร์เน็ต
4.ใช้แบบสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูล
1.จดบันทึก
2.แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์
3.บันทึกข้อมูลลงในแผ่นบันทึกข้อมูล

อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.หนังสือเกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์
2.แผ่น CD หรือVCD
3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีไทย        
4.คอมพิวเตอร์

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
            จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆโดยการรวบรวมจากเอกสาร  หนังสือ  และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต พบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโขนดังนี้

โขน (อังกฤษ: Khonเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน[3] มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[4] จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ[5]
โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนง โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง[6] ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทองประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสี คือสีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง[7] โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖" ทั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง"รามายณะ" จากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง และจากตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล โขนแต่เดิมจึงมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิคนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่พวกที่ฝึกหัดโขนมักเป็นมหาดเล็กหรือบุตรหลานข้าราชการต่อมามีความนิยมที่ว่าการฝึกหัดโขนทำให้ชายหนุ่มที่ได้ฝึกหัดมีความคล่องแคล่วว่องไวในการรบหรือต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการพระราชทานอนุญาตให้เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองฝึกหัดโขนได้ โดยคงโปรดให้หัดไว้แต่โขนผู้ชายตามประเพณีเดิม เพราะโขน และละครของเจ้านายผู้สูงศักดิ์หรือข้าราชการก็ต้องเป็นผู้ชายทั้งนั้น ส่วนละครผู้หญิงจะมีได้แต่ของพระมหากษัตริย์ ด้วยเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังความนิยมโขนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากระยะหลังเจ้าของโขนมักเอาคนพวกลูกหมู่ (หมายเหตุ : คนที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมต่างๆตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณ ซึ่งจัดแบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็นมณฑล คนในมณฑลไหนก็สังกัดเข้ามณฑลนั้น เมื่อมีลูกก็ต้องให้เข้ารับราชการในหมวดหมู่ของกรมเมื่อโตขึ้น เรียกว่า "ลูกหมู่") และลูกทาสมาหัดโขน ทำให้ผู้คนเริ่มมองว่าผู้แสดงเหล่านั้นต่ำเกียรติ อีกเหตุผลหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงประเพณีโบราณในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมรพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน" พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ แต่ก็ทำให้เจ้าสำนักต่างๆพากันเปลี่ยนผู้แสดงจากชายเป็นหญิงจำนวนมาก ยกเว้นบางสำนักที่นิยมศิลปะแบบโขน ทั้งยังมีครูบาอาจารย์ และศิลปินโขนอยู่ก็รักษาไว้สืบต่อมา โขนในสำนักของเจ้านาย ขุนนาง และเอกชนจึงค่อยๆสูญหายไป คงอยู่แต่โขนของหลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ บรรดาโขนหลวงที่มีอยู่ก็มิได้ทำงานประจำ ใครเล่นเป็นตัวอะไรทางราชการก็จ่ายหัวโขนที่เรียกกันว่า "ศีรษะครู" ให้ประจำตัวไปบูชา และเก็บรักษาไว้ที่บ้านเรือนของตน เวลาเรียกตัวมาเล่นโขนก็ให้เชิญหัวโขนประจำตัวนั้นมาด้วย
กำเนิดโขน
โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับหนังใหญ่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ โดยสันนิษฐานว่า "โขน" ได้พัฒนามาจากการแสดง ๓ ประเภท คือ
๑.การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
การแสดง "ชักนาคดึกดำบรรพ์" มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า"ในการพระราชพิธีอินทราภิเษกปลูกเขาพระสุเมรุ(หมายเหตุ : สร้างจากโครงไม้ไผ่ แล้วปิดทับด้วยกระดาษ แล้วจึงทาสีให้แลดูเหมือนภูเขา)สูงเส้นหนึ่งกับ ๕ วา ที่กลางสนาม ตั้งภูเขาอิสินธร ยุคนธร สูงสักหนึ่ง และภูเขากรวิกสูง ๑๕ วาที่เชิงเขาทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเกี้ยว (หมายเหตุ : รัด)พระสุเมรุ แล้วตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร ๑๐๐มหาดเล็กแต่งเป็นเทพยดา๑๐๐ และแต่งเป็นพาลี สุครีพ มหาชมพู และบริวารวานรรวม ๑๐๓ ชักนาคดึกดำบรรพ์โดยมีอสูรชักหัว เทพยดาชักหาง ส่วนวานรอยู่ปลายหางครั้นถึงวันที่ ๕ ของพระราชพิธีเป็นวันกำหนดให้ชักนาคดึกดำบรรพ์ และวันที่ ๖ เป็นวันชุบน้ำสุรามฤตตั้งน้ำสุรามฤต ๓ ตุ่ม ตั้งช้าง ๓ ศีรษะ ม้าเผือก อศุภราช (หมายเหตุ : โคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร)ครุฑธราช นางดาราหน้าฉาน ตั้งเครื่องสรรพยุทธ เครื่องช้าง และเชือกบาศหอกชัยตั้งโตมรชุบน้ำสุรามฤตเทพยดาผู้เล่นดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระวิศวกรรม ถือเครื่องสำรับตามธรรมเนียม เข้ามาถวายพระพร"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่อง "กวนน้ำอมฤต" ไว้ในหนังสือ "บ่อเกิดรามเกียรติ์" ไว้ว่า "เทวดา และอสูรอยากจะใคร่อยู่ยงพ้นจากความตายจึงชวนกันกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต เอาเขามนทรคีรีเป็นไม้กวน เอาพญาวาสุกรี(หมายเหตุ : พญานาคเจ็ดเศียร) เป็นเชือก พญาวาสุกรีพ่นพิษเป็นไฟพากันได้ความเดือดร้อนพระนารายณ์จึงเชิญให้พระอิศวรเสวยพิษเพื่อดับความเดือดร้อน พระอิศวรก็เสวยพิษเข้าไป เทวดาและอสูรชักเขามนทคีรีหมุนกวนไปอีกจนเขาทะลุลงไปใต้โลกพระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคีรีไว้มิให้ทะลุลงไปได้อีก การกวนจึงกระทำต่อไปได้สะดวก เทวดากับอสูรทำสงครามกันชิงน้ำอมฤต พระนารายณ์ฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งเกษียรสมุทรแล้ว พวกอสูรมิได้กินน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงได้เป็นใหญ่ในสวรรค์"สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายไว้ว่า การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์นี้ เป็นการแสดงตำนานทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
๒. การแสดงกระบี่กระบอง
ในสมัยโบราณคนไทยจะฝึกวิชาการต่อสู้ไว้สู้รบกับข้าศึก และเพื่อป้องกันตัว อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ก็มีทั้งอาวุธสั้น และอาวุธยาว เช่น มีด ดาบ หอก ไม้พลอง ฯลฯ อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบอง วิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัวในสมัยโบราณแล้วยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่งจนกระทั่งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา
๓. การแสดงหนังใหญ่
การแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นดังมีปรากฏในกฎมณเฑียรบาล หนังใหญ่นั้นตัวหนังจะทำจากหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้างโดยผูกให้พ้นตัวหนังลงมาพอสมควรเพื่อใช้มือจับสำหรับเชิด หนังใหญ่ให้อิทธิพลกับโขน ๒อย่างคือ เรื่องราวที่ใช้แสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ และลีลาการเชิดหนังซึ่งยอมรับกันว่าเป็นท่าแสดงของโขนในเวลาต่อมา โดยเฉพาะบทยักษ์หรือที่เรียกกันว่า "เต้นโขน"
ประเภทของโขน
 ศิลปะการแสดงโขนมี ๕ ประเภท
 1. โขนกลางแปลง 
          โขนในยุคแรกคงแสดงกันกลางสนามเช่นเดียวกับการแสดง ชักนาคดึกดำบรรพ์” ต่อมาจึงเรียกกันว่า โขนกลางแปลง” โดยเป็นการแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนาม นิยมแสดงตอน ยกรบ” คือตอนยกทัพมารบกันระหว่างกองทัพของพระรามกับกองทัพของทศกัณฐ์ การแสดงจะมีแต่บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ บทพากย์ และเจรจา แต่ไม่มีบทร้อง
2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว 
          โขนโรงนอกเป็นโขนที่แสดงบนโรง ตัวโรงมักมีหลังคา และมีราวพาดตามส่วนยาวของโรง มีช่องให้ผู้แสดงสามารถเดินได้รอบราว เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนเสร็จแล้วก็จะกลับไปนั่งบนราว ซึ่งสมมุติเป็นเตียง ไม่มีบทขับร้องมีแต่บทพากย์ และเจรจา ทำให้ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงมักจะใช้วงปี่พาทย์ วง โดยวงหนึ่งจะตั้งหัวโรง อีกวงหนึ่งตั้งไว้ท้ายโรงหรือจะตั้งทางซ้าย และขวาของโรงก็ได้การแสดงโขนโรงนอกนี้ ยังมีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า โขนนอนโรง” คือเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงวันหนึ่ง ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรง บรรดาผู้แสดงจะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง เมื่อจบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงโขนตอนพระพิราพออกเที่ยวป่า พบพระรามซึ่งหลงเข้ามายังสวนพวาทอง (หมายเหตุ : สวนมะม่วง) ของพระพิราพจึงเกิดการสู้รบกัน เสร็จการแสดงตอนนี้ก็จะหยุดพัก แล้วนอนเฝ้าโรงคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ต่อไป
3. โขนหน้าจอ 
          โขนหน้าจอ คือโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งขึงไว้สำหรับแสดงหนังใหญ่ โดยการให้ผู้แสดงโขนออกมาแสดงแทนตัวหนังบ้างสลับกันไป เรียกว่า หนังติดตัวโขน” แต่ต่อมาก็ให้แสดงเฉพาะโขนเท่านั้น โดยที่ยังคงตั้งจอหนังไว้พอเป็นพิธีเท่านั้น เมื่อโขนได้ใช้คำพากย์คำเจรจาตลอดจนดนตรีของหนังใหญ่ทั้งหมด อีกทั้งผู้คนนิยมการแสดงที่ใช้คนมากกว่าตัวหนัง จึงเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังนี้ว่า โขนหน้าจอต่อมาภายหลังมีการพัฒนาจอหนังที่ใช้แสดงโขนให้มีช่องประตูเข้าออกวาดเป็นซุ้มประตู เรียกว่า จอแขวะ” โดยด้านซ้ายวาดเป็นรูปค่ายพลับพลาของพระราม ด้านขวาวาดเป็นปราสาทราชวังสมมุติเป็นกรุงลงกา ต่อมาจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้น และกันคนดูไม่ให้เกะกะผู้เล่น
4. โขนโรงใน 
          โขนโรงใน เป็นโขนที่ได้รับการปรับปรุงผสมผสานกับละครใน โดยการนำท่ารำ ท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมาผสมกับการขับร้อง เพลงต่างๆ และระบำรำฟ้อนของละครใน ภายหลังจึงเรียกว่า โขนโรงใน” โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติปัจจุบันนี้มักเป็นลักษณะโขนโรงใน หรือที่นำออกแสดงกลางแจ้งก็เป็นการแสดงแบบโขนโรงในทั้งสิ้น
5. โขนฉาก 
          การแสดงโขนแต่เดิมนั้น จะไม่มีการสร้างฉากประกอบเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องติดต่อกันไปโดยผู้ดูจะต้องจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวขณะนั้นเอาเอง การจัดฉากในการแสดงเป็นสิ่งที่รับมาจากตะวันตก โขนฉากเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ นี้เอง โดยคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคิดขึ้น
เครื่องแต่งกายของโขน
๑ ตัวพระ สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
ตัวพระ ผู้แสดงที่เป็นมนุษย์ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเทวดา ซึ่งได้แก่ พระราม พระลักษณ์ พระพรตพระสัตรุต พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมในปัจจุบันนี้มักสวมเพียงชฎาไม่ได้สวมหัวโขนปิดหน้าดังสมัยโบราณ เพียงแต่ชฎาของเทพเจ้าต่างๆนั้นจะสามารถสังเกตได้จากลักษณะของชฎานั้นๆ เช่น พระพรหมจะสวมชฏาที่มีพระพักตร์อยู่ ๔ ด้าน พระอินทร์จะสวมชฎายอดเดินหนเป็นต้น ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวพระ จะคัดเลือกผู้มีลักษณะใบหน้าสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหงไหล่ลาดงาม ช่วงอกใหญ่ลำตัวเรียวเอวเล็ก ตามแบบชายงามในวรรณคดีไทย
๒. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้นแต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
ตัวนาง ตัวละครตัวนางในเรื่องรามเกียรติ์นั้นมีทั้งที่เป็นมนุษย์ ปลา นาค แต่ละตัวจะบอกชาติกำเนิดด้วยการสวมศีรษะ และหางเป็นสัญลักษณ์ ตัวนางในโขน และละครรำนั้นมี ๒ประเภท คือนางกษัตริย์ ซึ่งมีลีลาและอิริยบถแสดงถึง
ความนุ่มนวลแลดูเป็นผู้ดีกับนางตลาดซึ่งจะมีบทบาทท่าทางกระฉับกระเฉง
ว่องไวสะบัดสะบิ้งผู้ที่จะรับบทนางตลาดได้จะต้อง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ทางนาฏศิลป์มากกว่าผู้ที่แสดงเป็นนางกษัตริย์ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวนาง 
จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ต้องมีใบหน้างาม กิริยาท่าทางนุ่มนวลอย่างผู้หญิง
๓. ตัวยักษ์เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวม
หัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด
ตัวยักษ์ ตัวยักษ์จะต้องมีลักษณะสูง วงเหลี่ยมตลอดจนการทรงตัวต้องดูแข็งแรง บึกบึน ลีลาท่าทางมีสง่า ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดมาอย่างดีเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่นๆ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวยักษ์ คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่ต้องเลือกหน้าตา รูปร่างต้องใหญ่ และท่าทางแข็งแรง
 
๔. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐ ชนิด
ตัวลิง ตัวลิงจะต้องมีท่าทางลุกลี้ลุกลน กระโดดโลดเต้นตามลักษณะธรรมชาติของลิง โดยเฉพาะตัวหนุมานทหารเอกซึ่งจะต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวลิง คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะป้อมๆ ท่าทางหลุกหลิกคล่องแคล่วว่องไวผู้ที่จะหัดโขนนั้นมักเป็นผู้ชายตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ โดยเริ่มหัดกันตั้งแต่อายุ ๘ -๑๒ ขวบ

ในชั้นต้นคุณครูผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้สมควรหัดเป็นตัวแสดงต่างๆเมื่อผู้ที่หัดเป็นตัวเหล่านี้ไปแล้ว ครูก็จะพิจารณาท่าทีหน่วยก้านเพื่อคัดอีกชั้นหนึ่งเช่น พวกหัดตัวพระคัดให้เป็นพระใหญ่หรือพระน้อย พวกหัดตัวนางคัดให้เป็นนางเอกหรือนางรองพวกหัดตัวยักษ์ให้เป็นยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็กหรือเสนายักษ์และพวกหัดตัวลิงจะให้เป็นพญาวานรหรือเหล่าวานรสิบแปดมงกุฎเป็นต้นหลังจากครูคัดเลือกศิษย์แล้ว เมื่อถึงวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครู 
ก็จะทำพิธีไหว้ครู และรับเข้าเป็นศิษย์ โดยศิษย์ต้องมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะแก่ครเมื่อครูรับการสักการะแล้วก็จะทำความเคารพถึงครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้วอีกทีหนึ่งแล้วจึงจับท่าให้ศิษย์เป็นปฐมฤกษ์ ต่อจากนั้นจึงให้ศิษย์ไปฝึกหัดกับครูผู้ช่วยสอนแต่ละฝ่ายตามตัวโข
ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
   บทร้อง ซึ่งบรรจุเพลงไว้ตามอารมณ์ของเรื่อง บทร้องแต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่ อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม บทร้องนี้จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
๒    บทพากย์ การแสดงโขนโดยทั่วไปจะเดินเรื่องด้วยบทพากย์ ซึ่งแต่งเป็นคำประพันธ์ชนิด
กาพย์ยานี ๑๖ หรือ กาพย์ยานี ๑๑ บทมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
    พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา คือบทตัวเอก เช่น ทศกัณฐ หรือพระรามประทับในปราสาท 
      -พากย์รถ เป็นบทชมพาหนะและกระบวนทัพ ไม่ว่าจะเป็นรถ ม้า ช้าง หรืออื่นใดก็ได้ ตลอดจนชมไพร่พลด้วย
      - พากย์โอ้ เป็นบทโศกเศร้า รำพัน คร่ำครวญ ซึ่งตอนต้นเป็นพากย์ แต่ตอนท้ายเป็นทำนองร้องเพลงโอ้ปี่ ให้ปี่พาทย์รับ
      - พากย์ชมดงเป็นบทตอนชมป่าเขาลำเนาไพรทำนองตอนต้นเป็นทำนองร้องเพลงชมดงในตอนท้ายเป็นทำนองพากย์ธรรมด า
      -  พากย์บรรยาย เป็นบทขยายความเป็นมา ความเป็นไป หรือพากย์รำพึงรำพันใดๆ
       - พากย์เบ็ดเตล็ด เป็นบทที่ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าประเภทใดร
    บทเจรจา เป็นบทกวีที่แต่งเป็น ร่ายยาวส่งและรับสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ใช้ได้ทุกโอกาส สมัยโบราณเป็นบทที่คิดขึ้นสดๆ เป็นความสามารถของคนพากย์ คนเจรจา ที่จะใช้ปฏิภาณคิดขึ้นโดยปัจจุบัน ให้ได้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสแนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความถูกต้องตามเนื้อเรื่อง ผู้พากย์เจรจาที่เก่งๆ ยังสามารถใช้ถ้อยคำคมคาย เหน็บแนมเสียดสี บางครั้งก็เผ็ดร้อน โต้ตอบกันน่าฟังมาก ปัจจุบันนี้ บทเจรจาได้แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้พากย์เจรจาก็ว่าตามบทให้เกิดอารมณ์คล้อยตามถ้อยคำ โดยใช้เสียงและลีลาในการเจรจา ผู้พากย์และเจรจาต้องทำสุ้มเสียงให้เหมาะกับตัวโขน และใส่ความรู้สึกให้เหมาะกับอารมณ์ในเรื่อง
    คนพากย์และเจรจานี้ใช้ผู้ชาย คนหนึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งพากย์และเจรจา และต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ คน จะได้โต้ตอบกันทันท่วงที เมื่อพากย์หรือเจรจาจบกระบวนความแล้ว ต้องการจะให้ปี่พาทย์ทำเพลงอะไรก็ร้องบอกไป เรียกว่า "บอกหน้าพาทย์" และถ้าการแสดงโขนนั้นมีขับร้อง คนพากย์และเจรจายังจะต้องทำหน้าที่บอกบทด้วย การบอกบทจะต้องบอกให้ถูกจังหวะ
หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงแต่ละคราว หัวโขนนี้นอกจากจะใช้สวมศีรษะหรือปิดบังหน้าผู้แสดงโขนแล้ว หัวโขนยังเป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ เป็นงานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ด้วยกระบวนการช่างแบบไทยประเพณีที่แสดงออกให้ประจักษ์ในภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ในงานศิลปะแบบไทยประเพณีประเภทหนึ่ง หัวโขนจึงเป็นศิลปวัตถุ ที่มีรูปลักษณะควรแก่การดูชม และเก็บรักษาไว้เพื่อการชื่นชมในรูปสมบัติและคุณสมบัติในฐานะศิลปกรรมไทยประเพณีวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน โดยวิธีกาอันเป็นไปตามระเบียบวิธีแห่งการช่างทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อน และยังคงถือปฎิบัติการทำหัวโขนของช่างหัวโขนบางคนต่มาจนกระทั่งปัจจุบัน อาจลำดับระเบียบวิธีของวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ให้ทราบดังนี้
วัสดุ:
กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลายสมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก โดยใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ
ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน มีดังต่อไปนี้
หุ่นพระ-นาง อย่างปิดหน้า
หุ่นยักษ์โล้น
หุ่นยักษ์ยอด
หุ่นลิงโล้น
หุ่นลิงยอด
หุ่นชฏา-มงกุฎ
หุ่นเบ็ดเตล็ด
 เช่น หุ่นศีรษะฤาษี หุ่นศีรษะพระคเณศ เป็นต้น
หุ่นต้นแบบ ที่จะได้ใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดออกเป็น "หัวโขน" ซึ่งภายในกลวง เพื่อที่จะใช้สวมศีรษะผู้แสดง หุ่นต้นแบบนี้แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟให้สุก
หุ่นหัวโขนชนิดสวมศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเค้ารอย ตา จมูก ขมวดผม เป็นต้น แต่พอเป็นเค้า ๆ ไม่ต้องชัดเจนมากนัก ส่วนในหูนั้นละเอาไว้ยังไม่ต้องทำ เอาไว้ต่อเติมภายหลัง
หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ ทำเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนบนกลึงรัดเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปเป็นจอมแล้วละไว้ตรงส่วนเหนือบัวแวง ซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง ๆ เช่น ยอดชัย ยอดบัด ยอดทรงน้ำเต้า เป็นต้น
เรื่องที่ใช้สำหรับเล่นโขนตามที่รู้จักกันแพร่หลายมาจนปัจจุบันนี้คือ "รามเกียรติ์" ซึ่งมีหลายสำนวนด้วยกัน ทั้งไทย ชวา เขมร และอินเดียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่อง เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะนี้แต่งโดยพระฤาษีวาลมิกิ เมื่อหลายพันปีก่อน ชาวอินเดียจะมีความเคารพนับถือมาแต่สมัยโบราณกันว่าผู้ใดได้อ่านหรือฟังเรื่อง รามเกียรติ์” ก็สามารถล้างบาปได้
          เรื่องรามเกียรติ์หรือรามายณะเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารปางหนึ่งเป็น พระราม” เพื่อคอยปราบอสูรที่คอยเบียดเบียนเหล่าเทวดา และมนุษย์ให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ สงครามระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งเป็นพญายักษ์ครองกรุงลงกา เกิดจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาเพื่อเป็นชายาของตนเอง พระรามและพระอนุชาคือพระลักษณ์จึงได้ออกติดตาม จนกระทั่งได้สองพญาวานรคือพญาสุครีพเจ้าเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูเจ้าเมืองชมพูมาเป็นบริวาร โดยมีหนุมานเป็นทหารเอก กองทัพของพระรามจึงจองถนนข้ามทะเลไปสร้างพลับพลา และตั้งค่ายประชิดกรุงลงกาเพื่อทำศึกกับทศกัณฐ์ จนกระทั่งฝ่ายพระรามได้รับชัยชนะ
          รามเกียรติ์ฉบับของไทยได้มีการแต่งเป็นตอนๆหรือทั้งเรื่อง เพื่อใช้สำหรับการแสดงโขน หนังใหญ่ และละครนั้น มีหลักฐานปรากฏว่าได้แต่งขึ้นในยุคสมัยที่แตกต่างกันดังน
ี้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
๑. รามเกียรติ์คำฉันท์ รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่าที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนัง ซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี ๓-๔ บทเท่านั้น
๒. รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ๒ ตอน สีดาหาย” ไปจนถึงภาค ๙ ตอน กุมภกรรณล้ม” เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนัง ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
๓. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า สำนวนนี้กล่าวความตั้งแต่ตอน พระรามประชุมพล” จนถึง องคตสื่อสาร” บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่๑ จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครก็ดูไม่เหมาะสม จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นบทละครรามเกียรติ์ฉบับเชลยศักดิ์ ที่เจ้าของละครคนใดคนหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาคัดลอกไว้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
รามเกียรติ์สำนวนนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียง ๔ ตอน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ ตอนพระมงกุฎ หนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าวมาลีวราชเสด็จมา ท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง และตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด และพระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมนางมณโฑกับทศกัณฐ
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ 
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย
๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ เยิ่นเย้อเกินไปไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขน พระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอน คือตั้งแต่หนุมานถวายแหวนไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม มาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวงเป็นหนังสือ ๓๖ เล่มสมุดไทย
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งคือ ตอน "พระรามเดินดง" เป็นหนังสือ๔ เล่มสมุดไทย และทรงพระราชนิพนธ์แปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง "นารายณ์ปราบนนทุก" กับเรื่อง "พระรามเข้าสวนพระพิราพ" ขึ้นอีก๒ ตอน
๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” ขึ้น และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก๖ ชุด คือ ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ

                   บทที่5 สรุปผลการศึกษาโครงงาน
จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับโขนสามารถสรุปได้ว่า  โขนหมายถึงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย
โขนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเชื่อว่ามีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖โดยอาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง"รามายณะแต่เดิมมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิคนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้เป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังความนิยมโขนเสื่อมลง
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมีพระราชปรารภว่า "มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน" พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ
กำเนิดโขน   พัฒนามาจากการแสดง ๓ ประเภท คือ
๑.การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
๒. การแสดงกระบี่กระบอง
๓. การแสดงหนังใหญ่
ประเภทของโขนมีอยู่ ๕ ประเภท คือโขนกลางแปลง โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก
 เครื่องแต่งกายของโขนแบ่งออกเป็น 4ประเภท
๑ ตัวพระ สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้าและสวมชฎาแบบละครใน
 ๒. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด
๓. ตัวยักษ์เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวมหัวโขน
๔. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขน
ลักษณะบทโขน ประกอบด้วย
   บทร้อง
๒    บทพากย์ แบ่งออกเป็น   พากย์เมือง หรือพากย์พลับพลา  พากย์รถ พากย์โอ้ พากย์ชมดง  พากย์ พากย์
 ๓    บทเจรจา
คนพากย์และเจรจาใช้ผู้ชาย เป็นคนทำหน้าที่ทั้งพากย์และ
หัวโขนเป็นเครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่งสำหรับนักเล่นหรือผู้แสดงมหรสพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "โขน" ใช้สวมใส่ในการแสดงมีวิธีการและกระบวนการทำหัวโขน ดังนี้
วัสดุ: ใช้กระดาษสา กระดาษข่อย กระดาษฟาง รักน้ำเกลี้ยง และรักตีลายสมุกใบตองแห้ง สมุกใบลาน สมุกถ่านกะลา สมุกใบจาก น้ำมันยาง ปูนแดง ชันผง ทองคำเปลว กระจกสี พลอยกระจก หนังวัวแห้ง สีฝุ่น กาว และแป้งเปียก ยางมะเดื่อ ลวดขนาดต่าง ๆ
ครื่องมือ:
แม่พิมพ์หินสบู่ ไม้ตีกระยัง ไม้เสนียด ไม้คลึงรัก มีดตัดกระดาษ เพชรตัดกระจก ไม้ตับคีบกระจก กรรไกร เข็มเย็บผ้า และด้าย สิ่วหน้าต่าง ๆ และตุ๊ดตู่ เขียงไม้ แปรงทาสี พู่กันขนาดต่าง ๆ 
การเตรียมวัสดุ : 
วัสดุที่จะต้องจัดเตรียมขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ ๆ คือ "รักตีลาย" ซึ่งต้องเตรียมทำขึ้นไว้ใช้ให้พอแก่งานเสียก่อน รักตีลาย ประกอบด้วย รักน้ำเกลี้ยง ชัน น้ำมันยาง ผสมเข้าด้วยกัน เอาขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวไปจนงวดเหนียวพอเหมาะแก่การเอาลงกดในแม่พิมพ์หินทำเป็นลวดลาย เช่น กระจัง เป็นต้น ซึ่งแข็งตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลง รักตีลายนี้เมื่อเคี่ยวได้ที่แล้วเอามาปั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณคืบ๑ ใช้ปูนแดงผสมน้ำทาหุ้มให้ทั่ว ห่อด้วยใบตองให้มิดเก็บไว้ใช้สำรองต่อไป

การเตรียมหุ่น
หุ่นในที่นี้คือ "หุ่นหัวโขน" แบบต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน
เรื่องที่ใช้สำหรับเล่นโขนนิยมแสดงเรื่อง "รามเกียรติ์ ดังนี้
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา 
๑. รามเกียรติ์คำฉันท์ 
 ๒. รามเกียรติ์คำพากย์ 
๓. รามเกียรติ์บทละครครั้งกรุงเก่า
 ๔ บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
บทละครรามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ 
 ๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ 
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ 
 ๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ 


เอกสารอ้างอิง